แฉ ! กินผลิตภัณฑ์ “เมจิกสกิน”แล้วใจสั่น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “เมจิกสกิน” เข้าให้ปากคำเพิ่มเติม พร้อมเผย ลูกค้าเคยระบุกินแล้วใจสั่น มือสั่น ขณะที่ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบอาหารเสริมลดความอ้วนบางยี่ห้อผสม“ไซบูทรามีน”สารต้องห้าม ชี้บริโภคเข้าไปเสี่ยงต่อชีวิต

เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 61 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามเรียกตัวแทนจำหน่ายเข้าสอบปากคำเพิ่มเติม พร้อมนำผลิตภัณฑ์ แอปเปิ้ลสกินกว่า 10 ลัง จากจ.อุดรธานีและชลบุรี มามอบให้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อนำไปตรวจส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้

ตัวแทนจำหน่าย เปิดเผยว่า แอปเปิ้ลสลิม ที่มีปัญหา เป็นสินค้าล็อตที่ 6.2  เมื่อทานไปแล้วลูกค้ามีอาการใจสั่น มือสั่นจึงสอบถามไปยังผู้ผลิตแอปเปิ้ลสลิม ได้รับคำตอบว่าได้เปลี่ยนส่วนผสมแต่ไม่แจ้งกับตัวแทนจำหน่าย

สำหรับผลิตภัณฑ์ ที่พบปัญหามีเลขอย. 13 หลัก ที่บริเวณหลังกล่อง และบริเวณซอง ระบุไม่ตรงกัน โดยพบความแตกต่างของเลขตัวหน้า คือที่บริเวณ กล่องเลขตัวแรก เป็นเลข 1 ขณะที่บริเวณซอง เลขตัวเลข เป็นเลข 7 และเมื่อรวบรวมข้อมูลตัวแทนจำหน่ายที่พบปัญหาดังกล่าว พบว่าสินค้าล็อตนี้กระจายทั่วประเทศ เมื่อติดต่อขอคืนสินค้า เจ้าของกลับบ่ายเบี่ยงขอเปลี่ยน แทนการคืนเงิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  1 ใน 8 ผู้ต้องหา คือ น.ส.ธนัญพรรธน์ บุญโญสิทธิ์ เดินทางมาพร้อมทนายความ เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม แต่ยังปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จากการสอบปากคำอ้างว่าตนเองถูกหลอกเป็นผู้เสียหายเช่นกัน เสียเงินไปกว่า 60 ล้านบาท

ส่วนด้าน นายนาคาญ์   ทวิชาวัฒน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ระบุว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทยาลดความอ้วนในไทยบางยี่ห้อมีส่วนผสมของสาร “ไซบูทรามีน” เป็นสารต้องห้ามของ อย. เข้าไปด้วย รวมถึงพบว่าเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในท้องตลาดกว่า 40% ไม่ได้มาตราฐาน โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารเสริม

เช่นเดียวกับ นายวชิระ อำพนธ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด ระบุว่า สารไซบูทรามีน  เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลทำให้มีความรู้สึกไม่หิว หรืออิ่มเร็วขึ้น  ก่อนหน้านี้ ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาในปี 2540 ว่าช่วยลดน้ำหนัก และลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ แต่จัดเป็นยาที่ได้รับการควมคุมดูแลเป็นพิเศษ แต่ผลการศึกษาพบว่า ไซบูทรามีน ทำให้เกิดภาวะไตวาย ผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบตัน และอาจทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้

ในปี 2553 ทางประเทศในยุโรปจึงประกาศยกเลิกไม่ให้ใช้ยานี้ รวมทั้งในประเทศไทยด้วยที่เรียกเก็บยาที่มีสารไซบูทรามีนออกจากท้องตลาด และยกเลิกทะเบียนยาไซบูทรามีน การพบไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จึงเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ