36ข่าวแห่งปี : โควิด-19 พ่นพิษ หลายกิจการไปต่อไม่ไหว “ปิดกิจการ – เลิกจ้าง”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พีพีทีวี นิวมีเดีย คัดเลือก 36 ข่าวแห่งปี 2563 โควิด-19 พ่นพิษ หลายกิจการไปต่อไม่ไหว “ปิดกิจการ – เลิกจ้าง” ภาพลูกจ้างตกงานแบบฟ้าผ่ากอดคอร้องไห้ โรงงานแล้วโรงงานเล่า สะท้อนให้เห็นว่า พิษของโควิด-19 สะเทือนถึงปากท้องความเป็นอยู่ของแรงงานและครอบครัวนับแสนชีวิต

ตลอดระะเวลาเกือบ 9 เดือน ที่โควิด-19 ยังคงอยู่ เราได้เห็นภาพของการเลิกจ้าง ปิดกิจการ แบบฟ้าผ่า แทบจะทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงเดืือน มิถุนายน หลายโรงงานไร้ยอดคำสั่งซื้อ จากผลพวงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงัดลง ประเทศที่มีกำลังแรงงานในภาคการผลิตเพื่อส่งออก ภาคการบริการและท่องเที่ยวจำนวนมากแบบไทย สิ่งที่ทำได้อันดับแรกคือ "เลิกจ้าง ปลดพนักงาน"

36ข่าวแห่งปี พิษโควิด-19 ป่วนเศรษฐกิจโลก

36ข่าวแห่งปี : เคอร์ฟิว ล็อกดาวน์ โควิด-19 หยุดโลก ไทยอยู่ในพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้านวิกฤตก่อเกิดวิกฤต!!

ช็อก! โรงงานชุดชั้นใน แบรนด์ดัง ปลดพนักงานกว่า 800 ชีวิต ไม่แจ้งล่วงหน้า

เสียงสะท้อน ‘คนตกงาน’ ถูกเลิกจ้างเมื่อวัย 50 ปี

กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน พบว่า มีสถานประกอบกิจการที่ใช้มาตรา 75 ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 หรือขอหยุดกิจการทั้งหมด หรือปิดกิจการบางส่วนช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น โดยช่วงตั้งแต่ 1-21 มิถุนายน 2563 ยอดรวมทั้งหมด 1,310 แห่ง จำนวนแรงงานถูกเลิกจ้างกว่า 319,824 คน โดย 5 อันดับแรกที่ยื่นขอปิดกิจการในเดือนมิถุนายน คือ1.การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์-เครื่องยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์โลหะอื่น ๆ

2. บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ

3.การขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์

4.การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม

5.การให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น กิจกรรมความบันเทิง

งานวิจัย ทีดีอาร์ไอ โดย ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ กล่าวถึง ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อแรงงานตามประเภทอุตสาหกรรมในภาพรวมโดยการเทียบกับปีก่อนหน้าในไตรมาส 2 พบว่า ภาพรวมของตลาดแรงงานมหภาคซึ่งมีการจ้างงาน 37.03 ล้านคน ตลาดแรงงานยังอยู่ท่ามกลางมรสุมการระบาดของโควิด-19 คือ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งมีการจ้างงานมากที่สุดแต่ก็ถูกกระทบมากเช่นกัน คิดเป็นการจ้างงานที่หายไปเทียบปีก่อนหน้าประมาณ 648,790 คน (สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2562)

โรงแรมทยอยปิดกิจการ “เหตุขาดทุนสะสม - ผลกระทบโควิด-19”

สถานการณ์แรงงานยังคงมีผลรุนแรง ตราบใดที่ฟันเฟื่องการผลิตยังเดินได้ไม่เต็มที่นัก

งานวิจัย ทีดีอาร์ไอ โดย ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ยังกล่าวด้วยว่า ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อตลาดแรงงานทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งไตรมาส 1 ปี 2563 ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบการมีงานทำลดลง 28,000 คน (0.7%) และความรุนแรงของผลกระทบเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2  การมีงานทำลดลงถึง 71,000 คน (1.9%)

และหลังจากเริ่มมีการระบาดของโควิด-19 ราวๆ 6 เดือน พบว่า มีผู้ว่างงานในไตรมาส 2 ของปี 2563 สูงขึ้นเป็น 0.74 ล้านคน คิดเป็นอัตราว่างงาน 2% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ถึง 88.9%

ผลกระทบการระบาดโควิด-19 ไม่เพียงแต่ทำให้แรงงานตกงานเท่านั้น ยังก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงกว่า คือ มีแรงงานที่ทำงานอยู่ไม่ถึง 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จนถึงน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นถึง 14 ล้านคน และถ้าเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2562 พบว่าแรงงานทำงานต่ำระดับเหล่านี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 4.12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นถึง 41.7% ของช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลกระทบต่อรายได้ของแรงงานต้องลดลงเป็นอย่างมากอันเนื่องจากไม่สามารถทำงานได้เต็มที่

ดังนั้นแล้ว ข้อควรห่วงใยคือ ผู้ที่มีงานประจำแต่ไม่ได้ทำงานซึ่งถือว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงตกงานมากที่สุดมีจำนวนถึง 2.52 ล้านคน และเมื่อรวมกับผู้ว่างงานจริงในไตรมาส 2 อีก 0.746 ล้านคน เป็น 3.266 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในข่ายว่างงานจำนวนสูงสุดที่เป็นไปได้ คิดเป็น 8.55% ของกำลังแรงงาน ซึ่งต้องใช้นโยบายในการดูแลสถานประกอบการให้สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งถ้ารัฐบาลดำเนินการได้ดี ไม่มีการปิดกิจการหรือปรับลดคนงาน จะทำให้คนไม่ได้ทำงานกับคนว่างงานลดต่ำลงจาก 3.25 ล้านคน แต่ก็คงเป็นไปได้ยาก

ก.แรงงานติดตามสถานการณ์เลิกจ้าง หวั่นคนวิตก เหตุบางแห่งไม่ได้ปิดกิจการตามที่เป็นข่าว

ทางออกของประเทศไทยคือ

งานวิจัย ทีดีอาร์ไอของ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ระบุด้วยว่า ต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศด้วยการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน การบริโภคของภาคเอกชน และที่สำคัญที่สุดคือ ฟื้นฟูธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ซึ่งขณะนี้เริ่มส่งออกได้บ้างแล้วในกลุ่มสินค้าเกษตร เป็นต้น และผ่านตลาดที่มีข้อตกลงกันเป็นพิเศษ ในระยะแรก ถ้าทำได้เช่นนี้ การจ้างงานของอุตสาหกรรมส่งออกจะเริ่มฟื้นตัวและสามารถชะลอการปลดคนงาน และ/หรือเพิ่มชั่วโมงทำงานให้กับแรงงานได้มากขึ้น

ส่วนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และลดการตกงานของบัณฑิตจบใหม่รวมถึงคนที่ตกงาน การผ่อนผันมาตรการต่างๆ โดย ศบค. ให้กิจการบางประเภทเปิดดำเนินการได้ จะเป็นแหล่งจ้างงานให้คนกลุ่มนี้ แต่กิจการต้องได้รับมาตรการฟื้นฟูของรัฐที่เหมาะสม ทำให้ธุรกิจเข้มแข็งขึ้น

“ปัญหาการว่างงานจะยังคงรุนแรงอยู่หรือไม่ในไตรมาส 3 และ 4 ขึ้นกับนโยบายความมั่นคงทางสุขภาพซึ่งดูแลโดย ศบค. โดยชั่งน้ำหนักนโยบายทางเศรษฐกิจ ถ้ายังให้น้ำหนักกับความมั่นคงทางสุขภาพ (อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและลามต่อมายังการตลาดแรงงานให้สามารถฟื้นตัวได้ช้าลงมากขึ้นเช่นกัน”

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ