คลัง แจงกู้เพิ่ม 2.14 แสนล้าน เหตุ โควิด-19 ทำประเทศไม่มีรายได้ เงินคงคลังเหลือน้อย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังที่ประชุม ครม. (18 ส.ค.ที่ผ่านมา) มีมติปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาลในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall) ในปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 214,093.92 ล้านบาท ล่าสุด ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ชี้แจงว่า โควิด-19 ทำประเทศไม่มีรายได้ส่งผลเงินคงคลังเหลือน้อยมากอาจจะมีไม่เพียงพอในการใช้จ่ายของประเทศ

นางแพตริเซีย มงคลวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาลก็เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2563 ทำให้เงินคงคลังอาจจะมีไม่เพียงพอในการใช้จ่ายของประเทศ ซึ่งล่าสุดได้รับรายงานว่าเงินคงคลังเหลือน้อยมาก 

ดัชนีหุ้นไทย 20 ส.ค.63 ปิดการซื้อขายภาคบ่าย 17.04 น. ที่ 1,296.79 จุด ลดลง -11.88 จุด

เนื่องจากไม่มีรายได้ เพราะมีการเลื่อนการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้ ทำให้คลังคาดว่าจะเริ่มมีเงินเข้าในช่วงเดือน ก.ย. จึงจำเป็นต้องให้คลังให้เปิดวงเงินกู้ดังกล่าว โดย สบน.จะประเดิมกู้ส่วนแรก 5 หมื่นล้านบาท โดยการออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้ประชาชนทั่วไปในเดือน ก.ย.

คลังเปิดตัวพันธบัตรออมทรัพย์ 2 รุ่น 2 อายุ 2 ช่องทาง เพิ่มทางเลือกนักลงทุน

ดังนั้นเงินกู้ 214,093.92 ล้านบาท ที่เพิ่มขึ้นมา เป็นคนละส่วนการกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ 2563 จำนวน 4.69 แสนล้านบาท ซึ่งมีการกู้ไปจนเต็มหมดแล้ว และการกู้เงินเพื่อมาใช้จ่ายกรณีที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ในปี 2563 ไม่ได้ทำเป็นครั้งแรกของประเทศ โดยเคยกู้เงินลักษณะนี้ในปีที่ไทยจะวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มาแล้ว เนื่องจากตอนนั้นรายจ่ายมากกว่ารายได้ที่เก็บได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในมติ ครม. ระบุด้วยว่า ตามกรอบวงเงิน พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดให้รัฐบาลต้องรักษาระดับเงินคงคลังไว้ในระดับที่จำเป็นเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการเบิกจ่ายเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการกู้เงินเพิ่มเติมดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังเพียงพอรองรับการเบิกจ่ายของหน่วยงาน

ราคาทองวันนี้ – 20 ส.ค. 63 ปรับราคา 13 ครั้ง ลดลงจากเมื่อเช้า 100 บาท

ดังนั้น การปรับปรุงแผนฯ ข้างต้นส่งผลให้ประมาณการยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 8.21 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.64 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 60 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด

ที่มา มติ ครม.

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ