นักวิทย์พบจิกซอว์เชื่อมโยงไดโนเสาร์กินเนื้อ-กินพืช


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เมื่อ 2 ปีที่แล้วนักโบราณคดีขุดพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ในประเทศชิลี และตั้งชื่อว่า ชิลีซอรัส ตอนนี้เจ้าตัวนี้กลายเป็นจิกซอว์สำคัญที่ช่วยไขปริศนาความเชื่อมโยงระหว่างไดโนเสาร์กินเนื้อและกิน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า การศึกษาชิ้นใหม่นี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Biology Letters ของอังกฤษ ระบุว่า นักวิทยาศาตร์สามารถไขปริศนาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ตระกูลออร์นิทิสเชียน หรือไดโนเสาร์กินพืชจำพวกสะโพกนก จาก ชิลีซอรัส หรือที่เรียกกันว่า “ไดโนเสาร์แฟรงค์เกนสไตน์” ที่ขุดพบซากฟอสซิลในประเทศชิลีเมื่อ 2 ปีก่อน 

แมทธิว บารอน นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยว่า การจากศึกษาซากฟอสซิลของ ชิลีซอรัส ซึ่งมีรูปร่างต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่นๆ พบว่า มันคือไดโนเสาร์รุ่นแรกๆของตระกูลออร์นิทิสเชียน กลุ่มเดียวกับไทรเซอราทอปส์ และสเตโกซอรัส ที่มาเติมช่องว่างระหว่างไดโนเสาร์กินเนื้อและไดโนเสาร์กินพืซ ซึ่งที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบได้ว่า ทำไมโดโนเสาร์ 2 กลุ่มนี้จึงมีรูปร่างต่างกันอย่างสิ้นเชิง 

ทั้งนี้ จากสรีระของ ชิลีซอรัส จะเห็นว่ามันมีขาหน้าเล็กคล้าย ที-เร็กซ์ ส่วนสะโพกเหมือนกับ สเตโกซอรัส และขาเหมือนกับ บรอนโตซอรัส ไดโนเสาร์คอยาวยักษ์ นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า มันคือจิกซอว์ที่หายไปที่ช่วยไขความกระจ่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ