มติ กนง. คงดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 คาดใช้เวลา 2 ปี เศรษฐกิจฟื้นเป็นปกติ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กนง. มีมติเอกฉันท์ให้ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยให้มีผลทันที พร้อมคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยใหม่ โดยมีปัจจัยจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และการฟื้นตัวช้าของภาคท่องเที่ยว

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 23 ก.ย.2563  ว่า  คณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยมีผลทันที

ครม.อนุมัติเงินพิเศษ 7 เดือน กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน สู้โควิด-19

อสม.แห่เที่ยวโครงการ “กำลังใจ” กระตุ้นเศรษฐกิจทั่วไทย

อย่างไรก็ตาม กนง. คาดการ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยใหม่ จากเดิม เดือน มิ.ย.ประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยหดตัว ร้อยละ 8.1 แต่ครั้งนี้ กนง.ปรับประมาณการณ์ให้เศรษฐกิจไทยหดตัวน้อยลงเหลือร้อยละ  7.8 ขณะที่ในปีหน้า คาดว่า เศรษฐกิจไทยจาก ร้อยละ 5 เป็น ร้อยละ 3.6 จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ช้ากว่าคาดการ์เนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19 

ด้านอัตราเงินเฟ้อปีนี้ คาดว่าติดลบน้อยลง แต่ในปี 2564 คาดว่าจะปรับเข้าสู่กรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อ เนื่องจากเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวสู่ระดับต่ำ จากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ

กนง.มองว่า ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด โควิด-19 จะส่งผลต่อการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือทั้งปีนี้ ทำให้มีการปรับประมาณการณ์นักท่องจากเดิมปีนี้ขาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 8 ล้านคน แต่ในช่วงที่เหลือของปีนี้นักท่องเที่ยวจะยังคงไม่สามารถเข้ามาได้ จึงปรับลดลงเหลือ 6.7 ล้านคน

ส่วนในปี 2564 ปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยว จาก 16 ล้าน เหลือแค่ 9 ล้านคน แต่ถึงแม้จำนวนหัวจะน้อยลงแต่นักท่องเที่ยวจะอยู่นานขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น 

ส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดปรับลงเช่นกันทั้งในปีนี้และปีหน้า จากรายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2563  คาดว่าจะอยู่ที่ 14 พันล้านเหรียญ ส่วนปีหน้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 

ภาคส่งออกปีนี้ ปรับดีขึ้นบ้าง แต่ในปี 2564 ยังทรงตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่แน่นอน

"โดยสรุปคือ เศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัวน้อยลง แต่ในระยะต่อไปเศรษฐกิจไทยจะยังฟื้นตัวช้ากว่าคาด และจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี กว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงก่อนโควิด-19 ปลายปี 2562" 

ดังนั้น กนง.มองว่า การฟื้นตัวในแต่ละภาคธุรกิจจะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในช่วงต่อไปการดำเนินนโยบายภาครัฐ ต้องเน้นให้ตรงจุด ทันการ และสอดประสานกันทั้ง การเงิน การคลัง ในรูปแบบ targeted หรือ การกำหนดเป้าหมายให้ตรงจุดในแต่ละภาคธุรกิจ

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ