ช่วยเหลือเด็ก14 ปี ลาออก รร.ทำงานส่งนมเลี้ยงน้อง-ยาย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรณีโซเชียลแชร์เด็กชายวัย 14 ปี จบป.6 แล้วออกมาทำงานรับจ้างเป็นพนักงานขายนมเปรี้ยวยี่ห้อดัง เพื่อหารายได้เลี้ยงยายและน้องชายเป็นผู้พิการ ทำให้ชาวเน็ตต่างให้กำลังใจและพร้อมที่จะช่วยกันบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือ แต่ก็มีกระแสบางส่วน เกิดดราม่าเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการศึกษาไทย

หลังจากภาพน้องอาร์มวัย 14 ปี ไม่ได้เรียนหนังสือ ทำงานตระเวณขายนมยี่ดัง ถูกแชร์ลงในโซเชียลทีมข่าวลงไปตรวจสอบบ้านน้องอาร์มในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ พบเป็นหลังเล็กๆยกสูง  พบกับยายแอ๊ด ผ่าสุขขี อายุ 59 ปี กำลังดูแลน้องของน้องอาร์มวัย 10 ปี ซึ่งเป็นผู้พิการขารีบ เดินและพูดไม่ได้อยู่ภายในบ้านเพียง 2 คนเท่านั้น

เด็กชายป.6 ยอดกตัญญู ขอลาพักการเรียน 1 ปีเพื่อเลี้ยงดูน้อง 4 คน

ยายน้องอาร์ม บอกว่าพ่อแม่ของเด็กได้เลิกราและแยกทาง โดยแม่นานๆที จะกลับเยี่ยมลูก ขณะที่ตัวของน้องอาร์มนั้น เป็นคนเงียบขรึมพูดน้อย เพิ่งเรียนจบชั้น ป.6 แต่ไม่เรียนต่อ ก็อยู่ที่บ้านช่วยเลี้ยงน้องชาย จนวันหนึ่ง ไปพบเจอกับ น.ส.สายฝน เพื่อนบ้านในระแวกเดียวกัน ทำงานเป็นสาวขายนมเปรี้ยวยี่ห้อดัง มาชักชวนให้ไปขายนมเปรี้ยวด้วยกัน น้องอาร์มจึงตัดสินใจไปทำงานด้วย เพราะเห็นยายไม่มีรายได้ จึงขอไปทำงานหาเงินช่วยเหลือครอบครัว ในแต่ละวันหลานก็จะเอาเงินมาให้วันละ 200-300 บาท เพื่อนำมาไว้ใช้จ่ายภายในบ้าน

ทีมข่าวได้สอบถาม กับน.ส.สายฝน สาวขายนมเปรี้ยว เป็นผู้ว่าจ้างน้องอาร์มให้ไปช่วยขายของ เล่าให้ฟังว่า น้องอาร์มผิดจากที่เห็นในตอนแรก ดูคล้ายเป็นเด็กดื้อเงียบ แต่พอมาอยู่ช่วยตนขายของ กลับกลายเป็นคนขยัน

“ทุกวันนี้ ตนจะต้องพาน้องอาร์มเดินทางด้วยจักรยานยนต์พ่วงข้างไปขายที่ อ.ท่าตะโกทุกวัน ค่าจ้างที่ตนให้น้องอาร์มวันละ 200 บาท  และได้เงินพิเศษอีกถุง ละ20 บาท หากเดินขายแพคนมถุงละ100 บาทได้วันไหนขายดีมาก มีรายได้ตกวันละ 400-500 บาท บางวันหากตระเวนขายถึงดึกดื่นมีรายได้มากถึง 800-1,000 บาทต่อวันเลย

เมื่อถามถึงเรื่องการเรียนของน้องอาร์ม น.ส.สายฝน บอกว่าตน เคยพูดคุยและถามน้องอาร์มหลายครั้งแล้วเรื่องเรียน ซึ่งตนเสนอจะช่วยส่งให้น้องอาร์มเรียนต่อในระดับมัธยมโรงเรียน กศน. แต่น้องอาร์มกลับปฏิเสธไม่อยากจะเรียนต่อแต่อย่างใด  เช่นเดียวกับโลกโซเชียลที่เขาไปชื่นชมน้องอาร์ม และตั้งคำถามถึงความเหลื้อมล้ำทางการศึกษาไทย และต้องการให้ช่วยเหลือน้องอาร์มได้เรียนหนังสือต่อ 

ล่าสุดหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปช่วยเหลือน้องอาร์ม  โดยนายกฤษฎา บุญราช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย ประสานนายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครสวรรค์

ศูนย์ดำรงธรรม ตัวแทนเครือข่ายดัชมิลล์ และเจ้าหน้าที่พม. ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาให้ความช่วยเหลือครอบครัวนี้ พร้อมมอบเงินและข้าวของเครื่องใช้ให้ในเบื้องต้น และติดต่อน.ส.สายฝน ให้พาน้องอาร์มมาพบกัน ที่ว่าการอบต.บางม่วง เพื่อพูดคุยโดยไม่ให้สื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์

โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อมานางประภาวดี สิงหวิชัย นายกเหล่ากาชาด จ.นครสวรรค์ เปิดเผยว่าจากการพูดคุยหารือ สรุปจะให้น้องอาร์มได้เรียนหนังสือต่อในระดับมัธยม โดยวันนี้ให้น้องอาร์มกลับไปเตรียมเอกสารเพื่อเรียนต่อแล้ว ส่วนน้องสาวของน้องอาร์มที่พิการ ทางสภากาชาดไทยจะมีการให้ความช่วยเหลือเรื่องการรักษาโดยจะมีการทำเรื่องเพื่อส่งน้องสาวของน้องอาร์มไปรักษายังกรุงเทพต่อไป

สำหรับสถานการณ์เด็กหลุดจากระบบการศึกษา หลังล่าสุดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นที่ หรือ สพฐ. ลงนามความร่วมมือ กับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในสังกัดสพฐ. ที่ยากจนและด้อยโอกาสให้ได้เรียนต่อ นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการสพฐ. เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์เด็กหลุดจากระบบการศึกษาไม่ได้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามจำนวนเด็กกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ลดลงโดยปัจจัยที่ทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ทั้งออกกลางคัน หรือ ไม่ได้เรียนตั้งแต่แรก

ประกอบด้วย สถานะครอบครัวยากจน , อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหา ,  พ่อแม่ต้องดิ้นรถทำงาน ทำให้ต้องนำลูกไปฝากปู่ ย่า ตา ยาย เลี้ยง และญาติผู้ใหญ่เหล่านี้  ก็ไม่ได้เห็นความสำคัญในการส่งหลานเข้าสู่ระบบ และสุดท้าย คือ ปัญหาส่วนตัวของเด็ก เช่น แม่วัยใส ซึ่งจะพบในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปมที่เป็นปัญหาร่วมของทุกปัจจัยคือ ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว    

      

สำหรับปัจจัยที่อยู่ในภาวะเฝ้าระวัง คือ ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19   ซึ่ง สพฐ.ยอมรับว่า อยู่ระหว่างสำรวจจำนวนเด็กที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาหลังโควิด-19 ระบาด และเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่จนถึงตอนนี้ ยังไม่พบตัวเลขที่มีนัยสำคัญ  

ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. พบว่า มีเด็กที่อยู่ในข่ายนี้ราว 4.3ล้านคน 

แบ่งเป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย  เด็กเล็ก 0-2ปี ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 770,000 คน เด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ปี แบ่งเป็น2กลุ่ม คือ กลุ่มนอกระบบการศึกษา ไม่ได้เข้าสู่ระบบตั้งแต่แรก 230,000 คน และขาดแคลนทุนทรัพย์ 610,000 คน และกลุ่มที่ใหญ่สุด คือ กลุ่มนักเรียนขาดแคลนทุนทรัพย์กลุ่มนี้มีมากถึง 1,800,000 คน กลุ่มที่ 4 เด็กนอกระบบการศึกษาอายุ  6-14 ปี  จำนวน 200,000 คน กลุ่มที่ 5 ม.ปลาย, ปวส.ยากจร  360,000 คน กลุ่มที่ 6  เด็กที่ไม่เรียนต่อหลังจบม.ต้น 240,000 คน และกลุ่มสุดท้าย แรงงานอายุ 18-25ปี และครูรวมถึงโรงเรียน ต้องการพัฒนาทักษะ 150,000 คน

สุดรันทด! เด็กหญิงป.6 ยอดกตัญญู ขอลาออกจากโรงเรียน หวังทำงานเลี้ยงแม่ที่ตาบอด

อึ้ง! เด็กไทย 2 ล้านคน เสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา เพราะยากจน

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ