36ข่าวแห่งปี : พลัง LGBT กับข้อเรียกร้อง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่ยังมีช่องโหว่ไม่เท่าเทียม พ.ร.บ คู่สมรส


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พีพีทีวี นิวมีเดีย คัดเลือก 36 ข่าวแห่งปี 2563 กลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ออกมาแสดงพลังเพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียม โดยเฉพาะประเด็น พ.ร.บ.คู่ชีวิตและ พ.ร.บ.คู่สมรส

ยอมรับว่าตลอดทั้งปีนี้ กลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ออกมาแสดงพลังเพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมกันมากขึ้น เสียงพวกเขาดังขึ้นเรื่อยๆ และดูเหมือนจะยิ่งดังขึ้นไปอีก หลังวันที่ 8 ก.ค.2563 ครม.มีมติเห็นชอบและรับทราบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

36ข่าวแห่งปี: รื้อใต้พรมกระบวนการยุติธรรม 8 ปี “บอส อยู่วิทยา” ยังลอยนวล

36ข่าวแห่งปี : “ไอ้ไข่ฟีเวอร์” ศรัทธาพุ่งแรงในปีวิกฤต

สมรสเท่าเทียม! ครม.ผ่าน "ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต" แต่งงานได้ไม่จำกัดเพศ

จริงอยู่ที่ พ.ร.บ.คู่ชีวิต คือเป้าหมายสำคัญที่จะแสดงถึงความเท่าเทียมในสังคมก่อนหน้านี้ แต่ปรากฏว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต กลับมีช่องโหว่ใหญ่ที่ยังสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำบางอย่างโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ พ.ร.บ คู่สมรส  (ชาย-หญิง)

ทันทีที่ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ผ่าน ครม. โลกออนไลน์ต่างกระหน่ำติดแฮชแท็ก #ไม่เอาพรบคู่ชีวิต ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เป็นการร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมาใหม่ แทนการปรับจาก พ.ร.บ.คู่สมรสเดิมเหมือนกับการแต่งงานระหว่างชาย หญิง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริง

"ไม่เอาพ.ร.บ.คู่ชีวิต" ทวีตร้อน ไม่รับกม. "ส.ส.ก้าวไกล" แถลงยังแบ่งแยก ไม่เท่าเทียม

จุดต่างที่น่าสนใจ ระหว่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ พ.ร.บ คู่สมรส  คือ

1.ชาย-หญิงจดทะเบียนสมรสกันได้กรณีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยามจากพ่อแม่ ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้บุคคลทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะหญิง-หญิง หรือ ชาย-ชาย มีอายุ 18 ปีแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ก่อน

2.การมอบของหมั้น สำหรับคู่สมรสชายหญิง กำหนดให้ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง แต่ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่าย “ผู้หมั้น” มอบให้แก่ “ผู้รับหมั้น” หรือ สามารถแลกเปลี่ยนของหมั้นกันได้

3.การมอบสินสอดให้ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของหญิง ใน ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่ายผู้หมั้นมอบให้แก่บิดามารดาของผู้รับหมั้น หรือ สามารถมอบให้แก่บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายได้

4.การเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐได้ตามกฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส และ สามี-ภริยา ส่วนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ได้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส เช่น สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ การรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม

LGBTQ ถือธงสีรุ้งเดินขบวนหนุน 3 ข้อเรียกร้องกลุ่ม “ราษฎร”

อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของ BEING LGBT IN ASIA: รายงานในบริบทของประเทศไทย การศึกษาทบทวนและวิเคราะห์กฎหมายและสภาพแวดล้อม ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรภาคประชาสังคมและบุคคลที่ เป็น Lesbian Gay Bisexual Transgender (LGBT)  โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) บอกว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีชื่อเสียงในเรื่องการยอมรับ LGBT มากที่สุดในเอเชีย แต่การรับรองทางกฎหมายและการปกป้องสิทธิยังคงห่างไกลจากเสรีภาพอยู่มาก ผู้บัญญัติกฎหมายและผู้ใช้กฎหมายส่วนมากมีภูมิหลังเป็นอนุรักษ์นิยมและเชื่อในบทบาททางเพศและโครงสร้างครอบครัวแบบรักต่างเพศ

และด้วยจุดต่างหลักๆ เหล่านี้เองทำให้มีเกิดการรวมกลุ่มกันการออกมาเคลื่อนไหวในช่วงที่มีการนัดชุมนุมทางการเมืองซึ่งมีหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะการเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองกับ "ราษฎร" โดยเรียกชื่อว่า "ม็อบตุ้งติ้ง 2" จากกลุ่ม LGBTQ ที่นอกเหนือจาก ความเท่าเทียมของ พ.ร.บ.คู่ชีวิตแล้ว ยังมีประเด็นของการถูกคุกคามทางเพศ

กลุ่มแดร็กควีน ที่มองว่าถ้าการเมืองดี รัฐบาลจะเข้าใจคนกลุ่มหลากหลายทางเพศมากขึ้น ช่วยเหลือคนพวกนี้มากขึ้น เพราะพวกเขาก็คือคนในประเทศไทย

กลุ่มเสรีเทยย์พลัส เรียกร้องให้เร่ง แก้ปัญหาการคุกคามทางเพศ ที่ปัจจุบันยังเกิดขึ้นในสังคมชายเป็นใหญ่ และปัญหาการถูกด่าทอ ดูหมิ่น ซึ่งลดคุณค่าความเป็นคน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การออกมาแสดงพลังของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศล้วนมีที่มาจากการถูกบริบททางสังคมไทยที่ดูเหมือนจะยอมรับแต่ลึกลงไปพวกเขากลับยังรู้สึกถูกคุกคามและลดทอนคุณค่าของความเป็นคนอย่างต่อเนื่อง เช่น 

ส.ฟ้าสีรุ้ง เห็นด้วย พ.ร.บ.คู่ชีวิต แม้ให้สิทธิไม่เท่าคู่ชายหญิง

กลุ่มคนข้ามเพศ (TRANSGENDER COMMUNITY) เป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับการถูกประณามและการเหยียดเพศจากสังคมมากที่สุดในเรื่องของการจ้างงาน ความจริงที่ว่าบุคคลข้ามเพศที่เพศเดิมเป็นเพศชายแล้วผ่านการผ่าตัดแปลงเพศให้เป็นหญิงนั้นไม่สามารถ เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อในเอกสารราชการจาก ‘นาย’ เป็น ‘นางสาว’ ได้เนื่องจากกฎหมายมิได้ระบุไว้นั้นสร้างปัญหาให้ กับกลุ่มคนกลุ่มนี้มาก การถูกรังเกียจและเหยียดเพศจากสังคมได้จำกัดโอกาสของบุคคลข้ามเพศในการถูกว่าจ้างอยู่เพียงแค่งานระดับล่างในอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น เสมียน ช่างเสริมสวย พนักงานเสิร์ฟอาหาร และการค้าประเวณี 

ประเด็นเกี่ยวกับ อุปสรรคในการศึกษาของนักเรียนที่เป็น LGBT สถาบันการศึกษาไม่ได้มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่ปกป้องนักเรียนกลุ่ม LGBTจากการถูกรังแกและข่มเหงที่มีเหตุผลมาจากวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่าง ตั้งแต่การข่มเหงทางวาจา เช่น การล้อเลียน จนถึงการทำร้ายร่างกาย เช่น การข่มขืน เป็นต้น 

การนิ่งเฉยและอดทนของพลัง LGBT ตลอดจนกลุ่มหลากหลายทางเพศทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น LGBTQ หรือ TRANSGENDER ฯลฯ ที่ผ่านมาพวกเขาอาจอยู่ในวงเล็กๆ อยู่ในมุมเล็กๆ ของสังคม แต่ในปี 2563 ต้องยอมรับว่าพวก "เสียงของพวกเขาดังขึ้นมากกว่าอดีตที่ผ่านมาหลายเท่าตัว"

กองทัพไต้หวันจัดงานสมรสให้คู่รัก LGBT เป็นครั้งแรก

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ