“ประยุทธ์” ลั่น สั่งปิดเหมืองทองอัครา ทำในฐานะนายกฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พล.อ.ประยุทธ์ เผย สั่งเปิดเหมือนทองเกิดจากประชาชนได้รับความเดือดร้อน ย้ำทำในฐานะนายกรัฐมนตรี ด้านการพิจารณางบประมาณการระงับข้อพิพาทไทย กับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด วงเงิน 111 ล้านบาท มีมติเห็นด้วย 38 เสียง ไม่เห็นด้วย 21 เสียง ด้านฝ่ายค้านเห็นว่านายกฯควรรับผิดชอบเอง เพราะเป็นคงสั่งผิดแ ละศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่าสถานะของ พล.อ.ประยุทธ์ขณะเป็นหัวหน้า คสช.ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ

หมอเรวัต ค้านงบ 111 ล้านสู้คดี “เหมืองทองอัครา” ชี้ “บิ๊กตู่”ไม่ใช่จนท.รัฐ ต้องรับผิดชอบเอง

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ห่วงรัฐแพ้คดีเหมืองทองอัครา

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 แม้การพิจารณางบประมาณกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ในวาระของเรื่อง งบประมาณการระงับข้อพิพาทไทย กับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติออสเตรเลีย จำนวน 111 ล้านบาท มีมติเห็นด้วย 38 เสียง ไม่เห็นด้วย 21 เสียง  แต่ นพ.เรวัต วิศรุตเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ในฐานะ กมธ.งบประมาณ ฯ มองว่า ในวาระที่สอง ส.ส.ควรไต่ตรองก่อนลงมตินี้ เพราะโดยส่วนตัวยืนยันว่า ควรตัดงบประมาณส่วนนี้ทิ้งทั้งหมด เนื่องจากนายกรัฐมนตรี ควรเป็นผู้รับผิดชอบเอง เพราะเป็นคนสั่งปิดเหมือง จนทำให้ไทยเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และ ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงไม่ควรใช้งบประมาณแผ่นดิน

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกระแสเรียกร้องให้รับผิดชอบใช้ ม.44 ปิดเหมืองทองอัครา ว่า เป็นคนละเรื่อง และขอให้ย้อนดูต้นเหตุของปัญหา ว่าเกิดจากความเดือดร้อนของประชาชนรอบเหมือง ที่ไม่ได้รับการแก้ไขใช่หรือไม่ และคดีดังกล่าวก็อยู่ระหว่างการดำเนินการในอนุญาโตตุลาการ พร้อมขออย่างนำอดีตสมัย คสช. หรือข้อกล่าวหาไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐมาพัน เพราะตนเองก็ทำหน้าที่ในนายกรัฐมนตรี ที่ต้องเข้ามาแก้ปัญหาทุกเรื่องเช่นกัน

สำหรับเหมืองอัครา ได้รับสัมปทานตั้งแต่ปี 2543 ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิจิตร , พิษณุโลก , และ เพชรบูรณ์  หลังเปิดเหมืองทองคำ 7 ปี คือปี 2550 มีชาวบ้านไปร้องเรียนรัฐบาลว่า ได้รับผลกระทบ น้ำในพื้นที่ไม่สามารถใช้ได้ เพราะ ปนเปื้อนโลหะหนัก มีชาวบ้านล้มป่วยกันจำนวนมาก ช่วงเวลานั้น ภาครัฐลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ แต่เป็นจังหวะเดียวกับที่ บริษัท อัคราไมนิ่ง ได้รับสัมปทานเหมืองทองคำชาตรีเหนือ อีกเกือบ 2,500 ไร่

ปี 2557 มีการรายงานผลตรวจเลือดของชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ใกล้เหมืองทองคำ ว่า พบสารแมงกานีสและไซยาไนต์อยู่ในร่างกายเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

ปี 2558 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ออกคำสั่งให้ บริษัท อัคราไมนิ่ง หยุดทำกิจการ 30 วัน เพราะ สุ่มตรวจร่างกายชาวบ้านแล้วพบว่า มีโลหะหนักภายในร่างกาย จากนั้นมีการจ้าง บริษัทเอกชนอีกแห่งไปตรวจสอบที่เหมืองชาตรี แต่ไม่พบไซยาไนต์รั่วไหล

จนกระทั้ง 14 ธันวาคม 2559 คสช. ออกคำสั่ง ที่ 72/2559 ให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำต้องระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป โดยเป็นการใช้มาตรา 44 ในการระงับข้อขัดแย้ง ผู้เซ็นคำสั่ง คือ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.

ช่วงปลายปี 2560 บริษัท คิงส์เกต ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท อัคราไมนิ่ง เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ กับราชอาณาจักรไทย โดยเรียกร้องให้ชดเชยค่าเสียหาย 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 22,672 ล้านบาท เนื่องจากการสั่งปิดเหมืองที่เป็นการละเมิดตามข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)

ช่วง มีนาคม 2562 มีรายงานข่าว ว่า ทางรัฐบาลไทยยอมจ่ายเพื่อจบคดีนี้ แต่คดียังมีการยืดเยื้อมาอย่างต่อเนื่อง

และล่าสุด วันที่ 27 สิงหาคม 2563 มีรายงานว่า เอกสารงบประมาณปี 2564 บรรจุเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทย กับบริษัทคิงส์เกท เป็นจำนวนเงินกว่า 111 ล้านบาท

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ