ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บใน "พื้นที่อับอากาศ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การเสียชีวิตของนิสิตสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพนักงานรวม 5 คน ในโรงงานของบริษัทซีพีเอฟ ยังคงถูกตั้งคำถามว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เหตุการณ์เช่นนี้ ก็มีวิธีการป้องกันและช่วยเหลือได้หรือไม่เพิ่มผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มเติม

เหตุเศร้าสลดที่เกิดขึ้นที่บ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) ซอยบางนา 20 เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ยังต้องสอบสวนหาสาเหตุว่าเกิดจากความประมาทหรือความบกพร่องของบริษัท ที่ปล่อยให้เข้าไปบริเวณบ่อบำบัดฯ โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันหรือแผนรองรับสถานการณ์ เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย เปิดเผยทีมข่าวพีพีทีวีว่า สถานที่เกิดเหตุ ถือเป็น “พื้นที่อับอากาศ” จึงต้องเข้มงวดคนเข้า-ออก เพราะมีสารเคมีอันตราย โดยเฉพาะไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ ก๊าซไข่เน่า อยู่จำนวนมาก แม้ไม่ได้กลิ่น หรือ มองไม่เห็น  แต่ทำให้ผู้สูดดมหมดสติได้

 ก่อนเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงเช่นนี้ จะต้องตรวจค่าอากาศ วัดค่าออกซิเจน ค่าคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะค่าไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ ก๊าซไข่เน่า ส่วนบุคคล ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยในโรงงานที่มีบ่อบำบัดน้ำเสียมี  4 กลุ่มคือ ผู้อนุมัติ  ผู้ควบคุม  ผู้ช่วยเหลือ  และ ผู้ปฏิบัติงาน ทั้ง 4 กลุ่มนี้ ต้องทำงานประสานกัน “ผู้ควบคุม” ต้องคอยคุมงาน วัดค่าอากาศต่างๆ ทุกๆ 5 นาที  “ผู้ช่วยเหลือ” ทำหน้าที่คล้าย “หน่วยกู้ภัย” และทุกคนต้องสวมชุดป้องกันและใส่เครื่องช่วยหายใจ

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ