กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ร่วม 24 มหาวิทยาลัย ปั้นโครงการ “รางวัลเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ลงนามร่วมมือมหาวิทยาลัย 24 แห่ง เตรียมคัดเลือกสื่อรับ “รางวัลเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

วันนี้ (2 ก.ย. 63) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ จัดแถลงข่าวโครงการเวทีรางวัลเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

“ดีแทค” จับมือ “ดีป้า-กองทุนสื่อฯ” เปิดตัวพื้นที่แห่งการเรียนรู้ “ห้องเรียนเด็กล้ำ-ห้องเรียนครูล้ำ”...

พบเห็นสายสื่อสาร รกรุงรัง ไม่ปลอดภัย แจ้งได้ที่ กสทช. โทร 1200

พร้อมกันนี้ ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับมหาวิทยาลัย 24 แห่งจากทั่วประเทศ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายคัดเลือกสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ทำสื่อ เป็นขวัญกำลังใจให้มีแรงสร้างสรรค์สื่อที่มีคุณค่าต่อไป

คุณอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรองประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานว่า โครงการเวทีเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะเป็นกลไกส่วนหนึ่งที่รณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการการสร้างกำลังใจ กระตุ้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อและผู้ผลิต มีความภาคภูมิใจ และมีแนวโน้มในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป

โดยในโครงการนี้ กองทุนฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างภาคีเครือข่าย โดยลงนามความร่วมมือกับภาควิชาการ คือ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จำนวน 24 แห่ง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

คุณลัดดา ตั้งสุภาชัย ประธานคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อได้ง่าย ขณะเดียวกันก็มีสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์มากขึ้น เช่น เว็บการพนัน เว็บลามก การสร้างข่าวปลอม คลิปความรุนแรง ฯลฯ สื่อเหล่านี้นับเป็นปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ซึ่งนอกจากการจัดการกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์แล้ว ก็จำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้เกิดทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กและเยาวชน โดยพยายามส่งเสริมให้เกิดสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์มากขึ้น

คุณลัดดาระบุว่า โครงการเวทีเชิดชูเกียรติฯ เป็นกระบวนการยกย่องเชิดชูเกียรติคนทำสื่อดีให้เป็นแบบอย่างแก่สังคม และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยหวังว่า สถาบันการศึกษาที่ให้ความร่วมมือในครั้งนี้ จะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยอาจารย์เป็นผู้ให้คำปรึกษา และเกิดการต่อยอด นำองค์ความรู้เกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไปขยายผลในสถาบัน ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า สำนักงานกองทุนฯ พร้อมที่จะขับเคื่อนความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้ง 24 แห่งในการต่อยอดองค์ความรู้ และการดำเนินการร่วมกัน โดยจะได้นำนโยบาย แนวคิด และหลักการของการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไปสู่การปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้รู้จักกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สามารถเลือกรับสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง มีทักษะรู้เท่าทัน และร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ด้วยการมีส่วนร่วมกับสื่อได้อย่างเหมาะสม

“วันนี้ทุนคนเป็นสื่อได้ แต่จะเป็นสื่อที่ดี สื่อที่มีคุณค่า ไม่ใช่ใครทุกคนจะทำได้ เวทีรางวัลเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงเป็นเวทีที่กองทุนฯ มีความตั้งใจสนับสนุนคนทำสื่อดี สื่อที่มีคุณค่า เพื่อให้สื่อที่ดีไปสร้างคุณค่าให้กับสังคม” ดร.ธนกร กล่าว

ในการดำเนินโครงการเวทีรางวัลเชิดชูเกียรติฯ คณะทำงานได้เชิญคณาจารย์จากมหิวทยาลัยที่ทำการสอนสาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และด้านการสื่อสาร จำนวน 24 สถาบันในทุกภูมิภาคของประเทศ เข้าร่วมกำหนดเกณฑ์และคัดเลือกสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อให้รางวัล 10 ประเภทสื่อ รวม 37 สาขารางวัล ได้แก่

  1. สื่อวิทยุ
  2. สื่อโทรทัศน์
  3. สื่อภาพยนตร์
  4. สื่อสิ่งพิมพ์
  5. สื่อออนไลน์
  6. สื่อบุคคล
  7. สื่อท้องถิ่น
  8. สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์
  9. นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  10. สื่อในโครงการผู้รับทุนของกองทุนสื่อ

โดยเกณฑ์การให้คะแนนยึดหลักความปลอดภัยและหลักความสร้างสรรค์ โดยใช้หลักเกณฑ์ “+6 -3 +1”

+6 คือ 6 เรื่องสร้างสรรค์ ได้แก่ ส่งเสริมให้เกิดระบบวิธีคิด ส่งเสริมความรู้วิชาการ ส่งเสริมจริยธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิต ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องความหลากหลาย และส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวและบุคคล

-3 ได้แก่ เพศ ภาษา และความรุนแรง ที่สื่อไม่ควรนำเสนอ หรือมีได้เฉพาะในบริบทที่จำเป็นและเหมาะสม

ส่วน +1 อีกเรื่องที่จะนำมาพิจารณา คือ กระบวนการผลิต และชิ้นงานสื่อที่มีความน่าสนใจ สามารถเข้าถึงได้ มีหกระบวนการสร้างสรรค์เข้าถึงประชาชน

ซึ่งสื่อที่ได้รับรางวัลจากเวทีนี้อาจไม่ใช่สื่อที่ได้รับความนิยม มีเรตติ้งสูง แต่เป็นสื่อที่มีความปลอดภัยและสร้างสรรค์ตามเกณฑ์ “+6 -3 +1” โดยกระบวนการหลังการลงนาม MOU มหาวิทยาลัยเครือข่าย 24 สถาบัน จะร่วมกับนักศึกษาของตนเอง คัดเลือกสื่อ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คาดว่าจะประกาศผลได้ภายในต้นปี 2564

คณะกรรมการจะตัดสินจากผลงานที่มีการออกอากาศ เผยแพร่ หรือดำเนินการ ระหว่าง พ.ศ. 2560 – 2562

คณะกรรมการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เคยกำหนดลักษณะสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ไว้ ดังต่อไปนี้

  1. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และสัฒนะรรมอันดีของสังคม หรือส่งผลกระทบต่อจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และสังคม อย่างร้ายแรง
  2. สื่อที่มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกแยก ยั่วยุ และสร้างความเกลีดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจนอาจก่อห้เกิดผลกระทบร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ
  3. สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  4. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย
  5. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อหลักจรรยาบรรณสื่อ หรือแนวปฏิบัติของวิชาชีพสื่อนั้น ๆ

“พุทธิพงษ์” ยัน ปิดเว็บ-สื่อโซเชียลฯ ผิดกฎหมาย ไม่เลือกปฎิบัติ  

สื่อต่างชาติถามนายกฯ รู้สึกอย่างไร ถูกเด็กเรียก “เป็นเผด็จการ”

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ