ขอพื้นที่ให้ "แรด" 22 กันยายน "วันแรดโลก"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




22 กันยายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ชวนย้อนคำนึงถึงสถานการณ์ของสัตว์ที่ใหญ่เป็นอันดับของโลกอย่าง “แรด”

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล  (World Wide Fund for Nature – WWF) ได้มีการกำหนดวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็น “วันอนุรักษ์แรดโลก” หรือ “วันแรดโลก” โดยเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการตระหนักถึงการลดจำนวนลงของแรดสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีสาเหตุหลักมาจากการลักลอบล่าของมนุษย์ ที่มีความต้องการจะนำนอแรดไปขายในรูปแบบของเครื่องประดับต่างๆ 

สวนสัตว์เขาเขียว เปิดตัวสมาชิกใหม่ “ลูกนกเพนกวิน” สายพันธุ์ฮัมโบลด์

1 กันยายน “วันสืบ นาคะเสถียร” รำลึก 33 ปีการจากไปของวีรบุรุษห้วยขาแข้ง

 

หรือนำไปเป็นส่วนผสมของยาตามความเชื่อในภูมิภาคเอเชียซึ่งหลายพื้นที่มียังมี “ความเชื่อ” ที่ว่านอแรดนั้นสามารถนำมาเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคมะเร็งได้ ทั้งที่ยังไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นใดมายืนยันว่า นอแรดมีคุณสมบัติทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรค จากความเชื่อและความนิยมที่ผิด ทำให้สถานการณ์ของ “แรด” มีสถานะสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น

จากข้อมูลของ WWF เมื่อปี 2016 ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมานั้น “แรด” ทั่วโลก ได้ลดจำนวนลงมากกว่าร้อยละ 95  ทำให้ปัจจุบันเหลือแรดเพียง 5 ชนิดซึ่งทุกชนิด ถูกจัดอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ และประชากรของแรดยังถูกล่าอย่างต่อเนื่อง จึงมีการจัดอันดับแรด 5 สายพันธุ์ที่ควรอนุรักษ์และใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ 1. แรดขาว เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในทวีปแอฟริกา 2. แรดดำ เป็นแรดที่มีความใหญ่รองมาจากแรดขาว พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน  3. แรดอินเดีย พบในภูมิภาคเอเชียใต้ จัดเป็นแรดที่มีเพียงนอเดียว มีลักษณะเด่นคือ ผิวหนังหนาและมีรอยย่นเห็นได้ชัดเจน 4. แรดชวา พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับแรดอินเดีย เป็นแรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดที่หายากที่สุดในโลก 5. กระซู่ หรือแรด 2 นอ หรือ แรดสุมาตรา, แรดขน มีลักษณะเด่นที่สุดคือมี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง จัดเป็นสัตว์ตระกูลแรดที่มีขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมทั้งลำตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง

สำหรับแรดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากช้าง มีน้ำหนักได้มากถึง 6,000 ปอนด์ มีความสูงมากถึง 6 ฟุต ส่วนถิ่นกำเนิดของแรดนั้นไม่ได้ถูกพบเพียงแค่ทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ หรือประเทศอินเดียเท่านั้น แต่ผืนป่าของประเทศไทยเคยเป็นที่อยู่อาศัยของแรดถึง 2 ชนิด คือ “แรดชวา” หรือ “ระมาด” และ “แรดสุมาตรา” หรือ “กระซู่”  ที่ปัจจุบันถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในประเทศไทยนานนับสิบปีแล้ว แรดมีอิทธิพลที่สำคัญต่อระบบนิเวศน์ โดยการช่วยควบคุมการเติบโตของพืช ดูแลรักษาทุ่งหญ้า ลดโอกาสเกิดไฟไหม้ และทำให้กินอุดมสมบูรณ์

แรดใช้นอในการปกป้องลูกและเขตแดนของพวกมัน รวมถึงใช้ขุดหาแหล่งน้ำและอาหาร แต่แรดถูกฆ่าเพียงเพื่อเอานอ ที่ทำมาจาก “เคราติน” ที่เป็นสารประกอบเดียวกับที่พบในเส้นผมและเล็บของมนุษย์เท่านั้น และผู้ล่าที่เป็นอันตรายต่อแรดนั้นมีเพียงเผ่าพันธุ์เดียวนั่นคือ “มนุษย์”

ภาพ AFP / WWF 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ