8 มี.ค. “วันสตรีสากล” การต่อสู้เพื่อเสรีภาพยาวนานกว่า 160 ปี
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
วันนี้ (8 มี.ค. 60) คือ “วันสตรีสากล” ทุกๆปีจะเห็นได้ว่าวันนี้ของทุกๆปี จะมีบรรดาผู้หญิงในหลายประเทศจากทุกทวีปรวมตัวกันเพื่อร่วมฉลอง และร่วมรำลึกการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิง อย่างไรก็ตามในหลายประเทศให้ความสำคัญของวันสตรีสากล วันนี้ทีมนิวมีเดียพีพีทีวี จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “วันสตรีสากล” ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

กว่าจะมาเป็นวันนี้ “วันสตรีสากล”
ทั่วโลกร่วมรำลึก "วันสตรีสากล" หลากรูปแบบ
เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ เพราะเหตุมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 จากนั้นในปี ค.ศ.1907 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด
ประวัติศาสตร์ เรียกร้องสิทธิสตรี 8 มี.ค. “วันสตรีสากล”
ต่อมา คลารา เซทคิน นักการเมืองผู้หญิงสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรผู้หญิงด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของคลารา เซทคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 มีผู้หญิงหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรผู้หญิงกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนผู้หญิงจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วยทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของคลารา เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล
“คลารา เซทคิน” สตรีแกร่งจากเยอรมัน
เมื่อทุกคนทราบดีกันแล้วว่าความเป็นมาของ “วันสตรีสากล” ต้องมีการต่อสู้กันหนักหน่วงแค่ไหน คราวนี้ทีมนิวมีเดียจะพาไปรู้จักนักการเมืองผู้หญิงสังคมนิยมชาวเยอรมัน อย่าง “คลารา เซทคิน” โดยเธอได้รับการขนานนามว่า มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล เป็นผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล เกิดที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1857 จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูเมืองไลป์ซิก และพบรักกับเพื่อนนักศึกษาชาวรัสเซียด้วยกันนามว่า ออพซิป เซทกิ้น และได้แต่งงานด้วยกันในเวลาต่อมา มีบุตร 2 คน และเป็นหม้ายในปี ค.ศ.1889
“วันสตรีสากล” กับประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มให้ความการสนับสนุน “วันสตรีสากล” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 โดยได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีผู้ใช้แรงงานและสตรีในสาขาอาชีพ ต่างๆ จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาส วันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา
ARUN SANKAR / AFP
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้