แรงงานไทยหนี้สูงสุดรอบ 8 ปี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ปัจจุบันแรงงานไทยมีหนี้สินต่อครัวเรือน 119,000 บาท สูงสุดในรอบ 8 ปี โดยผู้ใช้แรงงานหวังให้ค่าจ้างเพิ่มเป็น 357 บาทต่อวัน ขณะที่ผู้ประกอบการระบุเฉลี่ยควรอยู่ที่ 311 บาท

ในการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ เรื่อง สถานการณ์แรงงานไทย ในทัศนะของแรงงานไทย กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท นายธนวรรธน์  พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุ สถานะด้านเศรษฐกิจของผู้ใช้แรงงานแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552  เนื่องจากผู้ใช้แรงงานมีภาระหนี้สินต่อครัวเรือนมากถึง 119,000 บาท สูงที่สุดในรอบ 8 ปี  โดยเป็นหนี้นอกระบบ ร้อยละ 60.62 และเป็นหนี้ในระบบ ร้อยละ 39.38         

จากภาระหนี้ที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 95.7 เห็นว่าควรปรับขึ้นค่าแรง ขณะที่ร้อยละ 60.6 เสนอให้ปรับขึ้นตามภาวะค่าครองชีพ  และ ร้อยละ 26.8 เห็นว่า ควรปรับขึ้นทุกปี  ทั้งนี้ ค่าแรงขึ้นต่ำควร ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 356.76 บาทจากปัจจุบัน 300  บาท         

ส่วนผลสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการค้าและภาคเกษตร พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.4  ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะสภาพธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว  โดยนักธุรกิจคาดว่า เศรษฐกิจจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 และยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง         

อย่างไรก็ตาม การปรับค่าจ้างควรแยกปรับตามความเหมาะสม แต่ละพื้นที่ โดยผู้ประกอบการขนาดเล็กเห็นว่า ควรปรับมาอยู่ที่ 306 บาท  ธุรกิจขนาดกลาง อยู่ที่ 310  บาท  ธุรกิจขนาดใหญ่อยู่ที่ 314 บาท  หรือโดยเฉลี่ยควรอยู่ที่ประมาณ 311 บาท

สำหรับการใช้จ่ายในวันแรงงาน นายธนวรรธน์  คาดว่า จะมีเงินสะพัดประมาณ 2,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 2.73

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ