เอกชน ขานรับ ครม.ประยุทธ์ 2/2 “ขอเร่งฟื้นเศรษฐกิจ”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ภาคเอกชน ส่วนใหญ่ขานรับโฉมหน้ารัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ แต่จี้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง โควิด-19 ขณะที่ นักวิชาการชี้ นายกรัฐมนตรีควรประเมินการทำงานของ ครม.ในอีก 3 เดือนข้างหน้า หากยังไม่เห็นการฟื้นเศรษฐกิจหรือสร้างความเชื่อมั่นได้ก็ต้องปรับ ครม.อีกครั้ง

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 7 ส.ค.63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 7 ส.ค. 63

วันที่ 7 ส.ค. 2563 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. มองว่า รายชื่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ ได้แก่ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ และ นายปรีดี ดาวฉาย ทางภาคเอกชนเชื่อว่าทั้งสองคนจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนได้ เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การทำงานในภาคเอกชนมาก่อน เชื่อว่าจะเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องการการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน 

เปิดโปรไฟล์ 6 รัฐมนตรีป้ายแดง ครม.ประยุทธ์2/2

โดยเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการให้ทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ดำเนินการ คือ การตั้งคณะทำงานฟื้นฟูเศรษฐกิจ เหมือนกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่มีรัฐ กับเอกชนร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องสภาพคล่อง การเงิน และมาตรการทางภาษีที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ รวมถึงเร่งสานต่อกองทุนช่วยเอสเอ็มอี 50,000 ล้านบาท เพราะสภาพคล่องทางการเงินของเอสเอ็มอีไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง

นายสแตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) กล่าวว่า นักธุรกิจต่างชาติรอดูนโยบายรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจไทยมีความท้าทายมาก เพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและ โควิด-19 โดยเศรษฐกิจไทยพึ่งการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก และการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจก็อาศัยเอสเอ็มอี แต่ขณะนี้ทั้ง 3 ส่วนได้รับผลกระทบอย่างหนัก

นักวิชาการ ชี้นายกฯต้องประเมิน ครม.ใหม่ 3 เดือน

ด้าน นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการการจัดการสาหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ ควบตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ซึ่งถือว่าค่อนข้างแปลกและไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเท่าที่ควร โดยเฉพาะยังขาดคนที่มีบารมีและมือประสานหน่วยงานเศรษฐกิจและพรรคร่วมรัฐบาล ระยะต่อไปจะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลไกทางเศรษฐกิจมาก เช่น การขอปรับเพดานหนี้สาธารณะเกิน 60% ของจีดีพี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องขอโหวตจากในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งนายกรัฐมนตรีควรประเมินการทำงานของ ครม.ในอีก 3 เดือนข้างหน้า หากยังไม่เห็นการฟื้นเศรษฐกิจหรือสร้างความเชื่อมั่นได้ก็ต้องปรับ ครม.อีกครั้ง

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ