เปิด 3 โมเดล คณะกรรมการสมานฉันท์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิด 3 โมเดล คณะกรรมการสมานฉันท์ ด้านส.ส.รัฐบาลขู่ล้มโต๊ะหากถกปฏิรูปสถาบัน //ขณะที่วิปรัฐบาล บรรจุวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หลังวันที่ 12 พ.ย.นี้

กก.สมานฉันท์ ส่อล่มตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เหตุหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย

"เพนกวิน - พริษฐ์" อ้าง มีคำสั่งให้จัดการ ลั่นยอมอุทิศ!

ความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อหาทางออกให้ประเทศ หลังจาก ที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ส่งหนังสือ ถึงสถาบันพระปกเกล้าเพื่อพิจารณาถึง รูปแบบของคณะกรรมการชุดดังกล่าว  รายงานข่าวแจงว่า เบื้องต้นมี 2 - 3 รูปแบบ รูปแบบในโครงสร้างที่ 1 คือ ไม่มี  ส.ส . และส.ว.ร่วมในคณะกรรมการสมานฉันท์ รูปแบบที่ 2 คือ มี ส.ส ., ส.ว. และสัดส่วนคนนอก อย่างละครึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์  และรูปแบบที่ 3 คือ ไม่มีบุคคลภายนอกร่วมในคณะกรรมการสมานฉันท์เลย

ทั้งนี้ ผลเหตุที่ต้องมีโครงสร้างรูปแบบที่ 3  นั้น เนื่องจากส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเห็นตรงกันว่าหากมีบุคคลใดเสนอให้คณะกรรมการสมานฉันท์ เริ่มต้นด้วยการหารือในประเด็นปฏิรูปสถาบัน จะไม่มีการหารือใดๆ ต่อทันที แต่หากหยิบยกเรื่องการเมืองที่มีปัญหาอยู่ เช่น  การแก้ไขรัฐธรรมนูญ  หรืออะไรที่เกี่ยวข้องก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ไม่ได้มีดำริหรือแนวทางอะไรในเรื่องคณะกรรมการฉันท์เพราะต้องการปล่อยให้ดำเนินการโดยอิสระ

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีการเข้าร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์ว่า ถ้ารัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพคงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น เพราะจาก 7 ฝ่าย จะมีเพียง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายค้าน กับฝ่ายนักศึกษาเท่านั้น แต่ตอนนี้ เห็นว่านายชวน และสถาบันพระปกเกล้า กำลังดูโครงสร้างของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น พรรคเพื่อไทย จะขอดูหน้าตาโครงสร้างของคณะกรรมการที่จะเกิดขึ้นก่อนว่าเป็นอย่างไร จึงจะพิจารณาว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวันนี้คู่ขัดแย้งคือนายกรัฐมนตรี กับผู้ชุมนุม ดังนั้นการจะมาคุยกันโดยการมีคณะกรรมการเป็นเรื่องยากที่จะแก้ปัญหาได้ ซึ่งนายกฯ เองก็ทราบปัญหาเรื่องนี้ เนื่องจากข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมก็ชัดเจน

ส่วน การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงมีร่างของภาคประชาชนรออยู่ ซึ่งตนคิดว่าเราควรรอเอาร่างของภาคประชาชนนี้เข้ามาพิจารณาพร้อมกันจะเป็นประโยชน์มากกว่า

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงาน พรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า การตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อหาทางออกให้ประเทศที่ฝ่ายค้านเสนอว่าควรให้ผู้ชุมนุม 2 ฝ่ายมาร่วมวางรูปแบบกับสถาบันพระปกเกล้านั้น

สถาบันพระปกเกล้าคงมีวิธีการในการเสนอรูปแบบ และมองทุกด้าน ทุกฝ่ายให้เข้าร่วมกันจึงขออยากเรียกร้องทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลร่วมกันเปิดเวทีที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้จริง

ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ทุกฝ่ายค่อนข้างเห็นด้วยที่จะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับมาพิจารณาร่วมกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนหรือ "ไอลอว์" คาดว่าน่าจะเสร็จในวันที่ 12 พ.ย.นี้ ซึ่งตามขั้นตอนต้องแจ้งให้วิปทั้ง 3 ฝ่ายรับทราบ คาดว่าประธานรัฐสภาสามารถบรรจุวาระได้หลังวันที่ 12 พ.ย.นี้

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ