โครงการสร้าง “ด็อกเตอร์” อัพเกรดอาจารย์ สู่ผู้สอนหลักสูตรพิเศษ (คลิป)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“หลักสูตรพิเศษ” ที่เป็นเบื้องหลังของเหตุโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพราะเป็นโครงการที่มีรายได้สูง เปิดสอนภาคพิเศษ และมีในเกือบทุกมหาวิทยาลัย และแน่นอนว่า หลักสูตรพิเศษพวกนี้ เน้นไปที่การสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งผู้สอนต้องจบปริญญาเอก ต้องมีสถานะเป็น “ด็อกเตอร์” ทำให้พบว่า มีเส้นทางสู่การเป็น “ด็อกเตอร์” บางเส้นทางที่น่าสงสัย

 

วันนี้ (20 พ.ค. 59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนึ่งในปมสังหาร ซึ่ง ดร.วันชัย เข้ายิง ดร.พิชัย และ ดร.ณัฐพล ณ สถานที่สอบวิทยานิพนธ์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร คือ ปมที่เกี่ยวกับเรื่อง “วุฒิการศึกษา” ซึ่งมีข้อมูลว่า ดร.วัชัย ร้องเรียนว่า สภามหาวิทยาลัย ว่าวุฒฺปริญญาเอกที่ได้มาจากประเทศฟิลิปปินส์ ไม่อยู่ในมาตรฐานที่รับรอง และเป็นหนึ่งในปมความขัดแย้ง เพราะอาจารย์ทุกคน ที่จะเข้าสอนในหลักสูตรพิเศษ ระดับปริญญาโท ต้องมีวุฒิการศึกษา “ปริญญาเอก”

ทีมข่าว PPTV พยายามเสาะหา อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อมูลที่สำคัญมากๆ เกี่ยวกับการได้ “ด็อกเตอร์” มาจากต่างประเทศ ของอาจารย์จำนวนมากในประเทศไทย

ข้อมูลที่ได้มา ไม่สามารถเปิดเผยแหล่งที่มาได้ เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่ในวงการอุดมศึกษาของไทย

ข้อมูลระบุว่า ด็อกเตอร์ เหล่านี้ เริ่มมีที่มาจาก “โครงการ” ที่จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยหลัก ซึ่งมหาวิทยาลัยชื่อดัง จะจับมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ส่งนักศึกษาไปเรียนต่อ ในระดับ “ปริญญาเอก” บางส่วนเก็บเงิน แต่บางส่วน ขอทุนจากรัฐบาล

ดูด้านท้ายของภาพนี้ก่อน จะเห็นว่า “ปริญญาเอก” มีความสำคัญไหนสำหรับ อาชีพ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพราะถ้าเป็นอาจารย์ที่จบแค่ระดับปริญญาโท จะไม่สามารถสอนในหลักสูตรพิเศษระดับปริญญาโทได้ และไม่สามารถเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ได้ ซึ่งหากทำได้ จะมีรายได้สูงขึ้นมาก เพราะค่าสอนต่างกันมาก และมีรายได้ทางอื่นต่างกันมาก

เมื่อไปเรียนในต่างประเทศ  ส่วนใหญ่ จะไปจริง แต่ไปเรียนยังไงป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่สำคัญอาจไปเป็นผู้ช่วยวิจัย นักเรียนแลกเปลี่ยน หรือ ผู้ช่วยอาจารย์มากกว่า แต่สุดท้ายแล้ว “ไม่ได้เป็นนักศึกษา” ไม่มีรหัสนักศึกษา ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน ดังนั้น จึงไม่มีสถานภาพนักศึกษา แต่ก็น่าแปลกใจว่า เมื่อถึงเวลา กลับได้ใบปริญญาบัตร ได้เอกสารใบระเบียนแสดงผลการเรียน  และได้เป็น ด็อกเตอร์ ในที่สุด 

 

ประเด็นนี้ จึงมีที่มาของ ด็อกเตอร์ แบบนี้ 2 รูปแบบ คือ หนึ่งไปเรียนในมหาวิทยาลัย หรือ หลักสูตร ที่สำนักงานคณะกรมการข้าราชการพลเรือน หรือ กพ.ไม่ได้รับรอง กลุ่มนี้ กลับมายังใช้วุฒิที่มีไปทำงานในมหวิทยาลัยได้ แม้ กพ.จะไม่รับรอง

 

กลุ่มที่สอง คือกลุ่มใหญ่ กลุ่มนี้  ไม่ได้ไปเรียนจริง แต่ไปจริง ไปทำหน้าที่อื่น จนครบเวลา จนได้ปริญญาเอก แต่กลุ่มนี้ ถ้าสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาจะตรวจสอบ สามารถทำได้ เพราะเมื่อตรวจสอบไปที่มหาวิทยาลัยต้นสังกัด จะพบว่า “ไม่มีรหัสนักศึกษา”

 

นี่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อการได้เข้าบรรจุเป็นอาจารย์ใน “หลักสูตรพิเศษ” มีรายได้สูงล้น ... แต่จะเข้าไปสอนได้ ต้องมี “ด็อกเตอร์” นำหน้าชื่อ ... จึงเป็นที่มาของ กระบวนการสร้าง “ด็อกเตอร์”  และที่สำคัญ เมื่อเกิดความขัดแย้ง ก็กลายเป็นช่องทาง ในการ “ร้องเรียน” ต่อกันได้ด้วย

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ