ความคืบหน้าระบบขนส่ง ระบบราง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กทม.หารือหลายภาคส่วนติดตามความคืบหน้าแผนจราจรอนาคตกรุงเทพฯ


ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ พร้อมรับอนาคตกรุงเทพฯ" โดยมีหลายฝ่ายเข้าร่วม อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และบริษัทที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้อง


โดยผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ในช่วงเวลานี้มีแผนงานและการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก แม้ว่ากทม. จะไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการและรับผิดชอบในทุกสายทาง แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพฯ

กทม. ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบกรุงเทพมหานครจำเป็นต้องรับทราบถึงรายละเอียดโครงการ รวมถึงปัญหาและอุปสรรค ระยะเวลาการก่อสร้าง ตลอดจนกำหนดเวลาแล้วเสร็จ เพื่อประโยชน์ในวางแผนและจัดหาการเดินทางระบบเสริม เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและป้อนผู้โดยสารสู่ระบบขนส่งมวลชนระบบหลัก รวมถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรที่สืบเนื่องจากการก่อสร้าง ทั้งนี้หากพิจารณาจากแผนแม่บทและโครงการก่อสร้างระบบรางสายทางต่างๆ พบว่ามีการบรรจบสายทางในพื้นที่เขตดอนเมืองหลายสายทาง

ดังนั้นจึงเป็นการดีที่กทม. และหน่วยงานต่างๆ จะได้หารือแนวทางการบริหารจัดการ รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานในการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการก่อสร้างระบบขนส่งในสายทางต่างๆ ไม่ส่งผลกระทบต่อการจราจรรวมถึงการเดินทางของประชาชน

พร้อมกันนี้จะได้กำชับและขอความร่วมมือหน่วยงานรับผิดชอบโครงการต่างๆ ใช้ความระมัดระวังและดูแลความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างด้วย


ปัจจุบันรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่อยู่ระหว่างดำเนินการมีจำนวน 13 สายทาง แบ่งเป็น 8 สายหลัก และ 5 สายรอง


ความคืบหน้าการดำเนินงานรถไฟฟ้าระบบหลัก 8 สายทาง ดังนี้


สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี จะเปิดให้บริการ พ.ศ. 2559


สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางยกระดับ 22 กิโลเมตร และใต้ดิน 5 กิโลเมตร รวมจำนวน 21 สถานี จะเปิดให้บริการ พ.ศ. 2560


สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ระยะทาง 26.3 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี จะเปิดให้บริการปี 2561 นอกจากนี้ยังมีแผนงานที่จะขยายเส้นทางไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตด้วย


สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 15 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี จะเปิดให้บริการ พ.ศ. 2561


สายสีเขียวเข้ม (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ระยะทาง 13 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี ซึ่งเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายต่อเนื่องจากรถไฟฟ้าบีทีเอสของกรุงเทพมหานคร โดยจะเปิดให้บริการ พ.ศ. 2562

สายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 19 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี โดยจะแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ได้แก่ หมอชิต-ตลาดยิ่งเจริญ และ ตลาดยิ่งเจริญ-คูคต คาดว่าจะเปิดให้บริการ พ.ศ. 2563 โดยในเส้นทางนี้มีแผนดำเนินการส่วนต่อขยายเส้นทางไปยังลำลูกกาด้วย

ในส่วนของสายสีเขียวอ่อน (บางหว้า-ตลิ่งชัน) ดำเนินการโดยกทม. ระยะทาง 7 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา สำรวจและออกแบบ โดยกทม. ได้ลงนามจ้างที่ปรึกษาโครงการเมื่อเดือน ม.ค. 58 ที่ผ่านมา คาดว่าจะเปิดให้บริการ พ.ศ. 2562


สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ระยะทาง 39.6 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 23 สถานี และทางยกระดับ 7 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมเสนอขออนุมัติความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ดอนเมือง-พญาไท) ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร จำนวน 5 สถานี คาดว่าจะเปิดบริการ พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าการดำเนินการรถไฟฟ้าระบบรอง 5 สายทาง มีดังนี้


สายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) ระยะทาง 39.91 กิโลเมตร จำนวน 39 สถานี คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ศ. 2562


สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี คาดว่าจะแล้วเสร็จ 2563


สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จ พ.ศ. 2563 Light Rail (บางนา-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 18.3 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี


สายสีฟ้า (กทม.2 - ถนนโยธี) ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร จำนวน 7 สถานี อยู่ระหว่างจัดทำแผนและศึกษาโครงกา

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ