ไม่ผ่าน! “สมชัย” ตรวจข้อสอบ “ประชามติไพบูลย์” ให้ 1 คะแนนจากเต็ม 10


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“สมชัย ศรีสุทธิยากร” ตรวจข้อสอบวิชา คำถามประชามติของ “ไพบูลย์ นิติตะวัน” จากเต็ม 10 คะแนนให้ได้แค่ 1 คะแนน ค่าเขียนกระดาษคำตอบ

ดัชนีหุ้นไทย 2 พ.ย.63 ปิดการซื้อขายบวก 7.21 จุด ยืนเหนือระดับ 1,200 จุด

ครั้งแรก! นิวซีแลนด์แต่งตั้งชนพื้นเมืองหญิงเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ

วันที่ 2 พ.ย. 2563 นาย สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่า ตรวจข้อสอบวิชา ระเบียบวิธีวิจัย  ต่อคำถามประชามติ ของ ไพบูลย์ นิติตะวัน

“ท่านเห็นอย่างไร หากรัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด ห้ามไม่ให้มีการจัดชุมนุมทางการเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายชุมนุมสาธารณะ มีการกระทำก้าวล่วงรัฐธรรมนูญมาตรา 6 อันเป็นเหตุให้กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และมีผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่มีผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะจากความขัดแย้งของคนในชาติ และให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนสามารถดำเนินการได้ลุล่วง รัฐบาลจึงจะใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาดห้ามชุมนุมการเมืองดังกล่าวเป็นระยะเวลา 2 ปีนับจากวันออกเสียงประชามติ”

ผลการประเมินความรู้ในด้านการตั้งคำถามวิจัย

1) เริ่มต้น จากคำว่า “เห็นอย่างไร”  ไม่ใช่คำถามประชามติที่นำไปสู่ เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย  เนื่องจากคำถามว่าเห็นอย่างไร  จะนำไปสู่คำตอบที่ต้องอธิบายความ  ไม่ใช่การแสดงจุดยืนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

การแก้ไข  :  ควรแก้ไขเป็น  “ท่านเห็นด้วยหรือไม่”

2) คำถาม มีความยาวมากกว่า 6 บรรทัด (หน้ากระดาษ A4)  ทำให้ผู้อ่านต้องใช้ความสามารถในการจับใจความที่เยิ่นเย้อ และยืดยาว จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าใจเจตนาของการถามที่แท้จริงได้

การแก้ไข  : คำถามประชามติ ควรสั้นกระชับ ตามหลักวิชาการ ควรถามเพียงบรรทัดเดียวหรือไม่เกิน 2 บรรทัด

3) คำถามมีข้อความกำกวม หรือ ข้อความที่เข้าใจยากอยู่ในหลายที่  เช่น คำว่า “มาตรการขั้นเด็ดขาด” ประชาชนจะไม่ทราบความชัดเจนว่าคืออะไร  คำว่า “รัฐธรรมนูญ มาตรา 6”  ประชาชนจะไม่ทราบว่า มีเนื้อหาสาระอย่างไร

การแก้ไข  : ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำกำกวม หรือ คำยากต่างๆ

4) คำถามมีคำถามนำ (Leading Question) ในหลายที่ ตัวอย่างเช่น  คำว่า “เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยต่อสาธารณะ  ช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชน”  ล้วนแล้วแต่เป็นคำถามนำ  ที่นำไปสู่คำตอบในทิศทางที่ผู้ตั้งคำถามต้องการ

การแก้ไข  :  คำถามประชามติ ต้องไม่มีคำถามนำ

5) มีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือข้อมูลที่ไม่เป็นที่ยอมรับร่วมกันว่าเป็นจริง เช่น  “การห้ามชุมนุม จะเป็นการประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชน” ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิด ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าจริงหรือไม่

การแก้ไข :  ไม่ควรมีข้อความที่ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง หรือเป็นผลที่ยังไม่เกิดขึ้น

 สรุป  หากข้อสอบข้อนี้มีคะแนนเต็ม 10 คะแนน  คงให้ได้แค่ 1 คะแนน  ค่าเขียนกระดาษคำตอบ

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ