มหิดล นำร่องทดลองอุปกรณ์ตรวจจับความง่วง ในกลุ่มพนักงานขับรถขนส่งโลจิสติกส์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว "Alertz" อุปกรณ์ตรวจจับความง่วงด้วยคลื่นสมอง นำร่องทดลองใช้ในกลุ่มขนส่งโลจิสติกส์ หวังลดอุบัติเหตุทางถนนจากการหลับใน

วันนี้ (26 พ.ค.) นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยมีสถิติอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โดยนอกจากสาเหตุเมาแล้วขับแล้ว การหลับในก็ถือเป็นปัจจัยรองที่ทำให้เกิดความสูญเสีย คิดเป็นมูลค่ากว่า 4 แสนเหรียญสหรัฐต่อปีและมีแนวโน้มสูงขึ้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล จึงพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยเตือนหลับในขณะขับรถ ด้วยสัญญาณสมอง หรือ “Alertz” ซึ่งอาศัยการตรวจจับคลื่นสมองก่อนเกิดอาการหลับใน เพื่อแจ้งเตือนคนขับล่วงหน้าก่อนเกิดอุบัติเหตุ

ด้าน ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า เครื่องแจ้งเตือนการหลับในดังกล่าว เป็นผลงานวิจัยของกลุ่มนักศึกษาจากศูนย์ปฏิบัติการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface Center) ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ 2 ปี จากเทคโนโลยี Brain-Computer Interface โดยเครื่องจะอาศัยการตรวจจับคลื่นสัญญาณสมอง หากคลื่นสมองมีความถี่ต่ำลงจากปกติ บ่งบอกถึงอาการเริ่มง่วง ก็จะทำการแจ้งเตือนผู้ขับขี่ด้วยการสั่น เพื่อป้องกันการหลับในและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีตรวจวัดการหลับในอื่นๆ ที่ตรวจแบบโดยอ้อม เช่น ดูการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือพฤติกรรมการขับขี่

“คลื่นสมองของมนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็นช่วงคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน แต่ละช่วงความถี่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมต่างๆ ของร่างกาย เช่น ช่วงคลื่นความถี่สูงจะบ่งบอกว่าร่างกายอยู่ในสภาวะตื่นตัวหรือกำลังเครียด ช่วงคลื่นความถี่ต่ำจะบอกถึงสภาวะร่างกายในขณะที่นิ่งสงบหรือนอนหลับ” 

โดยเครื่องนี้จะเน้นการใช้งานในกลุ่มการขนส่งหรือโลจิสติกส์ก่อน ซึ่งขณะนี้ได้การพัฒนาไปสู่ระดับอุตสาหกรรม โดยนักวิจัยในทีมได้ร่วมกับบริษัท ทีมพรีซิชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งบริษัท ไฟเนส เมด ดีไซน์ จำกัด เพื่อผลิตนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ และได้ติดต่อกับทางบริษัทขนส่ง รถบรรทุก ขนส่งน้ำมัน รถโดยสารสาธารณะของเอกชน ซึ่งมีหลายรายได้สนใจซื้อไปทดลองใช้ เพื่อดูว่าสามารถลดอุบัติเหตุได้จริงหรือไม่ เพราะเครื่องสามารถเชื่อมต่อจีพีเอสได้ ทำให้บริษัทสามารถเก็บข้อมูลการขับขี่ ขณะที่ตัวเครื่องเองก็สามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนกล่องดำของเครื่องบิน และสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือผ่านสายยูเอสบีและบลูธูทได้ โดยจะมีแอปพลิเคชั่นรองรับการใช้งานบนมือถือ ซึ่งจะสามารถระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ