“เสรีภาพ กับ ศาสนา” รอยร้าวระหว่าง ฝรั่งเศส กับ มุสลิม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังเกิดเหตุการณ์ฆ่าตัดคอครูชาวฝรั่งเศสอย่างโหดเหี้ยม เพราะนำการ์ตูนล้อเลียนศาสดาอิสลามมาสอน สถานการณ์ระหว่างฝรั่งเศสกับโลกมุสลิมก็อยู่ในภาวะตึงเครียด ด้าน ‘มาครง’ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ยังคงมีจุดยืนสนับสนุนการพูดถึงศาสนาได้อย่างเสรี ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้นำโลกมุสลิมหลายประเทศ ทำให้ชาวมุสลิมในต่างแดนต่างออกมาประท้วงให้คว่ำบาตรสินค้าฝรั่งเศส ไปจนถึงเกิดความกังวลว่า จะนำไปสู่ความรุนแรงอย่างเหตุก่อการร้ายขึ้นอีกครั้งใน

มือมีดไล่แทงกลางโบสถ์เมืองนีช ฝรั่งเศส ดับ 3 ถูกตัดศีรษะ 1

วันนี้ (29 ต.ค.2563) ที่ฝรั่งเศส เกิดเหตุชาวฝรั่งเศส ถูกคนร้ายใช้มีดสังหารจนเสียชีวิตที่เมืองนีซ ใกล้กับโบสถ์ Notre Dame ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง หนึ่งในเหยื่อ 3 ราย เป็นผู้หญิงที่ถูกมีดฆ่าตัดคออย่างโหดเหี้ยม ผู้ต้องสงสัยถูกจับกุมได้ไม่นานหลังลงมือก่อเหตุ

คริสเตียน เอสโตรซี นายกเทศมนตรีเมืองนีซ เปิดเผยว่า ผู้ต้องสงสัยได้ตะโกนว่าอัลเลาะห์ อัคบาร์ ที่แปลว่าอัลเลาะห์ผู้ยิ่งใหญ่อยู่หลายครั้ง โดยเขามุ่งเป้าไปว่า การก่อเหตุครั้งนี้คือเหตุก่อการร้าย โดยหน่วยต้านก่อการร้ายฝรั่งเศสจะเร่งสืบสวนเหตุฆาตรกรรมครั้งนี้

 

เมืองนีซ ถือว่าเป็นเมืองที่เคยเกิดเหตุก่อการร้ายมาแล้ว ในปี 2016 เคยเกิดเหตุคนขับรถบรรทุกพุ่งใส่ฝูงชนในวันชาติฝรั่งเศส จนทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 86 ราย เหตุสังหารล่าสุดนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างฝรั่งเศสกับโลกมุสลิม

หนึ่งในผู้นำประเทศมุสลิมที่กล่าวหา มาครง อย่างรุนแรง คือ ประธานาธิบของตุรกี ทำให้ล่าสุดนิตยสารชาร์ลีเอ็บโดของฝรั่งเศสตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนเขา จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ร้าวลึกกว่าเดิม

หลังประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรกี ออกมาประณามจุดยืนของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงที่สนับสนุนการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัดว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาอิสลาม โดยอ้างเสรีภาพในการแสดงออก และยังไล่ให้มาครงไปตรวจสุขภาพจิต

 

ล่าสุด ชาร์ลี เอ็บโด นิตยสารแนวล้อเลียนการเมืองชื่อดังตอบโต้ด้วยการตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนประธานาธิบดีแอร์โดกัน อย่างรุนแรง แน่นอนผู้นำตุรกีโกรธมาก ประณามนิตยสารชาร์ลี เอ็บโด และยังขู่ว่าจะดำเนินการตามกฎหมายและการทูตต่อนิตยสารฉบับนี้

หลังจากคำขู่ของประธานาธิบดีแอร์โดอัน รัฐบาลฝรั่งเศสออกแถลงการณ์สวนว่า จะไม่ยอมจำนนต่อคำขู่ของตุรกี ฝรั่งเศสจะยังคงยึดมั่นในหลักการสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกต่อไป

 

ความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับโลกมุสลิม สะท้อนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนผิวขาวกับกลุ่มมุสลิมภายในประเทศที่ฝังรากลึกมานานด้วย เหตุใดประชาชนสองกลุ่มนี้ถึงขัดแย้งกัน โดยฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในกลุ่มประเทศตะวันตก ชาวมุสลิมส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง และแอฟริกาตะวันตก ที่หนีจากสงครามและความขัดแย้งในบ้านเกิดตั้งแต่ช่วงปี 1960 ปัจจุบันฝรั่งเศสมีประชากรชาวมุสลิมราว 5.7 ล้านคน ถ้าเปรียบเทียบกับในเยอรมนี หรือสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในฝรั่งเศสมีความยากลำบากในการหลอมรวมกับสังคมมากกว่าด้วยเหตุผลหลัก 2 อย่าง คือ อย่างแรก ความที่ฝรั่งเศสเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของชาติมุสลิมเหล่านั้น ลึก ๆ จึงมีความรู้สึกต่อต้าน อย่างที่สองที่ทำให้ชาวมุสลิมในฝรั่งเศสรู้สึกแปลกแยกคือ คือแนวทางปฏิบัติทางศาสนาอิสลาม กับ หลักการปกครองของฝรั่งเศส มีความย้อนแย้งกันอยู่

 

ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส ฝรั่งเศสมีแนวคิดเปลี่ยนประเทศสู่รัฐฆราวาส คือแยกศาสนาออกจากรัฐอย่างเด็ดขาด ภายใต้การปกครองนี้ ฝรั่งเศสไม่สนับสนุนให้มีการแสดงออก หรือใช้สัญลักษณ์เชิงศาสนาในที่สาธารณะ แต่ศาสนาอิสลามมีกฎข้อบังคับหลายอย่างที่แทรกอยู่ในกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่ผ้าคลุมหัวฮิญาบ การไว้หนวดเครา หรือการพักงานเพื่อละหมาดระหว่างวัน แนวการปกครองนี้นำไปสู่กฎหมายที่เป็นที่ถกเถียงที่สุด นั่นคือกฎหมายห้ามสวมใส่ผ้าคลุมทุกประเภทที่ปิดบังหน้าในปี 2011 อนุญาตเฉพาะให้สวมใส่ผ้าคลุมโพกหัว ชาวมุสลิมในฝรั่งเศสจำนวนมากก็โต้แย้งว่า พวกเขาถูกลดรอนสิทธิทางศาสนา ซึ่งขัดต่อหลักการสิทธิเสรีภาพที่ฝรั่งเศสยึดมั่น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับกลุ่มผิวขาวในฝรั่งเศสมาถึงจุดที่ตึงเครียดที่สุดเมื่อปี 2015 หลังสำนักพิมพ์ชาร์ลี เอ็บโดมักตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัดบ่อยครั้ง จนนำไปสู่การบุกกราดยิงสำนักพิมพ์ของชาวมุสลิม ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลาย 10 ราย และเหตุก่อการร้ายทั่วกรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน ที่มีทั้งการจับตัวประกัน การใช้ระเบิด และการกราดยิงตามสถานที่สำคัญๆ จนกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงที่สุดของฝรั่งเศส มีคนเสียชีวิตไปมากกว่า 150 คน เหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นทำให้เกิดภาวะการหวาดกลัวอิสลาม หรือ Islamophobia ขึ้นในสังคมฝรั่งเศส

 

ความขัดแย้งกับมุสลิมภายในประเทศ จะส่งผลให้มาครงมีนโยบายปราบปรามมุสลิมสุดโต่งที่รุนแรงขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะหากเขาต้องการชนะการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน ปี 2022 หนึ่งปีหลังประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงได้รับเลือกตั้งในปี 2017 ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ได้รับความนิยมลดลดอย่างฮวบฮาบ

ในปี 2019 เกิดการประท้วงขึ้นทั่วกรุงปารีส ประชาชนไม่พอใจการทำงานของ มาครง ที่ทำให้คนจำนวนมากว่างงาน หรือราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น มาครง ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีนโยบายปราบปรามกลุ่มมุสลิมสุดโต่งที่เบาเกินไป จึงมีการคาดการณ์ว่า เหตุการณ์ฆ่าตัดคอครูชาวฝรั่งเศส จะทำให้มาครงใช้นโยบายปราบปรามมุสลิมที่เด็ดขาดขึ้น เพื่อเรียกคะแนนความนิยมจากประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มขวาจัดกลับคืนมา เพื่อให้เขาชนะการเลือกตั้งได้เป็นสมัยที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับกลุ่มผิวขาวในฝรั่งเศสจึงมีแนวโน้มว่าจะแตกร้าวขึ้นกว่าเดิม

 

"แอร์ นิวซีแลนด์" ออกแคมเปญ “เที่ยวบินสุ่มปลายทาง” กระตุ้นการท่องเที่ยว

คะแนนความน่าเชื่อถือไทยยังอยู่ใน ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)

 

Photo : Asif HASSAN / AFP

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ