เปิดใจ 2 เลขาฯ "เพื่อไทย-ก้าวไกล" ปม ปิดสวิตช์ส.ว.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทีมข่าวพีพีทีวี สัมภาษณ์พิเศษ 2 เลขาธิการพรรค ทั้งจากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล พบว่า ปมความขัดแย้งที่ทำให้ไม่ลงรอยกันของทั้ง 2 พรรค เป็นเพราะ มี "วิธีคิด" ที่แตกต่างกัน โดยเลขาธิการพรรคก้าวไกล ย้ำว่าการปิดสวิตช์ ส.ว. ควรทำควบคู่กัน เพื่อตัดอำนาจ ส.ว. กรณีที่เกิดการยุบสภา ในระหว่างที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย มองว่า 2 พรรคมีจุดยืนที่เหมือนกัน แต่มีวิธีการคนละแบบ

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ย้ำว่า พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเห็นต่างในวิธีกัน เรื่องการ "ปิดสวิตช์ ส.ว. แต่ยืนยันว่ามีเป้าหมายเดียวกัน และเชื่อมั่นว่า ประเด็นนี้จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งในพรรคร่วมฝ่ายค้าน

"เพื่อไทย-ก้าวไกล"ยังไม่ลงรอยปมแก้ไข รธน.หั่นอำนาจ ส.ว.

น.อ.อนุดิษฐ์ ฝากถึงผู้สนับสนุนพรรคการเมือง อย่ามองคนเห็นต่างไม่ใช่เพื่อน เพราะแม้ว่า "พรรคเพื่อไทย" จะไม่เห็นด้วย กับการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 - 272 ซึ่งเกี่ยวกับ ที่มา อำนาจหน้าที่ และอำนาจ ส.ว. ในบทเฉพาะกาล ที่ให้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แต่ก็เห็นด้วยว่า ไม่ควรมี บทบัญญัตินี้ ในรัฐธรรมนูญ ตามที่ได้คัดค้านตั้งแต่การทำประชามติ รับ - ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

น.อ.อนุดิษฐ์ อธิบายว่า การผลักดันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 คือการปลดล็อกกุญแจ เพื่อเข้าไปแก้ไข หรือ "ปิดสวิตช์" ได้ทั้งฉบับ โดยเฉพาะ เรื่องที่มา "ส.ว." ที่ควรจะให้ ส.ส.ร. ที่มาจากประชาชนได้เป็นคนดำเนินการ

ขณะที่ นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ยืนยันว่าการแก้ไขมาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้มี ส.ส.ร. ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว ส่วนที่แยกเคลื่อนไหวกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ได้เคลื่อนไหว 2 ขา กับผู้ชุมนุมนอกสภา แต่ยอมรับว่าประเด็นที่นำเสนอก็มีหลายส่วนเห็นด้วย

สำหรับแนวทางการปิดสวิตช์ ส.ว. ของทั้ง 2 พรรค มีความแตกต่างกัน คือ พรรค เพื่อไทย เริ่มต้น จากมาตรา 256 เปิดทางให้มีการตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นให้ส.ส.ร.ไปผลักดันแก้ไขเรื่องที่มา และอำนาจ ส.ว. ส่วนพรรคก้าวไกล นอกจากจะเสนอแบบเดียวกับพรรเพื่อไทย ยังเสนอแก้มาตรา 269 - 272 คู่ขนานกันไปด้วย

“ก้าวไกล” เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ไม่จำกัดหมวด ลั่น ปิดสวิตช์ ส.ว.

นายชัยธวัช ระบุว่า ไม่ได้กังวลกับการที่พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยในแนวทางที่ทำ เพราะ ยังมีพรรคร่วมฝ่ายค้านอื่น ๆ ที่พร้อมเข้าชื่อเสนอญัตติ ส่วนที่มีความกังวลว่า ส.ว. จะคัดค้านและไม่ผ่านตั้งแต่ต้น นายชัยธวัช มีความเห็นแย้ง โดยมองว่า "เรื่องนี้" มี ส.ว. หลายคนออกมาเห็นด้วย ก็ไม่ควรรีบด่วนสรุป

ทั้งนี้หากย้อนดูความขัดแย้ง ระหว่าง 2 พรรค พบว่า ตั้งแต่ หลังเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 เป็นต้นมา เกิดความขัดแย้งกับหลายครั้ง  ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นพรรคอนาคตใหม่ เช่น กระแสข่าวความไม่พอใจ กรณี พรรคอนาคตใหม่ ประกาศชัยชนะเลือกตั้งซ่อมเขต 8 จ.เชียงใหม่ ว่าเป็นคะแนนตัวเอง

การเดินสายรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ (ธนาธร ปิยบุตร) แยกจาก 7 พรรคฝ่ายค้าน

พรรคเพื่อไทย ไม่พอใจ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่พาดพิง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนกรณีถือหุ้นสื่อ

พรรคอนาคตใหม่ โหวตสวนมติวิปฝ่ายค้าน ออกเสียง "ไม่เห็นด้วย" พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ

พรรคอนาคตใหม่ ยืนยันจะใส่ชื่อ "พล.อ.ประวิตร" ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และที่เห็นได้ชัดคือ ความไม่พอใจ กรณีถูกเบียดเวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจ 27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จนมีการสื่อสารว่า พรรคเพื่อไทยโกงเวลา และนำไปสู่การติด #กูสั่งให้มึงเข้าสภา ในเวลาต่อมา 

นอกจากนี้ ยังมีทั้งกระแสข่าวลือ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย นัดทานข้าว ส.ส.ก้าวไกล กทม. โดยอ้างว่าเป็นการดูด ส.ส. พรรค เป็นต้น

“เพื่อไทย” หวั่น ส.ว.ล้มแก้รัฐธรรมนูญ เตือนข้อเสนอ “ก้าวไกล” จอดยกแรก

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ