นายกฯ ลุยฝนพบชาวปากพนัง ผุดโครงการผันน้ำอ้อมเมือง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นครศรีธรรมราชมีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวาน นอกจากการเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังจากฝน อีกสิ่งที่ต้องจับตาคือ คลื่นลมในทะเล เพราะอำเภออยู่อ่าวไทย ที่จะได้รับอิทธิพลจากพายุโดยตรง ส่วนอำเภอปากพนัง ที่วันนี้นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่

วันนี้ (3 พ.ย.60) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อ พูดคุยกับชาวอำเภอปากพนัง ท่ามกลางสายฝนตกที่ลงมาอย่างหนักเป็นเวลากว่า1ชั่วโมง แต่นายกรัฐมนตรีก็ไม่ยุติการพูดคุย เช่นเดียวกับชาวบ้านที่ก็ปักหลักรอฟังต่อเนื่องจนจบ ขณะที่ใจความสำคัญของการพูดคุยกับชาวบ้านคือ  การขอให้ติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยาต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงที่พายุดีเปรสชั่นกำลังมีอิทธิพลต่อประเทศไทย

นอกจากการพบปะชาวบ้านแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ยังประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด14 จังหวัดภาคใต้ โดยสั่งให้หาแนวทางรับมือกับสถานการณ์ หากพายุมีอิทธิพลกับพื้นที่ และยังพูดคุยเรื่องการทำโครงการผันน้ำอ้อมเมือง ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยเป็นโครงการคล้ายกับการทำแก้มลิงในพื้นที่ภาคกลาง  สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ถือว่ากำหนดการทุกอย่างถูกเปลี่ยนแปลงทั้งหมด เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เช่น การเปลี่ยนไปใช้สนามบินสุราษฎร์ธานี จากเดิมสนามบินนครศรีธรรมราช ทำให้ต้องใช้เวลาเดินทางโดยรถอีกกว่า 2 ชั่วโมง


 

ย้อนกลับไปดูที่ อ.หัวไทร รอยต่อกับ อ.ระโนด จ.สงขลา อีกจุดที่อยู่ติดทะเล หากเปรียบเทียบภาพระหว่างช่วงประมาณ10.00น. กับ 12.00น. จะเห็นว่าในทะเลมีความแตกต่างกัน ช่วง10.00น.คลื่นสูง แต่แทบจะไม่มีฝนและลมพัดผ่าน ขณะที่ผ่านไปไม่นาน ฝนตกให้พื้นที่อย่างหนัก ประกอบกับคลื่นสูง และมีลมพัดแรง
 

ในช่วง10.00น.ทีมข่าวพูดคุยกับอดีตผู้ใหญ่บ้านต.คลองแดน อ.ระโนดได้ข้อมูลว่า คนพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นสูงมาตั้งแต่ช่วงเช้า เพราะสังเกตเห็นว่าคลื่นเริ่มสูง และไม่มีลมพัดผ่าน โดยจากประสบการณ์ของอดีตผู้ใหญ่บ้าน ระบุว่า การที่ไม่มีลมในขณะที่คลื่นสูง มีโอกาสที่จะตีความได้ว่า ลมถูกพัดไปที่กลางทะเล เพื่อหอบคลื่นที่สูงขึ้นเข้ามาริมฝั่ง ซึ่งหลังพูดคุยไม่นานสถานการณ์ก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ

ตลอดพื้นที่ตั้งแต่ปากพนัง และ หัวไทร มีแนวกันคลื่นเป็นระยะ โดยจุดสิ้นสุดของอ.หัวไทรกำลังก่อสร้างแนวกันคลื่น แต่ถัดจากนั้นในพื้นที่รอยต่อของอ.ระโนดไม่มีแนวกันคลื่น หากเกิดคลื่นซัดฝั่งจุดนี้ถือเป็นอีกจุดที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการพูดคุยเพิ่มเติมกับปภ.จังหวัด ได้ข้อมูลว่า จุดเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคใต้ ขณะนี้คือ ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่นครศรีธรรมราชตอนล่างเป็นต้นไป เนื่องจากน่าจะมีฝนตกต่อเนื่องแบบนี้ไปอีกระยะหนึ่ง

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ