ข้อควรรู้ทีวีดิจิตอลที่คุณอาจยังไม่ทราบ!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ข้อควรรู้ทีวีดิจิตอล

ข้อควรรู้ทีวีดิจิตอล

ทีวีดิจิตอล สามารถใช้เสาอากาศแบบเดิมที่ใช้กับ 3,5,7,9,11,NBT,TPBS เหมือนในปัจจุบันได้ถ้าหากเสาก้างปลาหรือหนวดกุ้งเดิมนั้นๆสามารถรองรับสัญญาณย่านความถี่ UHF ได้ (ให้สังเกตที่ label ที่กล่องหรือตัวผลิตภัณฑ์ หรือถ้าง่ายๆให้สังเกตว่าสามารถรับช่อง Thai PBS ซึ่งออกอากาศย่านความถี่ UHF ได้หรือไม่ )

 

- เสาอากาศ สำหรับทีวีดิจิตอล สามารถใช้แบบ ในบ้าน หรือ นอกบ้านก็ได้ แต่ การรับสัญญาณภายในบ้าน อาจกระทำได้ถ้ารับในเขตตัวเมือง (โดยทั่วไปคือในเขตเทศบาลเมืองขึ้นไป) โดยแนะนำให้รับในห้องที่เป็นห้องเปิด คือมีหน้าต่างหรือประตู โดยเสาอากาศภายในควรเป็นแบบมี booster ขยายสัญญาณ หรือที่เรียกว่าเป็นแบบ active antenna ซึ่งจะรับการจ่ายไฟกระแสตรง 5V มาจากตัว Set-Top Box ซึ่งการติดตั้งเสาอากาศใกล้ๆกับหน้าต่างก็อาจจะช่วยการรับสัญญาณได้ดีขึ้น

 

- ทีวีดิจิตอลที่ไทยใช้ ส่งระบบ DVB-T2 ซึ่งเป็นระบบ Mpeg4 ทีวีทุกระบบรับได้ โดยใช้กล่องรับสัญญาณระบบ DVB-T2 หากทีวีของท่านมีช่อง HDMI ภาพที่ออกมาจะก็จะชัดกว่าการเสียบสาย AV เป็นอย่างมาก (ระบบส่งสัญญาณโทรทัศน์ DVB-T2 กับมาตรฐานทางเลือกในการบีบอัดสัญญาณภาพหรือเสียงในแบบ MPEG2 หรือ MPEG4 เป็นคนละอย่างกัน แต่โดยทั่วไปการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในระบบ DVB-T2 ทั่วโลกในปัจจุบัน มักจะเลือกใช้มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพแบบ MPEG-4/H.264 AVC และมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณเสียงแบบ MPEG-4/HE AACv2 ซึ่งแพร่หลายและให้ประสิทธิภาพสูงกว่า MPEG-2 มาก ซึ่งในไทยก็เลือกใช้มาตรฐานทางเลือกนี้เช่นกัน)

 

-ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 ดังนั้น ถ้ากล่องเป็นระบบ DVB-T จะรับสัญญาณไม่ได้ โดย Set-Top Box DVB-T2 ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะรองรับมาตรฐาน MPEG-4/H.264 AVC และ MPEG-4/HE AACv2 แต่ในการเลือกซื้อจะแนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของ กสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวีของกสทช.

 

- ทีวีระบบเก่าของไทย ไม่รองรับระบบดิจิตอล จึงต้องมีกล่องรับสัญญาณ DVB-T2 เช่นเดียวกับกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ก่อนที่จะต่อเข้าทีวีอีกที แต่ปัจจุบันโทรทัศน์รุ่นใหม่ๆที่จำหน่ายในท้องตลาดมีหลายรุ่นที่รองรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอล มีจูนเนอร์โทรทัศน์ดิจิตอลในตัวหรือที่เรียกว่า iDTV – Integrated Digital TV หรือภาษาชาวบ้านง่ายๆคือเอาฟังก์ชั่น Set-Top Box มาฝังในเครื่องทีวีเลย ปัจจุบันมี iDTV กว่า 66 รุ่นที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเทคนิคโดยกสทช. ซึ่งสามารถดู list ได้ที่ http://broadcast.nbtc.go.th/tools/idtv และในการเลือกซื้อจะแนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของ กสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวีของกสทช. เหมือนกับการเลือกซื้อ Set-Top Box เช่นกัน

 

- กสทช มีกฎว่า ทุกช่องที่ออกอากาศทีวีดิจิตอล ต้องส่งผ่านดาวเทียมได้ด้วย ตามกฎ Must carry ของ กสทช. ( คลิกดูเพิ่มเติมที่นี่ ) เพื่อเป็นการรับประกันว่าไม่ว่าประชาชนจะใช้เทคโนโลยีใดๆในการรับชมโทรทัศน์จะสามารถรับชมบริการโทรทัศน์ดิจิตอลที่ใช้คลื่นความถี่ซึ่งเป็นบริการทีใช้ทรัพยากรของชาติได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ดังนั้น ใครมีกล่องรับสัญญาณดาวเทียมอยู่แล้วไม่ว่ายี่ห้อใดๆ สามารถรับได้แน่นอน เพียงแต่ช่องไหนที่เป็นช่อง HD (ความคมชัดสูง) ในกรณีที่เครื่องรับทีวีไม่รองรับภาพระบบ HD ก็ยังสามารถรับชมช่อง HD ได้ เพียงแต่จะได้ความคมชัดของภาพในแบบปกติ (SD = Standard Definition) เท่านั้น

 

- ทีวีดิจิตอล ส่งสัญญาณระบบ UHF ดังนั้น แต่ละพื้นที่โดยเฉพาะต่างจังหวัด จะรับสัญญาณได้ไม่เท่ากัน พื้นที่ใดสัญญาณอ่อนต้องมีเสาในการทวนสัญญาณ เพื่อให้แต่ละพื้นที่ไม่มีปัญหาในการรับชม (ทั้งนี้ การทวนสัญญาณด้วย low power transmitter หรือ gap filler เป็นเรื่องทั่วไปของการวางโครงข่ายโทรทัศน์อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นระบบดิจิตอลหรือระบบแอนะล็อก หรือการออกอากาศในย่าน VHF หรือ UHF)

 

- ทีวีดิจิตอล สามารถใช้ร่วมกับเครื่องรับแบบอื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น DVB-T2+DVD , DVB-T2+ Android , DVB-S2+DVB-T2 , DVB-T2 for Car , …… เพราะเครื่องลักษณะข้างต้น เรียกง่ายๆว่าเป็นแบบลูกผสม หรือแบบ Hybrid เช่น แบบ DVB-T2/S2 ซึ่งอยู่ในมาตรฐานตระกูล DVB เหมือนกันจะรองรับสัญญาณทั้งระบบดิจิตอลภาคพื้นดินและระบบดาวเทียมเป็นต้น

 

- ทีวีดิจิตอล แต่ละประเทศใช้ระบบไม่เหมือนกัน หากนำทีวี หรือ อุปกรณ์อื่น เข้ามาใช้คนละระบบกับของไทย ก็จะใช้ไม่ได้ เช่น ของอเมริกา ใช้ระบบ ATSC , ของญี่ปุ่นใช้ระบบ ISDB-T , ของจีนใช้ระบบ DTMB ดังนั้นในการเลือกซื้อจะแนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของ กสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวีของ กสทช. เพื่อความชัวร์

 

- สมาร์ทโฟน หรือ แทบเล็ตได้ อาจสามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ ถ้ามีจูนเนอร์ DVB-T2 ในตัวหรือติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิตอลเช่น แบบ USB dongle

 

- ทีวีดิจิตอล จะได้เปรียบทีวีดาวเทียม คือ หากมีการถ่ายทอดสดรายการกีฬาสำคัญๆ ทีวีดาวเทียมจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสด จึงทำให้จอดำ แต่ทีวีดิจิตอล สามารถรับได้ปกติ เพราะเป็นระบบ free tv แบบเดียวกับการใช้เสาหนวดกุ้ง ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสด

 

กสทช กำหนด ให้ ทีวีดิจิตอลมี 48 ช่อง โดยที่มีทีวีท้องถิ่นของชุมชน 12 ช่อง ทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ทีวีสำหรับภาคธุรกิจ 24 ช่อง โดยใน 24 ช่องนี้ 17 ช่องจะเป็นมาตรฐานปกติ (SD) และอีก 7 ช่องเป็นมาตรฐานความคมชัดสูง (HD)

 

- ปีแรกโครงข่ายจะครอบคลุมพื้นที่ขั้นต่ำ 50% ปีที่ 2 จะครอบคลุมขั้นต่ำ 80% ปีที่ 3 จะครอบคลุมขั้นต่ำ 90% ซึ่งในการขยายโครงข่ายจริงอาจได้พื้นที่ครอบคลุมมากกว่าที่คาด

 

- กล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ที่จะนำคูปองมาเป็นส่วนลดได้ ต้องได้การรับรองคุณภาพจาก กสทช ซึ่ง รายละเอียดเรื่องนโยบายการแจกจ่ายคูปองและการใช้จะมีความชัดเจนในอนาคตอันใกล้ แต่โดยทั่วไปในการซื้อ แนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของกสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวี (น้องดูดี) ของ กสทช.

 

ทีวีดิจิตอลในระยะเริ่มแรกจะมีปัญหาในการส่งสัญญาณ ดังนั้น ช่วงแรก อาจรับสัญญาณยังไม่ได้ครอบคลุม ทั่วประเทศ โดยในระยะแรก รับสัญญาณได้เพียงพื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 100 กม. จาก กรุงเทพฯ ซึ่งรัศมีครอบคลุมดังกล่าวเป็นรัศมีในช่วงการทดสอบ (trial) ที่ออกอากาศจากเสาส่งที่อาคารใบหยก 2 เท่านั้นนั่นเอง

 

- ราคากล่อง set-top box รับสัญญาณทีวีดิจิตอล ในช่วงแรกน่าจะอยู่ประมาณ 1000-1500 บาท หลังจากนั้นราคาน่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว

 

- ทีวีระบบอนาล็อคแบบเก่า คาดว่าจะปิดตัวลงใน 5 ปี หรือเร็วกว่านั้น เนื่องจาก คาดว่าผู้ให้บริการเก่าจะไม่ต้องการส่งทั้ง สองระบบ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง และอีกอย่างระบบเก่าคนก็จะดูน้อยลงเรื่อยๆ

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ