สพฐ. วางแนวทางลดการบ้านทั่วประเทศ สอบเขียนบรรยาย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เรื่องของการเรียนในโรงเรียน ตอนนี้มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แนวความคิดของการลดการบ้านของนักเรียน โดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เตรียมแผนในเรื่องนี้แล้ว ซึ่งไม่เพียงการลดการบ้าน แต่จะมีเรื่องของการลดเวลาเรียน และปรับวิธีประเมินผล เน้นการเรียนผสมผสานระหว่างเรียนในห้อง และนอกห้องมากขึ้น

นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ กพฐ. ระบุถึง แนวทางการปฎิรูปการศึกษา โดยเฉพาะ เรื่องลดการบ้าน ลดเวลาเรียน และ วิธีประเมินผล เพราะปัจจุบันการเรียนรู้ของเด็กมีอย่างหลากหลายในการค้นหาข้อมูล การทำกิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ทางเลือกที่ตัวเองชื่นชม หากเปรียบเทียบกับสมัยก่อนที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้กับครูผู้สอนและหนังสือเรียนเท่านั้น ดังนั้น หัวใจสำคัญ อยู่ที่ตัวเด็กนักเรียน

เปิดแนวคิด ร.ร.วัดบวรนิเวศ “เรียบจบในห้องไม่มีการบ้าน”

ล่าสุด นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ก็ได้สั่งการ ให้นำข้อมูล จากนักเรียนที่มารวมตัวเมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา มาปรับ วิเคราะห์ หาทางออกร่วมกันกับโรงเรียนด้วย

สำหรับ 3 แนวทาง ลดการบ้าน ลดเวลาเรียน และ วิธีประเมินผล จะเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน คือ การลดการบ้าน จะมีการวางโครงสร้างการเรียนรู้ใหม่ เน้นทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน และมอบหมายให้เด็กไปค้นหว้าหาความรู้ เตรียมข้อมูลสำหรับการเรียนในวันต่อไป

ข้อสอบ จะปรับเป็นแบบอัตนัย เน้นการเขียนบรรยายมากกว่ากากบาทคำตอบ ส่วนการประเมินผล จะประเมินจากกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กๆ เช่น วิชาประวัติศาสตร์ จะนำเหตุการณ์จริง มาเป็นประเด็น ที่ทั้งนักเรียนและครูจะคิดวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความรู้กัน เช่น การเสียกรุงครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปีไหน และปีนั้น มีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง มาแลกเปลี่ยนกัน

การดำเนินการในรูปแบบนี้ เรียกว่า ห้องเรียนกลับด้าน หรือ flipped classroom เมื่อเด็กมีความรู้ความเข้าใจแล้ว จะทำให้เวลาเรียนลดลงไปโดยปริยาย โดยในส่วนนี้ จะเริ่มจากโรงเรียนสังกัด สพฐ. ระดับ อนุบาล ประถม และ มัธยมก่อน

ซึ่งปัญหาจะอยู่ที่ระดับมัธยมปลาย เพราะจะต้องสอบเข้าสู่มหาวิทยาลัย การปรับการเรียนไปแล้ว หากระดับอุดมศึกษายังใช้การสอบ รูปแบบเดิม ก็จะมีปัญหา ดังนั้น จะต้องมีการไปคุยหารือ กับคณะกรรมการการอุดมศึกษา ด้วย เพื่อให้วิธีการสอบเข้า สอดคล้องกัน

ขณะที่มุมมองของผู้ปกครอง นาย สุวัจ วิภัติภูมิประเทศ ประธานเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เล่าให้ฟังว่า ลูกชาย ขณะนี้เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปริมาณการบ้านมีจำนวนมากจริง มีทุกวัน บางวัน เรียน 7-8 วิชา แต่มีการบ้านวิชาละ 10 ข้อขึ้นไป ลูกก็ต้องจัดสรรให้ดี ไม่งั้นจะทำการบ้านไม่ทัน

ส่วนตัวมองว่า การบ้านเยอะ หรือ น้อย ไม่ใช่ประเด็น แต่การบ้านยังมีส่วนสำคัญ ที่จะให้เด็กได้รับความรู้ความเข้าใจ ในแต่ละวิชานั้นๆ การที่กระทรวงศึกษาธิการจะมีการปรับแนวทางการสอนให้การบ้านลดลงนั้น ทราบคร่าวๆ แล้ว แต่ก็อยากให้ทั้งครูและเด็ก มีการปรับให้อยู่ตรงกลาง ว่าจะมีการบ้านกันอย่างไร แล้วอย่างไหนที่เด็กได้ประโยชน์ เพราะสุดท้ายแล้ว ใบสรุปผลการเรียนปลายปี จะเป็นตัวชี้วัดที่เรียนมาทั้งหมด ว่าได้คุณภาพหรือไม่

เทียบ "การบ้าน" เด็กไทยกับต่างประเทศ

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ