“ถาวร” แฉปม “การบินไทยเจ๊ง” ผู้บริหารระดับสูงเอี่ยว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แฉข้อมูลการโกงกินภายในบริษัทการบินไทย พบมีความเกี่ยวโยงผู้บริหารระดับสูงจำนวนมาก ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ฟังคำสั่งคณะรัฐมนตรี จ่ายสินบนนักการเมือง ขึ้นเงินเดือนผิดปกติ โกงเงินโอทีทำงาน ให้สิทธิประโยชน์อดีตพนักงาน พบความเกี่ยวข้องทั้งพนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงาน หวังวัดใจ ป.ป.ช.ตรวจสอบต่อจริงจังหรือไม่

“ถาวร” แฉทุจริต "การบินไทย" วัดใจ ป.ป.ช.

สหภาพฯ เผย เป็นพนักงานการบินไทย ไม่ได้สุขสบายอย่างที่คิด

กรณีการขาดทุนของการบินไทย จนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้คำสั่งศาลล้มละลายกลาง หลังพ้นสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีการตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริหารกิจการและปัญหาทุจริตบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีผู้มาให้ข้อมูลทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผยกว่า 100 คน

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตั้งโต๊ะแถลงผลการตรวจสอบ ระบุว่า จุดเริ่มต้นของการขาดทุน 62,803 ล้านบาท เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2551 ที่ขาดทุนถึง 21,450 ล้านบาท หลังซื้อเครื่องบิน A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ  เป็นปัญหาขาดทุนทุกเส้นทางบินตั้งแต่จัดซื้อ / และยังไม่ให้ความสำคัญกับมติคณะรัฐมนตรี ปัญหาการจ่ายสินบนโรลส์-รอยซ์ ให้พนักงานการบินไทยเพื่อเอื้อจัดซื้อเครื่องยนต์ / และมีข้อมูลการจ่ายเงินสินบน 2,652 ล้านบาทให้นักการเมือง เจ้าหน้าที่ และพนักงานงาน

ถัดมาในปี 2560 - 2562 มีการส่อทุจริตอีกจำนวนมาก  เช่น ค่า OT พบพนักงานทำได้สูงสุด 3,354 ชั่วโมงต่อปี  หรือเท่ากับมีวันทำโอที 419 วัน แต่หนึ่งปีมีเพียง 365 วัน  การจัดหาเครื่องบินแบบเดียวกัน 6 ลำ แต่กลับมีส่วนต่างราคา 589 ล้าน  มีรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้รับเงินพิเศษ 200,000 บาทต่อเดือน ผ่านไป 9 เดือน ได้เงินเพิ่มเป็น 600,000 บาท โดยอ้างเป็นแนวปฎิบัติกันมา  พร้อมอนุมัติค่าตอบแทนดังกล่าวให้อดีตผู้ที่เคยรักษาการ พร้อมรถประจำตำแหน่ง คนขับ และค่าน้ำมัน  รวมถึงการขายตั๋ว ที่มีการเอื้อให้กับดีลเลอร์ 3-4 ราย มีการจัดตั้งกองทุนพิเศษขึ้นมาให้เอื้อประโยชน์ค่าคอมมิชชันกันเอง

นอกจากนี้ ยังมีการเช่าเครื่องบิน B787-800 จำนวน 6 ลำ ที่มีส่วนต่างราคาถึง 589 ล้านบาท การส่อเอื้อประโยชน์ในการขยายอายุสัญญาสินค้าปลอดภาษีให้เอกชน เสียหายกว่า 655 ล้านบาท  ขณะที่การจัดซื้อวัตถุดิบของครัวการบินไทย ปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท ผูกขาดเอกชนไม่กี่รายเท่านั้น ซึ่งมีข้อมูลว่ามีการจัดซื้อมะนาวลูกละ 8 บาทโดยทำสัญญาระยะยาว โดยให้เหตุผลว่ากลัวมะนาวขาดตลาด

สวนทางกับราคามะนาวในท้องตลาดที่ปรับขึ้นลง 2-4 บาท เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการสายการบินไทยสมายล์ ที่ขาดทุนนับตั้งแต่เริ่มต้นกิจการสะสมไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท  ไปจนถึงการบริหารงานบุคคลที่ผิดพลาด ในปี 2560-2562 ตลอด 3 ปีพนักงานลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ค่าใช้จ่ายกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น ไปจนถึงการบริหารงานบุคคลที่ผิดพลาด ในปี 2560-2562 ตลอด 3 ปีพนักงานลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ค่าใช้จ่ายกลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น ค่าล่วงเวลานักบินกับลูกเรือเพิ่มขึ้น 638 ล้านบาท ค่าโอทีช่างเพิ่มขึ้น 530 ล้านบาท ค่าตอบแทนพนักงานเฉลี่ยต่อคนสูงถึง 129,134 บาทต่อเดือน

สำหรับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ไม่มีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายแล้ว จึงตั้งประเด็นสำคัญที่อาจเป็นเหตุให้การบินไทยประสบปัญหาขาดทุนต่อไป เช่น ผู้บริหารบางคนของบริษัท ร่ำรวยผิดปกติ และบางคนส่อมีบัญชีเงินฝากและทรัพย์สินราคาสูงในต่างประเทศ การจัดซื้อ อุปกรณ์บนเครื่องบิน ปีละ 4,000-5,000 ล้านบาท ส่อทุจริตสินค้าด้อยคุณภาพ  มีการแต่งตั้งเครือญาติ บุตร คนใกล้ชิดที่ไม่มีความรู้เข้ามาทำงาน เป็นต้น

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะรายงานผลการตรวจสอบ ต่อกระทรวงการคลัง , คณะกรรมการ ป.ป.ช. , ป.ป.ท. และ นายกรัฐมนตรี ภายในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคมนี้ เพื่อดำเนินการได้อย่างเด็ดขาด เพื่อเป็นบทเรียนในการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย และเป็นบทเรียนในการวางแผนบริหารงานรัฐวิสาหกิจในอนาคตต่อไป

ขณะที่ วันนี้ (28 ส.ค.) คณะผู้บริหารสายการบินในประเทศไทย 7 สายการบิน ประกอบด้วย สายการบิน  บางกอกแอร์เวย์ส ,ไทยแอร์เอเชีย, ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์,นกแอร์, ไทยสมายล์ ,ไทยเวียตเจ็ท และไทยไลอ้อนแอร์ เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นหนังสือขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจการบินของประเทศไทย หลังได้รับจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

หลังการหารือ นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยแอร์เอเชีย บอกว่า จากได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ทำให้วันนี้สายการบินยิ้มได้ เพราะนายกรัฐมนตรีรับปากช่วยธุรกิจสายการบิน ใน  3 ประเด็นหลัก  คือ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ  ซอฟท์โลน  การขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน และ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมสายการบิน เช่น ค่าท่าอากาศยานลงจอดฟรี หรือขึ้นบินฟรี บริการท่าอากาศยานต่างๆ  ทำให้ฝั่งผู้ประกอบการยืนยันว่า จะไม่เอาพนักงานออก  ขณะที่สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ได้มา 2 หมื่น 4 พันล้านบาท จะนำใช้เรื่องสภาพคล่องของธุรกิจการบิน โดยครึ่งหนึ่งจะเป็นเงินเดือนพนักงาน คาดว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อีกอย่างน้อย 1 ปี และจะใช้คืนได้ภายใน 5 ปี

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ