“รถไฟทางคู่” จุดเปลี่ยนรถไฟเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โครงสร้างพื้นฐานของไทยกันบ้าง หลายคนค่อนขอดว่ารถไฟไทยเก่าบ้าง พัฒนาได้อย่างล่าช้าบ้าง วันนี้ขอพาไปดูอีกมุมหนึ่งที่เราอาจจะได้เห็นในอนาคตรถไฟไทยจะเปลี่ยนไป โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว

รฟท.ผุด “รถไฟหรู” เพื่อการท่องเที่ยว หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

นักวิชาการ ชี้ ไทยได้ประโยชน์จาก “รถไฟความเร็วสูง”

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากในปี 2568 ประเทศไทยของเราจะมีรถไฟทางคู่กว่า 1,000 กิโลเมตร และเกิดเส้นทางเดินรถใหม่ๆอีกกว่า 1,500 กิโลเมตร ซึ่งคิดคำนวนดูแล้วจะมีสัดส่วนรถไฟทางคู่เกินกว่า 50% ของโครงข่ายทั้งหมด โดยรถไฟทางคู่นั้น เป็น รถไฟที่วิ่งบนรางคู่ สามารถวิ่งไป-กลับได้ทันที ไม่ต้องชะลอรถเพื่อจอดคอยสลับรางกันจนเกิดความล่าช้าเหมือนแต่ก่อน ซึ่งความเร็วรถเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100-120 กิโลเมตร

เมื่อโครงสร้างพื้นฐานถูกพัฒนารุดหน้ามากยิ่งขึ้น กลับมาประจวบเหมาะกับช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ก็ส่งผลให้การขนส่งเดินทางท่องเที่ยวของเรายิ่งเปลี่ยนไป เพราะการเดินทางไปต่างประเทศก็ไม่สามารถทำได้ เทรนด์การท่องเที่ยวในประเทศจึงวนกลับมาคึกคักอีกครั้ง จึงถือเป็นโอกาสเหมาะของ การรถไฟ ที่จะฟื้นภาพความรุ่งเรืองในอดีตที่ การขนส่งผู้โดยสารทางไกลผ่านรถไฟ ตู้นอน รถนอน ที่เคยมียอดจองเต็มตลอด แล้วถูกดิสรัปชัน ด้วยสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ โลว์คอสต์แอร์ไลน์ นี่จะเป็นอีกหนึ่งจังหวะสำคัญที่การรถไฟจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ด้วยเสน่ห์ของรถไฟสุดคลาสสิคที่หาจากไหนไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศ อาหาร หรือวัฒนธรรมต่างๆ

โดยการพัฒนาก็ไม่ได้มีเพียงด้านการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆเท่านั้น แต่ยังมีไอเดียสุดสร้างสรรค์ ที่จะเปิดให้บริการรถไฟขบวนพิเศษ เหมือนกับขบวนพิเศษ SRT Prestige หรือ Oriental Express ที่เป็นรถไฟท่องเที่ยวสุดหรู ขบวนรถมีการตกแต่งอย่างสวยงามสะดุดตา พร้อมมาตรฐานการบริการดั่งโรงแรม 5 ดาว ห้องอาหารจากเชฟภัตตาคารดัง ไปจนถึงบริการเหมาตู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับบรรดานักท่องเที่ยวในยาม

ขณะที่ผู้ชื่นชอบรถไฟ อย่างเจ้าของเพจทีมนั่งรถไฟกับนายแฮมมึน ก็มองว่า อนาคตโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟไทย ที่เป็นรูปแบบทางคู่ มีรั้วข้างทาง มีการยกข้าม หรือทำถนนรอดใต้ทางรถไฟแทนไม้กั้นแบบในอดีต สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้การเดินทางด้วยรถไฟสะดวกขึ้นมาก ยิ่งจังหวะการทำความเร็วอยู่ตัวแล้ว ปัญหาการล่าช้า ดีเลย์ก็จะหายไปด้วย

เมื่อเรามองถึงเส้นทางต่างๆ ที่มีการพัฒนาไปแล้ว นายวันวิสข์ ก็บอกว่า เป็นเรื่องที่ดีมากๆ กับการท่องเที่ยว เพราะเอกลักษณ์ของแต่ละสถานที่มีเรื่องราวความแตกต่างกัน เช่น บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงครามที่เป็นสะพานขึงให้รถไฟข้ามแห่งเดียวในประเทศไทย เนื่องจากมีระเบิดตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝังอยู่บริเวณใต้ผิวน้ำ จึงไม่สามารถทำเป็นสะพานแบบปกติได้ เมื่อสตอรี่เรื่องราวเหล่านี้ บวกกับความสวยงามของธรรมชาติ บรรยากาศการพักผ่อนในรถไฟ วัฒนธรรมการกินอาหารในแต่ละจังหวัดที่รถไฟผ่าน ก็ยิ่งเป็นความสวยงามที่หาที่ไหนไม่ได้

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ