ค้ามนุษย์ “โรฮิงญา” ในไทยสูญพันธุ์หรือไม่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีคำถามว่า หลังเครือข่าย พล.ท.มนัส และเจ้าหน้ารัฐส่วนหนึ่ง ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ฐานมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์จากขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา สถานการณ์เรื่องนี้ในภาพรวมดีขึ้นหรือไม่ วันนี้คุณณิชาภัทร อินทรกล่อม มีโอกาสพูดคุยกับชาวโรฮิงญาจำนวนหนึ่ง และ คนที่ทำงานติดตามสถานการณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

“เผาบ้าน เผาเมือง เผาสุเหร่า เผาโรงเรียนสอนศาสนา เอาผู้หญิงไปข่มขืน เอาเด็กไปเผากองไฟ แล้วอยู่อย่างนี้คนที่เหลือจะรอดไหม ทุกคนที่หนีมา คือ หนีไฟมา ไม่ใช่ว่า อยู่ๆมีบ้านตัวเอง อยู่ๆทิ้งบ้านตัวเองไปอยู่บ้านคนอื่นง่าย ๆ” คำตัดพ้อชีวิตของ “อามิน” ชาวโรฮิงญาคนนี้ บอกได้อย่างดีถึงเหตุผลที่เขาจำเป็นต้องทิ้งบ้านเกิดที่รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์ เข้ามาใช้ชีวิตต่างแดนในเมืองไทยนานกว่า 30 ปี แล้ว 


 
สถานะที่ “ไร้สัญชาติ” ตั้งแต่เกิดที่รัฐยะไข่ ทำให้ “อามิน” ใช้ชีวิตไม่สะดวก สบายเหมือนคนธรรมดาทั่วไป แม้เขาจะมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และ ประกอบอาชีพสุจริตกับครอบครัว 

ชีวิตของอามินเป็นภาพสะท้อนชาวโรฮิงญาในเพียงมุมหนึ่งของความดิ้นรน จนหลุดพ้นมามีชีวิตใหม่ในต่างแดน แต่ในมุมของชาวโรฮิงญาและคนที่ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน ยอมรับว่า มีชาวโรฮิงญาอีกจำนวนไม่น้อย ที่ต้องโดนพวกเดียวกันเป็นนายหน้ากวาดต้อนเข้าสู่ธุรกิจค้ามนุษย์ โดยมีลักษณะทำงานเป็นเครือข่ายซับซ้อน มีความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่รัฐหลายประเทศ

ปัจจุบันแม้สถานการณ์ค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาจะไม่รุนแรงเท่าเดิม แต่เป็นที่ยอมรับในหมู่คนที่ติดตามสถานการณ์ว่า ยังไม่หมดไป  เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเดินทางไปนั่งเครื่องบิน นั่งรถ หนรือเดินเท้าข้ามประเทศแทนการขนส่งทางเรือ และไทยกลายเป็นเพียงทางผ่านไปยังประเทศที่ 3 หลังรัฐบาลเข้มงวดกับปัญหาค้ามนุษย์มากขึ้น  นายสุรพงษ์ แสดงความเห็นว่า เจ้าหน้าที่ควรขยายผล ตรวจสอบการค้ามนุษย์กลุ่มอื่น เพราะยังมีประเทศที่มีปัญหาทางการเมือง ศาสนา และการสู้รบ เช่น กลุ่มอุยกูร์ ปาเลสไตน์จากซีเรีย และปากีสถานที่ตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์เหมือนชาวโรฮิงญา

สมภพ แซ่โง้ว ถ่ายภาพ
ณิชาภัทร อินทรกล่อม รายงาน 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ