เปิดแผนเดินหน้าสร้าง “เมืองการบิน” ระยะที่ 3


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่หลายฝ่ายจับตาอยู่ คงหนีไม่พ้น โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวัน แม้จะมีสถานการณ์โควิด -19 แต่โครงการนี้ยังถูกขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงที่ภาวะวิกฤตโควิด-19 ทำหลายสิ่งหลายอย่างหยุดชะงักงัน แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นความหวังใหม่ทางเศรษฐกิจ ที่จะเข้ามาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต และยังมีความคืบหน้าในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวัน ที่ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว เป็นการลงมือจริง หลังจากในระยะที่ 1 คือการจัดทำแผนความเป็นไปได้ และระยะ 2 ที่เฟ้นหาผู้ร่วมทุนที่จะอาสาเข้ามาลงทุนพัฒนาประเทศ ซึ่งก็เป็นกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส มาดำเนินการ ซึ่งได้ก่อตั้งบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA เข้ามาดำเนินการ

เปิดศักยภาพ “เมืองการบิน” เดินหน้าลงทุนฝ่าโควิด-19

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนี้ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี บอกว่า ทางภาคเอกชนมีการส่งทบทวนแผนหลักในการพัฒนากลับมาแล้ว และกองทัพเรือได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของ รันเวย์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ระยะทาง 3,500 เมตร มูลค่า 17,000 ล้านบาท ซึ่งภายในเร็วๆนี้จะมีการส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. พิจารณา จากนั้นใช้ระยะเวลา 4-6 เดือน โดยระหว่างนี้ก็จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้พิจารณารายละเอียดการเปิดประมูลเพื่อหาเอกชนดำเนินการก่อสร้างไปแบบคู่ขนานซึ่งจะใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน ซึ่งหาก EHIA ผ่านแล้วจะมีการลงนามในสัญญาทันที คาดว่ากลางปีหรือไม่เกินปลายปี 2564 จะดำเนินการก่อสร้างได้

ส่วนอีกหนึ่งส่วนสำคัญของเมืองการบินภาคตะวันออก ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องมี นั่นคือ โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา หรือ MRO ของพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 500 ไร่ ในระยะที่ 1 จะอยู่บนพื้นที่ 200 ไร่ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ รวมถึงบริษัท แอร์บัส ก็ได้ตัดสินใจถอนการร่วมลงทุนแล้ว หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เรื่องนี้เบื้องต้นทาง อีอีซี ยืนยันว่าได้พูดคุยกับการบินไทยแล้วว่าจะนำการพัฒนา MRO เข้าไปอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการที่จะเสนอให้ศาลล้มละลายกลางช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 รวมถึงมองแนวทางเลือกไว้ 2 รูปแบบ คือ ให้การบินไทยดำเนินการลงทุนเอง ซึ่งยังต้องรอดูแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทก่อน และ 2.การบินไทยร่วมทุนกับบริษัทอื่น เพื่อให้สายการบินใหญ่ๆระดับโลกเข้าลงทุน

สำหรับพื้นที่ที่เหลืออีกประมาณ 300 ไร่ ทางคณะกรรมการ อีอีซี กำลังเจราจากับเอกชนอีกหลายหลาย คณะกรรมการซึ่งยืนยันด้วยความมั่นใจว่า หลายบริษัทยังให้ความสนใจลงทุน เพียงแต่ต้องรอสถานการณ์ของโควิด-19 ชัดเจนก่อน โดยภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป จะเกิดเมืองคู่แฝดของกรุงเทพฯ นั่นคือ มหานครการบินภาคตะวันออก ที่จะเป็นศูนย์รวมการขนส่งทั้งทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และทางราง พร้อมกับบริเวณโดยรอบ 30 กิโลเมตรของสนามบินอู่ตะเภาจะเกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ด้วยการเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของพื้นที “อีอีซี” ผ่านแนวคิด "The Middle Aeroropolis of future Cities" ที่จะมีเมืองสำคัญๆ อย่างพัทยา ระยอง ฉะเชิงเทรา อยู่รายล้อมให้เป็นเมืองแห่งอนาคตอย่างแท้จริง

เปิดความพร้อมพัฒนาเมืองการบินสู่ “ประตูเศรษฐกิจเอเชีย”

อีอีซี มั่นใจ 4 ปี “สนามบินอู่ตะเภา” เสร็จตามแผน

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ