พ่อค้า-แม่ค้า ผวาโควิดสมุทรสาคร แห่ถาม “ที่มากุ้ง” ก่อนซื้อ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากข่าวพบแรงงานเมียนมาในตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร ติดโควิด-19 ทำให้พ่อค้า-แม่ค้า และ ผู้บริโภค เริ่มกังวลเรื่องการกินกุ้ง ว่า สามารถทำได้หรือไม่ โดยพ่อค้า-แม่ค้าหลายคน เวลาไปซื้อกุ้งที่ตลาดจะถามคนขายว่า เป็นกุ้งที่มาจากที่ไหน ใช่ ตลาดมหาชัย หรือไม่

สภาอุตฯ ซัด รบ.ล้มเหลว สกัดคนลักลอบเข้าเมือง คาดสมุทรสาคร เสียหายพันล้าน/วัน

สั่งทูตพาณิชย์ เร่งแจงประเทศนำเข้าอาหารทะเล ย้ำ "อาหารทะเลไทยปลอดภัยจากโควิด-19"

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร้านขายอาหารตามสั่งย่านบางลำภูร้าน เป็นร้านต้มยำมันกุ้งชื่อดัง วีรวิทชญ์ ระพีร์พุฒิเมธ เจ้าของร้าน ยอมรับว่า กังวลเรื่องการนำกุ้งมาประกอบอาหาร ตอนนี้ทำได้เพียงเวลาไปที่ตลอด จะถามพ่อค้าคนกลางว่า รับกุ้งต่อมาจากที่ไหน อย่างวัตถุดิบวันนี้ ที่ได้มา พ่อค้าคนกลางยืนยันว่า เป็นกุ้งจากจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนราคาที่ซื้อมายังเป็นราคาตามปกติ โดยความกังวลเรื่องที่มาของกุ้งไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเองคนเดียว เพราะลูกค้าที่ร้านหลายคนก็จะถามเหมือนกันว่าได้อาหารทะเลมาจากแหล่งใด ส่วนตัวเข้าใจว่าทุกคนกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ขณะที่ส่วนร้านอาหารที่เป็นบุฟเฟ่ต์ หลายร้านกังวลว่า ข่าวการพบแรงงานที่ตลาดกุ้งติดโควิด-19 จะทำให้ยอดการขายอาหารทะเลลดลง เช่น ร้านหมูกะทะริมน้ำ ย่านปิ่นเกล้า เจ้าของร้านบอกว่า ตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 ต้นปี ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ลูกค้าลดลง เพิ่งจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นบ้าง แต่ก็มาเจอกับข่าวการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ในวงการอาหารทะเล ตอนนี้กังวลมากว่าจะทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าต้นปี

ด้านร้าน มังกรซีฟู้ดส์ ย่านห้วยขวาง ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว PPTV ว่า ตามปกติคืนวันอาทิตย์ (เมื่อวานนี้) ร้านจะมีลูกค้าเต็มร้าน แต่หลังมีข่าวโควิด –19 แพร่ระบาดที่ ตลาดกุ้ง ในจ.สมุทรสาคร ทำให้ลูกค้าหายไปจำนวนมาก ซึ่งตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 ต้นปี ร้านได้รับกลยุทธ์ไลฟ์ขายกุ้งในเฟซบุ๊ก เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งช่วงนี้นอกจากตอบคำถามในไลฟ์เรื่องราคาและน้ำหนักของกุ้ง ยังต้องคอยย้ำบอกลูกค้าตลอดว่ากุ้งที่ร้านไม่ได้รับมาจากตลาดมหาชัย

สำหรับข่าวการติดเชื้อโควิดในแรงงานตลาดกลางกุ้ง ทำให้ถูกตั้งคำถามว่า ยังสามารถกินกุ้งได้หรือไม่ ประเด็นนี้มีคำอธิบายจาก ศาสตรจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า ยังสามารถกินกุ้งได้ตามปกติ แต่จะต้องปรุงให้สุกก่อน เพราะ ความร้อนจะทำลายไวรัสได้  ศาสตรจารย์ นายแพทย์ ยง ระบุอีกว่า ตามข้อมูลทางการแพทย์ ถ้าน้ำเดือดอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียล ไวรัสจะถูกทำลายทันที  แต่หาก น้ำอุณภูมิ (หรือประมาณ 56 องศาเซลเซียล) ควรต้มนาน ครึ่งชั่วโมงก่อนกิน [MOS]

ขณะที่ล่าสุดไม่ได้กระทบเพียงแค่ ตลาดค้ากุ้ง เพราะ มีคำสั่งจากองค์การสะพานปลา สั่งปิด ให้งดการให้บริการสะพานปลาสมุทรสาคร และ สะพานปลาสมุทรปราการ ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (20 ธ.ค.) ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย นอกจากนี้ นายมณเฑียร อินทร์น้อย ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา ยังสั่งการให้ สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงทุกแห่ง เข้มงวดมาตรการป้องกันโควิด-19

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ