จีน-สหรัฐฯ ตึงครียด "สี จิ้นผิง" สั่งทหารพร้อมทำสงคราม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อพิพาททะเลจีนใต้ โควิด จนถึงฮ่องกง และล่าสุดดูเหมือนว่าจะตึงเครียดขึ้นอีก หลังสหรัฐอเมริกามีแผนการขายอาวุธให้กับไต้หวัน จนประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่เดินทางไปเยี่ยมกองทัพเรือได้ประกาศให้กองทัพเตรียมพร้อมกับสงคราม

“ทรัมป์” ย้ำพร้อมต่อเวลาเจรจาการค้ากับจีน

จีนแถลงไม่พบรูรั่วใน “หัวเว่ย” แต่พบสินค้าของอเมริกา

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางเยือนฐานทัพเรือในเมืองซัวเถา ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง  ผู้นำจีนได้สั่งให้กองทัพเรือยกระดับมาตรฐานการฝึก ความสามารถในการรบ และระดับการเฝ้าระวังสูงสุด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับทำสงคราม

สี จิ้นผิงได้บอกกับเหล่าทหารว่า การปกป้องอาณาเขตและอธิปไตยของจีนคือหน้าที่สำคัญ เพราะจะทำให้จีนไปถึงเป้าหมายที่ต้องการเป็นประเทศมหาอำนาจ และเจริญรุ่งเรืองทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ  การประกาศให้กองทัพเรือพร้อมทำสงครามครั้งนี้เกิดขึ้น หลังสหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าขายอาวุธสงครามให้แก่ไต้หวัน

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศแผนการขายอาวุธล้ำสมัยให้แก่ไต้หวัน รวมไปถึงเครื่องบินจรวดหลายลำกล้องที่มีชื่อว่า “ไฮมาร์ส” (HIMARS) ที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐฯ และสามารถปฏิบัติการโจมตีศัตรูได้ไกลกว่า 300 กิโลเมตร

กระทรวงการต่างประเทศจีนได้ออกมาขู่ให้สหรัฐฯ ยกเลิกการขายอาวุธให้กับไต้หวัน หากยังต้องการรักษาความสัมพันธ์กับจีน และยังอยากให้บริเวณช่องแคบไต้หวันเกิดความสงบ โดยกล่าวว่าขอให้สหรัฐฯ ยึดถือตาม “นโยบายจีนเดียว” ที่จีนมองว่า ไต้หวันคือส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ใช่ประเทศ  ความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ ตึงเครียดขึ้นไปกว่าเดิมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่งคือการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไต้หวัน

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อเล็กซ์ อาซาร์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยือนกรุงไทเป ในฐานะผู้แทนของประธานาธิบดีทรัมป์ และได้เข้าพบ ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน เพื่อหารือเกี่ยวกับการรับมือกับวิกฤตไวรัสโควิด-19 เนื่องจากไต้หวันรับมือได้ดี

นับเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของสหรัฐที่ไปเยือนไต้หวันเป็นคนแรกในรอบหลายทศวรรษ  ท่าทีนี้ทำให้จีนไม่พอใจอย่างมาก เพราะมองว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ เพราะในมุมของจีนแล้ว ไต้หวันยังเป็นส่วนหนึ่งของจีน จึงต้องจับตาดูว่าสหรัฐฯ จะมีท่าทีเช่นไร ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยที่สหรัฐฯ จะยอมยกเลิกขายอาวุธให้กับไต้หวัน และถ้าหากสถานการณ์บานปลาย นี่จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ตึงเครียดที่สุดครั้งหนึ่ง

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ