19 กันยายน วันนี้ในอดีตมีอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในทุกๆ วันมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย และเมื่อผ่านพ้นไปก็จะกลายเป็นเรื่องราวในอดีต และวันที่ 19 กันยายน ก็เช่นกัน

19 กันยายน พ.ศ. 2403 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงเริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ หลังจากทิ้งรกร้างมานาน สำหรับองค์พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศไทย อยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร มีประวัติความเป็นมายาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโคตมพุทธเจ้า

ตำรวจแนะเส้นทางเลี่ยง จุดเสี่ยงติดปิดถนน 19 กันยา ชุมนุมใหญ่ แนวร่วมทยอยเข้าพื้นที่แล้ว

โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า

อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์

องค์พระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูประฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

และทุกวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน กำหนดให้มีเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์เป็นประจำทุกปี

ต่อมา ในพุทธศักราช 2529 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์

พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 และพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์

ด่วน! ตำรวจสกัดแกนนำม็อบนักศึกษา บุกถึงหอพักยึดเอกสาร คุมตัว อ้างเกี่ยวข้องล้มล้างการปกครองฯ

19 กันยายน "วันพิพิธภัณฑ์ไทย” ย้อนไปปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ให้ย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และของแปลกประหลาดจากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในหอมิวเซียม (Museum) ณ หอคองคอเดีย

ซึ่งเป็นอาคารใหม่ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิด หอมิวเซียม หรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก สิ่งของที่นำมาแสดงมีทั้งโบราณวัตถุและศิลปวัถุที่ทรงรวบรวมไว้ มีทั้งสัตว์สตัฟ เครื่องอาวุธโบราณ เครื่องทรง เป็นต้น

ต่อมา ในวันที่ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 และถือเป็น วันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานของชาติแห่งแรกในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นพิพิธภัณฑสถานของหลวงหรือทางราชการที่จัดตามหลักวิชาการสากลและเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเป็นครั้งแรกในการเฉลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา

ต่อมาในปี 2430 ทรงย้ายมิวเซียมหลวงไปอยู่ตั้งที่พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า ซึ่งเป็นบริเวณ "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร” ปัจจุบัน และ ในปี 2538 คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศให้วันที่ 19 กันยายนของทุกปีเป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย”

“ประยุทธ์” ระบุ “ยังไงก็จะดูแลให้ปลอดภัย” ชุมนุมใหญ่​ ​19​ กันยา​

19 กันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับประเทศไทย

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516  จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ ต่อมาอีก 3 ปี จอมพลถนอม เดินทางกลับมาโดยบวชเป็นสามเณรและมาอุปสมบทเป็นเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร

แต่ปรากฏว่ากลับจุดชนวนให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนได้ออกมาชุมนุมเพื่อขับไล่อีกครั้ง จนนำไปสู่เหตุการณ์ "6 ตุลา 19”

19 กันยายน พ.ศ. 2549  รัฐประหารครั้งที่ 10 ของเมืองไทย และเป็นการรัฐประหารในรอบ 15 ปี  เมื่อคณะทหารในนาม “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (คปค.) ซึ่งมี พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้า ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ต่อมาได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวโดยให้ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้น คปค. ก็ถอยไปอยู่ในฐานะ “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) คอยดูแลรัฐบาลชั่วคราวบริหารประเทศและเร่งกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี จากนั้นจะเลือกตั้งใหม่ภายในปี 2550

ขณะเดียวกัน สถานการณ์ในต่างประเทศ ก็มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองเกิดขึ้นเช่นกัน คือ ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อ ประธานาธิบดี ฮวน เปรอง แห่งอาร์เจนตินา ถูกขับไล่ออกจากตำแหน่ง หลังอยู่ในอำนาจมายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946-1955

ในวาระแรกของประธานาธิบดี ฮวน เปรอง และภรรยาได้รับการความนิยมล้นหลามมากในหมู่ชาวอาร์เจนตินา  ต่อมาวาระที่สอง ดำรงตำแหน่งระหว่าง ค.ศ. 1952 ถึง 1955 การอยู่ในตำแหน่งของ ฮวน เปรอง เกิดเป็นลัทธิเปรอง  (Peronism) เป็นแนวความคิดที่นำ ชาตินิยม สังคมนิยม และประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยม เข้ามารวมกัน ซึ่งเป็นนโยบายมนุษย์นิยม ที่เรียกว่า "ความยุติธรรมทางสังคม" ช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ให้มีชีวิตดีขึ้น

และในปีนี้ 2563 วันที่ 19 กันยายน เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้งภายใต้ชื่อว่า “การชุมนุม "19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร" และหากเวลาผ่านเลยไปก็จะกลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมือง

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ