ประวัติศาสตร์พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงเป็นผู้นำในการก่อตั้งพระราชอาณาจักรแล้ว ยังทรงทำนุบำรุงสร้างศิลปวัฒนธรรม และระเบียบประเพณีต่างๆ ในการดำรงชีวิตให้เป็นมรดกของชาติสืบทอดมา หลักฐานที่กล่าวถึงการจัดพระราชพิธี พระบรมศพที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง

การจัดพระราชพิธี พระบรมศพ นับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานเรื่องการ พระบรมศพ เช่นเดียวกับสมัยรูปแบบของอยุธยาตอนกลาง ในพระราชพงศาวดาร กล่าวถึงเฉพาะลักษณะพระเมรุ มิได้กล่าวถึงรายละเอียดพระราชพิธี ต่อมาในสมัยอยุธยา ตอนปลายปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุพระบรมศพ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พรรณนาเฉพาะการถวายพระเพลิง และการแห่พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารไปประดิษฐาน ณ พระอารามหลวง และงานพระบรมศพสมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชา พรรณนารายละเอียดการพระราชพิธีพระบรมศพไว้ ค่อนข้างละเอียด

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรมมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชน ชาวไทย ทรงได้รับการเทิดทูนเสมอด้วยสมมติเทพ ตามคติพราหมณ์เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ถือเป็นเทพ อวตาร คือ เทวดาจุติลงมาอุบัติบนโลกมนุษย์ ครั้นเมื่อ เสด็จสวรรคตจึงถือเป็นการเสด็จกลับสู่สวรรค์ พระราชพิธี อันเกี่ยวเนื่องลับพระบรมศพจึงถือเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติอย่างสูงสุด

การพระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นโบราณราชประเพณีที่มีแบบแผน ธรรมเนียมมาแต่ครั้งสมัยอยุธยาตอนปลาย มีความสำคัญ ทัดเทียมกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แม้ว่าจะมีการปรับ เปลี่ยนในรายละเอียดปลีกย่อยของพระราชพิธีต่างๆ อยู่บ้าง ตามยุคสมัยและสภาวะของสังคม แต่ยังคงยึดถือคติตามที่กล่าว ในไตรภูมิกถาอยู่อย่างมั่นคง มีการประดิษฐานพระบรมศพ บนพระเมรุมาศซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุล้อมรอบ ด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์

เพื่อเป็นการส่งดวงพระวิญญาณ กลับสู่สรวงสวรรค์อันเป็นที่สถิตของเทพยดาทั้งหลาย มีการประกอบพระราชพิธีอย่างยิ่งใหญ่อลังการ เริ่มตั้งแต่การ สรงนํ้าพระบรมศพการเชิญพระบรมศพประดิษฐานในพระบรมโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล การเชิญพระบรมศพจาก พระบรมมหาราชวังมาประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง การถวายพระเพลิงพระบรมศพการเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับสู่พระบรมหาราชวัง ลำดับพระราชพิธี เหล่านี้มีแบบแผนทำเนียมปฏิบัติสืบทอดมาแต่โบราณ และการเตรียมการต้องใช้เวลานานหลายเดือน

หลังจากเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานบน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว จึงจัดให้มีการพระราชพิธี บำเพ็ญพระราชกุศลเป็นประจำทุกวัน และพระราชพิธี บำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน (สัตตมวาร) ครบ 15 วัน (ปัณรสมวาร) ครบ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) และครบ 100 วัน (สตมวาร) การบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระที่นั่งดุสิตมหา ปราสาทภายใน พระบรมมหาราชวังในแต่ละวัน จะมีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาบำเพ็ญพระกุศล จนครบ 100 วัน

แต่ละวันมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระพิธีธรรมจาก พระอารามหลวง 10 แห่งได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดพระเซตุพนวิมลมังคลาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดสระเกศ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดประยุรวงศาวาส วัดอนงคาราม วัดราชสิทธาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร โดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป พระพิธีธรรมแต่ละพระอารามจะใช้ทำนองสวดแตกต่างกัน ปัจจุบันมี 4 ทำนอง คือ ทำนองกะ ทำนองเลื่อน ทำนอง ลากซุง และทำนองสรภัญญะ

นอกจากนี้ยังมีการประโคมยํ่ายามในงานพระบรมศพ หรือพระศพ ซึ่งเป็นราชประเพณีโบราณ เพื่อเป็นสัญญาณ ให้ข้าราชการรู้กำหนดเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ การประโคม ยํ่ายามนี้ใช้ในงานมีพระบรมศพ และพระศพพระราชวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ แต่เดิมดนตรีที่ใช้ประโคมยํ่ายามมีเฉพาะ วงแตรสังข์ และวงปีไฉน กลองชนะ โดยกำหนดประโคม ยํ่ายามทุกสามชั่วโมงคือเวลา 06.00 น.- 12.00 น. 18.00น.- 21.00 น. และ 24.00 น. การประโคมนี้จะทำทุกวันจน ครบกำหนดไว้ทุกข์ 100 วัน 2 เดือน 1 เดือน 15 วัน 7 วัน

ตามพระเกียรติยศพระบรมศพ หรือพระศพ การประโคมยํ่า ยามพระบรมศพพระมหากษัตริย์ เครื่องประโคมจะประกอบ ด้วยมโหระทึก - สังข์ - แตรงอน - เปิง - และกลองชนะ -หากเป็นพระศพ ไม่มีมโหระทึก

เมื่อถึงกาลอันควรคือสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ ที่ท้องสนามหลวงเสร็จพร้อมที่จะถวายพระเพลิงได้ จะเชิญพระบรมศพ พระศพจากพระบรมมหาราชวังไปยังท้อง สนามหลวงเพื่อถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ซึ่งสร้างเป็น พิเศษดังกล่าวแล้ว เรียกว่า “งานออกพระเมรุ”

การเชิญพระบรมศพ พระศพ สู่พระโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล ตลอดจนการสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง การเคลื่อนพระบรมศพ พระศพจากพระบรมมหาราชวังสู่พระเมรุที่ท้องสนามหลวง การตกแต่งพระจิตกาธาน การเชิญพระบรมอัฐิ พระอัฐิ พระบรมราชสรีรางคาร และพระสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรม มหาราชวังล้วนมีแบบแผนกำหนดไว้เป็นแนวทางให้ปฏิบัติ ขั้นตอนพระราชพิธีในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวต้องใช้ เวลาเตรียมการเป็นแรมเดือนนับตั้งแต่การสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ การดูแลและตกแต่งราชรถ ราชยาน คานหาม สำหรับเชิญพระโกศพระบรมศพ พระศพ พระ,บรมอัฐิ พระอัฐิ ตลอดทั้งเครื่องประกอบอื่น ๆ ในการออกพระเมรุ เช่น พระโกศไม้จันทน์ เครื่องฟืนไม้จันทน์ พระโกศบรรจุพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ผอบบรรจุพระสรีรางคาร หรือ พระราชสรีรางคาร ทั้งนี้ไม่รวมเครื่องสดที่ประดับพระเมรุมาศ และงานแทง หยวกเป็นลวดลายประดับพระจิตกาธาน ซึ่งต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนการถวายพระเพลิงเพียงไม่กี่ชั่วโมง

นอกจากนั้น ยังต้องมีการซ้อมริ้วขบวนในแต่ละจุด แต่ละพิธีการด้วย ตามโบราณราชประเพณีพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพ หรือเรียกว่า “งานออกพระเมรุ” มีขั้นตอน การปฏิบัติที่ถูกกำหนดไว้อย่างมีแบบแผน การเตรียม การแต่ละขั้นตอนใช้เวลาหลายเดือนหรือนานนับปี เพื่อให้ สง่างามสมพระเกียรติ โดยเฉพาะศูนย์กลางของพระราช พิธีถวายพระเพลิงคือการก่อสร้างพระเมรุมาศ และเครื่อง ประกอบอื่น ๆ ในการออกพระเมรุต้องมีการออกแบบให้ เหมาะสม

จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไป ถวายพระเพลิงในช่วงเย็น วันรุ่งขึ้นอัญเชิญพระโกศพระบรม อัฐิประดิษฐานบนพระที่นั่งราเชนทรยานและพระบรมราชสรีรางคารดารประดิษฐานบนพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย ยาตราด้วยกระบวนพระบรมราชอิสริยยศจากพระเมรุมาศ ไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง

การสร้าง “พระเมรุมาศ” จะมีขนาดและแบบงดงาม วิจิตรแตกต่างลันตามยุคสมัยและตามความบันดาลใจ ของช่างที่มีปรัชญาในการออกแบบว่าเป็นพระเมรุของ กษัตริย์ นักรบ หรือฝ่ายสตรี ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็น พระเมรุมาศและปริมณฑล   โดยยึดคติโบราณที่สืบทอดกันมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานคติการสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุว่า ได้ชื่อมาจากการปลูกสร้างปราสาทอัน สูงใหญ่ทามกลางปราสาทน้อยที่สร้างขึ้นตามมุมทิศ มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียงเชื่อมถึงกัน ปักราชวัติ เป็นชั้นๆ  ลักษณะเหมือนเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางมีเขา สัตบริภัณฑ์ล้อม จึงเรียกเลียนชื่อว่า “พระเมรุ” ภายหลังทำ ย่อลง แม้ไม่มีอะไรล้อม เหลือแค่ยอดแหลมๆ ก็ยังคงเรียก เมรุ

แผนผังพระเมรุมาศเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พระเมรุมาศอยู่กลาง แวดล้อมด้วยอาคารรายรอบเป็น ปริมณฑล ประดุจโบสถ์หรือวิหารซึ่งมีระเบียงล้อมรอบ คือ ทับเกษตร เป็นที่พัก ช่างหรือสำส้าง คือมุมคด ของทับเกษตร ทั้ง 4 มุม เป็นที่พระสวดพระอภิธรรม ตรงข้ามพระเมรุมาศจะเป็นพระที่นั่งทรงธรรมสำหรับ พระมหากษัตริย์ประทับในการถวายพระเพลิง บริเวณองค์

พระเมรุมาศจะประดับตกแต่งด้วยราชวัติฉัตรธง เสา ดอกไม้พุ่ม สรรพสัตว์ตกแต่งให้ประดุจเขาพระสุเมรุราช ในเรื่องไตรภูมิ กล่าวกันว่าในสมัยโบราณพระเมรุ มีขนาดสูงใหญ่โอฬารมาก เช่น พระเมรุมาศของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชในสมัยอยุธยา

การถวายพระเพลิง หรือ “ออกพระเมรุ” ในสมัย โบราณจะทำเป็นงานใหญ่แล้วแต่กำหนดตั้งแต่ 3 วัน 5  วัน 9 วัน ถึง 15 วัน สุดแต่สะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระราชพิธี จะมีขอบเขต คือ

พิธีสามหาบตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วเชิญ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ด้วยขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระอิสริยยศสมโภชภายในพระบรมมหาราชวัง พระบรมอัฐิ พระอัฐิจะบรรจุในพระโกศทองคำ แล้วประดิษฐานไว้ บนพระมหาปราสาท จัดให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศล ส่วนพระบรมราชสรีรางคารพระสรีรางคารจะนำไปประดิษฐาน ไว้ยังพุทธสถาน พระอารามหลวงตามราชประเพณี

ศิลาหน้าเพลิง

คือ หินเหล็กไฟ ที่ใช้เหล็กสับกับหินให้เกิดประกายไฟ โดยมีดินปะทุเป็นเชื้อให้ติดไฟง่าย แล้วทรงจุดเทียนพระราชทานแก่เจ้าพนักงาน หากแต่การใช้หินเหล็กไฟไม่สะดวก ในสมัยต่อมาพระมหากษัตริย์จึงทรงใช้พระแว่นสูรยกานต์ส่องกับแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟ แล้วจึงนำเอาเพลิงนั้นจุดถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ สันนิษฐานว่า การจุดเพลิงด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีเดียวกับการจุดเพลิงไฟฟ้าเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมสพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวยังปฏิบัติสืบมาในการถวายพระเพลิงเจ้านาย ดังในคราวถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงส่องพลังความร้อนจากแสงอาทิตย์ด้วยพระแว่นสูรยกานต์แล้วให้เจ้าพนักงานตั้งแต่มณฑปสำหรับเลี้ยงเพลิงไว้ แล้วเชิญมายังพระเมรุมาศ

ในปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไฟที่เกิดจากพระแว่นสูรยกานต์ไปจุดเลี้ยงไว้ที่พนะอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อมีผู้มาขอไฟพระราชทานจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานสำนักพระราชวังเชิญ “ไฟหลวง” มาพระราชทานเพลิงศพผู้นั้นต่อไป

"รูปแบบและธรรมเนียม" ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ

จากข้อมูลที่เผยแพร่ในแฟนเพจเฟซบุ๊ก “คลังประวัติศาสตร์ไทย” https://www.facebook.com/ThailandHistoricalArchives/

ระบุว่า การถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือการพระราชทานเพลิงพระศพนั้น ถือว่าเป็นงานพระราชพิธีใหญ่ ซึ่งมีธรรมเนียม และวิธีการปฏิบัติที่ตรงตามตำราดังที่ราชสำนักสืบทอดกันมา แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันนั้น การถวายพระเพลิงพระบรมศพได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยในปัจจุบันนั้นในราชสำนักมีรูปแบบของการถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบดังที่คลังประวัติศาสตร์ไทยจะขออธิบายตามรูปภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 1. การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีที่พระบรมศพอยู่ในพระบรมโกศ) การสุมเพลิงรูปแบบนี้เป็นแบบโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า แต่ในปัจจุบันนี้ไม่พบว่ามีการถวายพระเพลิงพระศพบนพระจิตกาธานอีกแล้ว เนื่องจากควบคุมเพลิงได้ยาก เจ้าพนักงานจะต้องคอยฉีดน้ำและควบคุมทิศทางลมอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับปัจจุบันมีการนำเตาเผาสมัยใหม่เข้ามาใช้ทดแทน ดังภาพจะเห็นว่ามีเปลวเพลิงลุกไหม้อยู่ตลอดเวลา โดยเกิดจากการสุมเชื้อเพลิงด้านล่างของพระจิตกาธาน จากภาพคืองานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ในปีพ.ศ. 2528

ภาพที่ 2. การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีพระบรมศพอยู่ในหีบ) ในรูปแบบนี้เป็นราชประเพณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เนื่องจากพระบรมศพของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในหีบ ทางสำนักพระราชวังจึงทำการตั้งหีบพระบรมศพบนพระจิตกาธานแล้วนำพระบรมโกศ (โกศเปล่าว) วางบนหีบพระบรมศพอีกชั้นหนึ่งดังภาพประกอบ ในคราวนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ หลังจากที่ผู้มาร่วมงานกลับกันหมดแล้วทั้งสามพระองค์เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยังพระเมรุมาศเพื่อควบคุมการถวายพระเพลิงด้วยพระองค์เอง

ภาพที่ 3. การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในหีบ)ในรูปแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน จนถึงงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีกระบวนการต่างๆ คล้ายกับงานพระบรมศพของสมเด็จย่า แต่จะแตกต่างกันตรงที่ได้อัญเชิญหีบทรงพระศพลงจากพระจิตกาธาน เข้าไปพระราชทานเพลิงในเตาเผาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุแทน จากภาพคือเตาไฟฟ้าสมัยใหม่ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

ภาพที่ 4. การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในพระโกศ) ในรูปแบบนี้ก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกเช่นกัน จนถึงปี พ.ศ.2555 ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดาฯ ลูกเธอในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่พระศพของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในพระโกศตามโบราณราชประเพณี แต่เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงพระศพจริงนั้น เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระโกศลงจากพระจิตกาธานเพื่อไปพระราชทานเพลิงยังเตาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกแทน ดังจะเห็นในภาพที่ขนาดของเตาไฟฟ้านั้นมีขนาดใหญ่ และสูงกว่าปกติ เพื่อที่สามารถอัญเชิญพระโกศเข้าไปภายในเตาไฟฟ้าได้

*จิตกาธาน คือ เชิงตะกอนหรือฐานที่ทำขึ้นสำหรับเผาศพ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ขอบคุณข้อมูลจากแฟนเพจเฟซบุ๊ก “คลังประวัติศาสตร์ไทย”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ