“คนรุ่นใหม่” กับการเลือกตั้ง และประชาธิปไตยในสหรัฐฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญที่ฮิลลารี่ คลินตัน แพ้การเลือกตั้ง คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่ออกมาเลือกตั้ง เพราะพวกเขาเบื่อหน่ายการเมือง รวมถึงไม่ชอบใจ ฮิลลารี แต่พอ ทรัมป์ ชนะก็ทำให้คนรุ่นใหม่เข็ด และออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น แม้ว่าจะต้องเจอกับอุปสรรคต่าง ๆ ก็ตาม

“ไบเดน” หาเสียงฟลอริดา จวก “ทรัมป์” ตัวแพร่เชื้อโควิด-ความแตกแยก

รวม “เที่ยวบินไม่ไปไหนเลย” ทางรอดสายการบินทั่วโลกช่วงโควิด-19

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนมากออกมาชุมนุมประท้วง ในวันที่ประชุมพรรคเดโมแครตมีมติให้เลือก ฮิลลารี่ คลินตัน เป็นตัวแทนของพรรคเพื่อขับเคี่ยวกับ โดนัลด์ ทรัมป์ ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 45 แม้คนรุ่นใหม่จะอยากได้ผู้หญิงเป็นประธานาธิบดี แต่หลายคนก็ไม่อยากให้ผู้หญิงคนนั้นเป็น ฮิลลารี

คนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มคนที่มีความคิดหลากหลาย โลกที่ความเหลื่อมล้ำถ่างกว้างขึ้นเรื่อย ๆ แม้แต่ในสังคมที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายใหม่ ๆ ที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่เคยเผชิญ คนรุ่นใหม่จึงคาดหวังว่า นักการเมืองจะพาพวกเขาฝ่าปัญหาและความท้าทายของยุคสมัยนี้ไปได้ แต่พวกเขาก็ต้องผิดหวัง เมื่อพรรคเดโมแครตเลือกฮิลลารี่ คลินตัน เพราะในสายตาของพวกเขา ฮิลลารี่คือนักการเมืองที่คิดแบบเก่า

ความผิดหวังนี้สะท้อนออกมาผ่านตัวเลขของการใช้สิทธิเลือกตั้งของคนรุ่นใหม่ที่ต่ำกว่าคาด และกลายเป็นสาเหตุให้ทรัมป์คว้าชัยชนะเหนือฮิลลารี่ไปได้ โดยทั่วไป เมื่อเทียบกับหลายประเทศ คนรุ่นใหม่ในอเมริกาออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยกว่าคนกลุ่มเดียวกันในสวีเดน เกาหลีใต้และฝรั่งเศส

 

คำวิพากษ์วิจารณ์ที่มักได้ยินกันบ่อย คือ คนรุ่นใหม่ไม่สนใจการเมือง หรือ สนใจแต่เรื่องตัวเองมากเกินกว่าจะมาเสียเวลาเลือกตั้ง แต่ข้อกล่าวหานี้อาจไม่สะท้อนความจริงทั้งหมด

 

ศาสตราจารย์ซันไชน์ ฮิลลิกัส จากมหาวิทยาลัย Duke เปิดเผยผลการศึกษา ว่า ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา คนรุ่นใหม่สนใจการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยคนเจนวายและเจน Z (หรือคนที่มีอายุระหว่าง 13 - 37  ปี) ถึงร้อยละ 81 มีความตั้งใจอยากจะไปเลือกตั้ง เพียงแต่ความตั้งใจนี้ถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคหลายอย่าง อุปสรรคที่สำคัญของการไปใช้สิทธิ์คือ ความไม่สะดวกเนื่องจากการเลือกตั้งสหรัฐไม่ตรงกับวันอาทิตย์ ยังไม่นับถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเนื่องจากคูหาเลือกตั้งไกล และที่สำคัญที่สุดคือ กฎระเบียบและขั้นตอนการลงคะแนนที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีสิทธิ์ออกเสียงเป็นครั้งแรก เช่น Erika Neal นักศึกษาวัย 22 ปี ในรัฐแคลิฟอร์เนียไม่ได้ออกไปใช้สิทธิ์ในคราวที่แล้ว แม้คูหาเลือกตั้งจะห่างจากมหาวิทยาลัยเพียง 45 นาทีเพราะมีตารางเรียนแน่นทั้งวัน  หรือ Angelina Tran นักศึกษาวัย 26 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ขั้นตอนกรอกเอกสารที่ซับซ้อนและวุ่นวาย ทำให้เธอไม่แน่ใจได้เลยว่า สุดท้ายบัตรเลือกตั้งถูกส่งไปที่ไหน แต่อุปสรรคเหล่าอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ยอมเสียสิทธิ์ในการเลือกผู้นำประเทศ หากการเลือกตั้งในคราวนั้นพวกเขามีคนที่อยากเลือก

 

ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ขวัญใจคนรุ่นใหม่จากเดโมแครตไม่ใช่ฮิลลารี่ คลินตัน แต่คือ เบอร์นีย์ แซนเดอร์ คุณปู่วัย 79  ปี ความต่างระหว่างวัยไมใช่ปัญหา เพราะมันถูกเชื่อมด้วยแนวคิดที่ตรงกัน เบอร์นีย์ แซนเดอร์ ในสายตาของเด็กรุ่นใหม่คือ นักการเมืองที่มีหัวคิดแนวปฏิรูป นโยบาลหลายอย่างได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่อย่างล้นหลาม เพราะเขาหันมาพูดเรื่องสภาวะโลกร้อน หนี้กองทุนการศึกษา และประกันสุขภาพ นโยบายเหล่านี้ได้ใจคนรุ่นใหม่เพราะเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำ ปัญหาและความท้าทายที่คนรุ่นใหม่กำลังเผชิญ

 

ขณะที่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้เบอร์นีย์ แซนเดอร์จะแพ้โหวตจากพรรค และ โจ ไบเดน ได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคเดโมเครตเพื่อเข้าไปชิงชัยตำแหน่งกับโดนัลด์ ทรัมป์ แต่ดูเหมือนว่า เดโมเครตได้เรียนรู้และถอดบทเรียนจากคราวที่แล้ว ครั้งนี้โจ ไบเดนจึงให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ จึงเริ่มฟังเสียงคนกลุ่มนี้มากขึ้น ด้านคนรุ่นใหม่เองก็ได้บทเรียนว่า หากพวกเขาเบื่อหน่ายการเมืองที่เป็นอยู่ และหากไม่อยากได้ผู้นำแบบทรัมป์ พวกเขายิ่งต้องไม่หนี แต่ต้องหันมาเปลี่ยนแปลงมันเสียเอง

ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา จึงเห็นการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่อเมริกันในหลายประเด็น ตั้งแต่ LGBT ผู้อพยพ โลกร้อน จนถึงความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ หน่วยวิจัยการมีส่วนร่วมของพลเมืองของสหรัฐฯ ชี้ว่า ในปีนี้ มีคนอายุ 18 ถึง 24 ปี ออกมาเดินขบวนเรียกร้องในประเด็นต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 27 เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่มีเพียงแค่ร้อยละ 5 และเมื่อการเลือกตั้งมาถึง พวกเขาต้องออกไปใช้สิทธิ แม้จะมีข้อระเบียบซับซ้อนเป็นอุปสรรค

 

โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ คาดการณ์ว่า จะมีคนรุ่นใหม่ออกมาใช้สิทธิมากกว่าปี 2016 จำนวน 6.8 ล้านคน ในการเลือกตั้งล่วงหน้าตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเขาต่างโพสต์รูปบนโซเชียลมีเดียและประกาศว่า พวกเขาไปใช้สิทธิมาแล้ว จำนวนคนรุ่นใหม่ที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นหลายล้านคน ถูกคาดการณ์ว่า จะมีผลอย่างมากต่อผลการเลือกตั้งครั้งนี้ที่ไม่ว่าใครจะชนะ การเมืองจะไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ใหญ่อีกต่อไป

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ