กรมควบคุมโรค ชี้ยังไม่พบ “ไวรัสชิคุนกุนยา” กลายพันธุ์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เร่งประสานกรมอุทยานแห่งชาติฯ หลังพบ “ไวรัสชิคุนกุนยา” ในลิงแสม

จากกรณีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตรวจพบเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาในลิงแสม ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่เพราะก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยไม่เคยพบเชื้อในลิงมาก่อนนั้น นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่าเนื่องจากไม่มีรายงานการกลายพันธุ์ที่มีนัยสำคัญ กล่าวคือยังไม่มีรายงานว่าเชื้อไวรัส มีความรุนแรงมากขึ้นหรือมีการดื้อยา จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก โดยล่าสุดนั้น กรมควบคุมโรค ได้ประสานงานร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ในการตรวจวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป

 

นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค

 

อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศให้โรค “ไข้ปวดข้อยุงลาย” หรือ “โรคชิคุนกุนยา” เป็นโรคติดต่อและโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2523 โรคนี้มีระยะฟักตัวโดยทั่วไป ประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงฉับพลัน มีผื่นแดงตามร่างกาย ตาแดง ผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก โดยอาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก

ทั้งนี้ ในทวีปเอเซียการแพร่เชื้อส่วนใหญ่เป็นแบบ “คน-ยุง-คน” โดยมียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญ ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคนั้น เป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย มีรายงานจากประเทศต่างๆ โดยโรคนี้จะพบมากในฤดูฝนเมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้น และมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น สำหรับในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรค 7 ครั้ง ในปี 2531 ที่สุรินทร์ ปี 2534 ขอนแก่น และปราจีนบุรี ปี 2536 ที่หวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย และปี 2551 ที่นราธิวาส ขณะที่สถานการณ์ล่าสุด จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 16 ก.พ. 2559 พบผู้ป่วย 4 ราย ใน 3 จังหวัดภาคตอนใต้ของประเทศไทย

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ