ผู้เชี่ยวชาญเสนอกรมควบคุมมลพิษหาค่ามาตรฐาน PM 2.5 ให้เหมาะสมกับไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร และสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มาตั้งแต่กลางเดือนมกราคม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกระทรวงสาธารณสุข กำลังหาแนวทางป้องกันและลดค่าฝุ่นละออง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน เสนอรัฐบาลหาค่ามาตรฐานที่เหมาะสมกับไทย ไม่ควรนำค่ามาตรฐานของสากลหรือประเทศอื่นมาใช้ เพราะสภาพแวดล้อมและสังคมต่างกัน

วันนี้ (14 ก.พ.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาที่ภาครัฐเร่งหาแนวทางป้องกันและแก้ไข หลังประชาชนในกรุงเทพมหานครค้องเผชิญสภาพเช่นนี้มานานกว่า 1 เดือน โดยเฉพาะในพื้นที่เขตธนบุรี ที่วันนี้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน สูงถึง 85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่สถานีตรวจวัดอื่นๆ ยังสูงเกินค่ามาตรฐานมาตั้งแต่ช่วงเช้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 57-85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก  กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงประชุมหารือแนวทางแก้ปัญหาและป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เพราะปีนี้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดขึ้นเร็วและยาวนาน กว่าปีที่ผ่านมา

นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดมาตรการเร่งด่วน ขอความร่วมมือท้องถิ่นงดการเผาในช่วง 30 วัน ตั้งจุดตรวจจับควันดำ ขอความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ควบคุมฝุ่นจากการก่อสร้าง การระบายมลพิษจากอุตสาหกรรม ไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน โดยระบุว่าการกำหนดค่ามาตรฐาน PM 2.5 ใน 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่ไทยใช้วัด เป็นค่ามาตรฐานที่เหมาะสมกับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะต้องแก้ปัญหาและลดปริมาณฝุ่นไปทีละระดับ

ค่ามาตรฐานนี้ถูกตั้งคำถามจากนักวิชาการหลายคน รวมไปถึงศาสตราจารย์ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า มองว่า ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย พร้อมเสนอให้กรมควบคุมมลพิษ วิจัยสภาพอากาศ และหาค่ามาตรฐานใหม่ที่ใช้เฉพาะในพื้นที่และสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เนื่องจากไทยยังใช้มาตรฐานเดียวกับสากล ที่อาจไม่ใช่ค่ามาตรฐานที่เหมาะสม พร้อมนำค่า PM 2.5 ไปคำนวนหาค่า AQI หรือ Air Quality Index ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศด้วย เพื่อให้ผล AQI ที่ได้เป็นผลที่มีประสิทธิภาพ 

ส่วนปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองจำนวนมากเช่นนี้ นอกจากสภาพอากาศแล้ว ศาสตราจารย์ศิวัช มองว่า ในกรุงเทพมหานครมีตัวกำเนิดมลพิษ คือ ยานพาหนะ และภาคอุตสาหกรรม  ในภาคอุตสาหกรรม สามารถควบคุมได้ เพราะมีกฎหมายเอาผิดชัดเจน แต่ยานพาหนะอาจทำได้ยาก

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ