“จระเข้สายพันธ์ุไทย” สุดหายาก อวดโฉมหน้ากล้องอุทยานฯแก่งกระจาน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อวดโฉม จระเข้สายพันธ์ุไทยดั้งเดิม ที่กำลังใกล้จะสูญพันธ์ พบในบริเวณเพชรบุรี คาดมีมากกว่า 1 ตัว

ปิดไม่มีกำหนด ลานกางเต็นท์อุทยานฯเขาใหญ่ หลังช้างบุกกระทืบนักท่องเที่ยว

ช่วยแมวท้องแก่ ติดอยู่ในหัวหมี

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2564 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โพสต์ภาพภาพให้เห็นจระเข้สายพันธ์ุไทยดั้งเดิม สัตว์ป่าที่หายากในธรรมชาติ และใกล้จะสูญพันธ์ โดยพบที่บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี คาดว่ามากกว่า 1 ตัว

“ในวินาที่ที่เปิดกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า เจอสัตว์ป่าที่หายากมากในธรรมชาติและกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ คือ จระเข้สายพันธ์ไทยดั้งเดิม ในต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เหนือบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ยืนยันสถานะภาพ ยังคงอยู่ได้ ไม่ได้พบภาพใหม่มานานและยืนยันได้มากกว่าหนึ่งตัว ที่บันทึกภาพได้ จากที่เฝ้าติดตามมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

จระเข้น้ำจืด, จระเข้บึง, จระเข้สยาม หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย  (Crocodylus siamensis) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม กาลีมันตัน ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (3–4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20–48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68-85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว

โดยปกติจระเข้น้ำจืดจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว แต่ในต่างประเทศยังคงพบอยู่เช่นที่ทะเลสาบเขมร ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะทิวเขาพนมกระวาน ซึ่งช่วงแรกค้นพบเพียง 3 ตัว จนนำไปสู่การค้นพบจระเข้นับร้อยตัวที่อาศัยโดยไม่พึ่งพาอาศัยมนุษย์ แต่ที่นี่ก็ประสบปัญหาการจับจระเข้ไปขายฟาร์มจำนวนมาก[2] สถานะในอนุสัญญาของไซเตสได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1)

ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไปด้วยจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ