พบเอกสารผลตรวจสารปนเปื้อนห้วยน้ำคุ คพ. 2 ฉบับ แย้งกันเอง (คลิป)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทีมข่าว PPTV ค้นพบเอกสารผลตรวจภายในและนอกโรงงานบริษัทแวกซ์ กาเบจ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จากกรมควบคุมมลพิษ 2 ฉบับ ในเวลาห่างกัน 2 เดือน มีเนื้อความขัดแย้งกัน ทำให้โรงงานรีไซเคิลแห่งนี้รอดพ้นจากการถูกดำเนินการตามกฎหมาย เพราะเอกสารฉบับที่ 2 ที่ส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง กลับบอกว่า พิสูจน์ไม่ได้ว่า น้ำที่ปนเปื้อนมีทิศทางการไหลมาจากโรงงาน 

การรวมตัวของชาวบ้าน ตำบลน้ำพุ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ตามนัดหมายพบกับอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2559 เพื่อเรียกร้องให้ปิดโรงงาน บริษัทแวกซ์ กาเบจ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ โดยพวกเขาอ้เงอิงหลักฐานผลตรวจคุณภาพดิและน้ำจากกรมควบคุมมลพิษ



เอกสารที่ถูกอ้างอิง เป็นเอกสารที่กรมควบุมมลพิษส่งถึงกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อ 4 สิงหาคม 2559 ข้อ 2.1 ระบุว่า ทิศทางการไหลของน้ำจากบ่อในโรงาน ไหลไปยังแห่งน้ำธรรมชาติ และบ่อน้ำใช้ของประชาชนอย่างชัดเจน และผลตรวจพบการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ระเหยง่าย คือ ซิส-1 2 ไดคลอโรเอทธิลีน สาร 2 ตัวนี้พบทั้งจากบ่อสังเกตการณ์ในโรงงาน และจากบ่อน้ำใช้ของประชาชน และยังพบ เบนซีน ตะกั่วและแมงกานีสในบ่อภายในโรงงาน รวมทั้งพบสารนิกเกิลเกินมาตรฐานในบ่อน้ำใช้ของประชาชน พร้อมสรุปว่า มีการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากโรงงานออกสู่ภายนอกด้วย ชาวบ้านจึงเรียกร้องให้ส่งปิดโรงงานทันที แต่ในวันที่ 8 พฤศจิกายน อธิบดีกรมโรงานอุตสาหกรรม กลับบอกว่า ไม่สามารถปิดโรงงานได้

เพราะเอกสารอีกฉบับหนึ่ง ที่กรมโรงงานฯ ได้รับมาจากกรมควบคุมมลพิษ หน่วยงานเดียวกันกับที่ออกเอกสาร 4 สิงหาคม ครั้งนี้ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2559  กลับมีเนื้อหาที่ต่างออกไป คือ ไม่ยืนยันว่า การปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ และบ่อน้ำใช้ของประชาชน มีที่มาจากโรงงานรีไซเคิลแห่งนี้

เอกสาร 2 ฉบับ ตรวจโรงงานแห่งเดียวกัน ออกมาภายในเวลาต่างกันราว 2 เดือน กลับมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นหลักฐานอ้างอิง ที่ทำให้โรงงานแห่งนี้ยังคงมีสถานะใบอนุญาตเช่นเดิม แม้ว่าทั้งแห่งน้ำใช้ น้ำใต้ดิน จะถูกตรวจพบว่าปนเปื้อนสารพิษหลายชนิดก็ตาม



แต่แม้จะยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับโรงงานได้ กฎหมายก็ระบุชัดเจนว่า หากพบการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน หรือเกินกว่าที่มีใบอนุญาตในโรงงาน ก็เป็นหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องแก้ไข  ส่วนการปนเปื้อน ในสิ่งแวดล้อม ก็เป็นหน้าที่แก้ไขโดยกรมควบคุมมลพิษ เพราะต้องแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

ยิ่งน่าสนใจเมื่อพบว่า ผลตรวจพบสารเคมีในลักษณะเดียวกันนี้ มีมาตลอด อย่างน้อยที่ทีมข่าว PPTV พบเอกสารยืนยัน คือ ตั้งแต่ ปี 2557 และ 2558 ที่สำคัญ สารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ตรวจพบมา 3 ปี ซ้อน ไม่ใช่สารที่พบได้ในธรรมชาติด้วย

ภูมิภาค แพรม้วน และวัชรากร มะลิทอง ถ่ายภาพ
อธิชา สุขจิตสำราญ PPTV รายงาน

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ