36ข่าวแห่งปี : ชะตา “การบินไทย” สายการบินแห่งชาติ หลุดจากรัฐวิสาหกิจ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พีพีทีวี นิวมีเดีย คัดเลือก 36 ข่าวแห่งปี 2563 จากข่าว สายการบินแห่งชาติของประเทศ “การบินไทย” แต่สุดท้ายด้วยภาระหนี้สะสมส่งผลให้ การบินไทย หลุดออกจากการเป็นรัฐวิสาหกิจและยื่นศาลล้มละลายกลางเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไทยมีมติให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศอยู่ในขณะนั้น กับสายการบินสแกนดิเนเวียน (SAS) สายการบินร่วมของประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกันเพื่อดำเนินธุรกิจการบริการสายการบินระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท การบินไทย จำกัด ด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท

36ข่าวแห่งปี : โมโตจีพี 2020 ในปีที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิม

36ข่าวแห่งปี : ปฏิบัติการเลือดเย็น 'ผอ.กอล์ฟ' ยิงเด็ก ชิงทอง พลิกชีวิตดำดิ่ง จาก “ครู” สู่ “นักโทษปร...

ครม.เคาะแผนฟื้นฟูการบินไทยเตรียมยื่นศาลล้มละลายกลาง

ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 SAS คืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ตามมติคณะรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยได้ควบรวมกิจการเข้ากับการบินไทย นำมาซึ่ง “สายการบินแห่งชาติ” ตามมติคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

ก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

จุดเริ่มต้นปมเหตุวิกฤตการเงิน

ตามการเปิดเผยของ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ปัญหาการขนาดทุนของการบินไทย เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2551 จากการจัดซื้อเครื่องบิน A340-500 และ A340-600 จำนวน 10 ลำ แต่เมื่อนำมาบินกลับขาดทุนตั้งแต่เที่ยวแรกจนถึงเที่ยวสุดท้าย จนการบินไทยต้องออกหุ้นกู้เป็นครั้งแรก และประสบปัญหาขาดทุนถึง 62,803.49 ล้านบาท รวมทั้งยังเป็นภาระในการดูแลมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกจำนวนมหาศาลที่ส่อไปในทางทุจริต

แต่อานิสงค์ของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน ทำให้ปี 2552 กลับมาทำกำไร แต่ไม่ได้มาจากการดำเนินงาน ทำให้ในปี 2553 การบินไทยเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูกิจการ ประกอบการอานิสงค์ของการท่องเที่ยวที่เติบโต ช่วงเวลาดังกล่าวการบินไทยจึงมีผลประกอบการทั้งขาดทุนสลับกับการทำกำไรมาตลอด

จนกระทั่งปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินหน้ายกเครื่องการบินไทยครั้งใหญ่ ตั้งซูเปอร์บอร์ด ผลักดันแผนฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ชื่อ “ Shrink to Growth” กำหนดแผน 3 ระยะ คือ ปี 2557 มีเป้าหมายลดรายจ่ายลง 4,000 ล้านบาท เพิ่มรายได้ ทำกำไรไตรมาสสุดท้าย ระยะกลางปี 2558-2559 และระยะยาว 5 ปี 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการใช้จ่าย ในช่วงปี 2560-2562 การบินไทยขาดทุนไม่ต่ำกว่า 25,659 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงมาก เช่น ค่าโอทีฝ่ายช่างที่สูงถึง 2,022 ล้านบาท พนักงาน 1 คน ทำโอทีได้ถึง 3,354 ชั่วโมง เฉลี่ย 419 วัน ทั้งที่ 1 ปีมีเพียง 365 วัน ตลอดจนค่าตอบแทนพิเศษอื่นๆ ของผู้บริหารอีกนับแสนบาท ส่งผลให้ตัวเลขขาดทุนสะสมการบินไทยแตะ 3 แสนล้านบาท

ทางสองแพร่ง “การบินไทย”

ปี 2563 วิกฤตโควิด-19 ซ้ำเติม นำไปสู่การหลุดจากรัฐวิสาหกิจ ล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการ

ปี 2563 การบินไทยวิกฤตหนักจากการปิดประเทศ ปิดเส้นทางการบิน อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ซ้ำเติมฐานะทางธุรกิจของการบินไทยให้แย่ลงไปอีก ส่งผลทำให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)  เห็นชอบ ให้บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย โดยจะส่งเรื่องให้ศาลล้มละลายกลาง และพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ด้วยการให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นลงต่ำกว่า 50%

ต่อมา ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่ง รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) 

เหตุผลจาก "พล.อ.ประยุทธ์" เลือกทางที่ 3 ให้การบินไทย

ศาลล้มละลายกลาง รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ การบินไทย

เปิดรายละเอียดคำไต่สวน ฟื้นฟู “การบินไทย” แก้หนี้กว่า 3 แสนล้าน

สู้ทุกทาง ขายปาท่องโก๋ เปิดร้านอาหาร ขายกระเป๋า เปิดยื่นสมัครใจลาออก และประกาศขายเครื่องบิน

หลังจากเข้าสู่กระบวนการของศาล อีกด้านหนึ่งเราจะเห็นการออกมาต่อสู้ของพนักงานการบินไทยเพื่อหารายได้เข้าบริษัท ในช่วงที่เส้นทางการบินยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เต็มรูปแบบ เช่น การขายปาท่องโก๋ เจ้าจำปี การทำกระเป๋ารักษโลก ซึ่งดัดแปลงมาจาก เสื้อชูชีพ-เรือแพ เปิดครัวการบินไทย "อร่อยล้นฟ้า ไม่ต้องบินก็ฟินได้" ดัดแปลงเป็นห้องอาหารที่เหมือนโดยสารอยู่บนเครื่องบิน เป็นต้น

ขณะที่ การลดจำนวนพนักงานก็ยังคงเดินหน้าต่อ ด้วยการขอความร่วมมือจากพนักงานในการเข้าร่วมโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร (Mutual Separation Plan - MSP) โดยมีพนักงานตอบรับเข้าร่วมโครงการจำนวน 4,977 คน รวมถึงการประกาศขายเครื่องบิน 34 ลำ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการขายทรัพย์ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการในอนาคต

พนักงานการบินไทย เข้าโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กรเกือบ 5,000 คน

รักษ์โลก-เพิ่มรายได้ "การบินไทย" เปิดจองกระเป๋าดัดแปลงจากเสื้อชูชีพ-เรือแพ

คำนวณรายได้จาก ปาท่องโก๋ การบินไทย ทำเงิน 10 ล้านบาทต่อเดือนได้จริงหรือ

'การบินไทย' ชี้แจง กรณีประกาศขายเครื่องบิน 34 ลำ

"การบินไทย" ยังคงเป็นภาพจำของสายการบินแห่งชาติสำหรับคนไทย เพียงแต่วันนี้ต้องหันกลับมาลุยแก้ไขปัญหาที่เป็นดินพอกหางหมูมากว่าทศวรรษให้ได้เสียก่อน เพื่อวันหนึ่งจะกลับมากู้คืนชื่อเสียงให้กับประเทศอีกในอนาคต เหมือนกับที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่า

"ยอมรับเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่เป็นหนทางเดียวที่จะสามารถช่วยให้การบินไทยสามารถเดินต่อไปได้ ไม่ให้ถูกล้มละลายและเชื่อว่าเมื่อผ่านกระบวนการฟื้นฟูแล้ว เชื่อว่าจะมีมืออาชีพเข้ามาบริหารงาน จนการบินไทยสามารถกู้คืนชื่อเสียงมาให้กับประเทศได้อีกครั้ง" 

36 ข่าวแห่งปีที่คุณอาจสนใจ:

36ข่าวแห่งปี : ปฏิบัติการเลือดเย็น 'ผอ.กอล์ฟ' ยิงเด็ก ชิงทอง พลิกชีวิตดำดิ่ง จาก “ครู” สู่ “นักโทษประหาร”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ