อย.มั่นใจ “ปลาฟุกุชิมะ” ไร้สารกัมมันตรังสีปนเปื้อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แถลงถึงกรณีสื่อญี่ปุ่นรายงานว่าประเทศไทยเป็นชาติแรก ที่มีการนำเขาปลาจากฟุกุชิมะเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าประเทศไทยยังไม่พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในอาหารจากประเทศญี่ปุ่น

วันนี้ (6 มี.ค.61) กรณี สื่อของประเทศญี่ปุ่น รายงานว่า ญี่ปุ่นได้เริ่มการส่งออกปลาจากฟุกุชิมะ มายังประเทศไทยเป็นประเทศแรก โดยปลาดังกล่าวถูกกระจายไปยังร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังเมื่อปี 2554 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ฟุกุชิมะ ได้รับความเสียหาย และมีการแพร่กระจายสารกัมมันตรังสีออกมา

โดยล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2554 ประเทศไทยมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอาหารที่นำเข้า เช่น ปลา, ไข่, หอย, กุ้ง, ปู, ปลาหมึก, ผักผลไม้ และอาหารแปรรูป ซึ่งตั้งแต่ ปี 2554 -2555 สุ่มตรวจ 607 ตัวอย่าง พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน 45 ตัวอย่าง ต่อมาเดือน เม.ย. 2555 – กันยา 2555 สุ่มตรวจ 139 ตัวอย่าง พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน 2 ตัวอย่าง

ทั้งนี้ เดือน ต.ค. 2555 – ก.ย. 2556 สุ่มตรวจ 189 ตัวอย่าง ไม่พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน เดือน ต.ค. 2556 – ก.ค. 2558 สุ่มตรวจ 22 ตัวอย่าง ไม่พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน และเดือน มี.ค. 2559 – เม.ย. 2559 สุ่มตรวจ 57 ตัวอย่าง ไม่พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน ประเทศไทยจึงได้ผ่อนคลายมาตรการให้ประเทศต้นทางต้องทำการยืนยันเรื่องเอกสารการตรวจไม่พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน และประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการยกเลิกการยืนยันเอกสารจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ มาตราการในการตรวจของ อย. รวมกับกรมประมง ได้ทำการตรวจหน้าด่านของกรมประมง ที่จุดนำเข้าทุกจุด ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อาหารสดจากประเทศต้นทางจากทุกประเทศ

อย่างไรก็ตาม อย. กระทรวงสาธารสุข และกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการสุ่มตรวจตลอดเวลา โดยเฉพาะตลาดในประเทศไทย ยังไม่พบตัวอย่างที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่น มีการคุมเข้มเรื่องดังกล่าวมากกว่าประเทศไทย และทางสถานทูตญี่ปุ่นจะมีการแจ้งหากตรวจพบอาหารมีการปนเปื้อน พร้อมกับทำลายอาหารดังกล่าวตั้งแต่ต้นทาง  

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ