นักวิจัยเสนอแก้ปัญหา “เด็กถูกกลั่นแกล้ง” ต้องเริ่มจาก “ระบบการศึกษา”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิชาการผู้ทำการศึกษา พฤติกรรมการถูกกลั่นแกล้งในโลกอินเทอร์เน็ต หรือ Cyberbully ได้ให้ความเห็นกับเหตุวัยรุ่นอายุ17ปี กระโดดตึกเสียชีวิตว่า ถึงเวลาที่ระบบการศึกษาไทย ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการสอนวิชาใช้ชีวิต ปลูกฝังให้รักคุณค่าในตนเอง เพราะหากไม่สอนวิธีการรับมือการใช้ชีวิตในทางที่ถูกต้อง อนาคตอาจจะมีแสดงออกที่รุนแรงขึ้น ไปจนถึงการก่ออาชญากรรมได้

หนึ่งในข่าวเศร้าที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ คือ ข่าวที่เด็กนักเรียนชั้น ม.6 ตัดสินใจกระโดดลงมาจากชั้นที่ 5 ของโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ จนเสียชีวิต และแม้จะยังไม่มีใครระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่แม่ของเด็กและเพื่อน ให้ข้อมูลว่า เขาถูกล้อเลียนเรื่องรูปร่างบ่อยครั้ง

อ่านข่าว : เตือนครูดูแลเด็กใกล้ชิด หลังวัยรุ่น 17 ปี โดดตึกในโรงเรียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิมลทิพย์ มุกสิกพันธ์ อาจารย์สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทำการศึกษาเรื่อง Cyberbullying เชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่น17ปี ตัดสินใจฆ่าตัวตาย อาจจะไม่ได้เกิดจากการถูกกลั่นแกล้งด้วยคำพูด หรือ Bullying เพียงปัจจัยเดียว แต่น่าจะมีปัญหาอื่นสะสมมากก่อนหน้านี้ และผลการวิจัย บ่งชี้ว่า การถูกล้อเลียนที่นานและบ่อยครั้ง จะเป็นแรงกดทับที่อาจทำให้คนคนหนึ่งตัดสินใจจบชีวิต

ผู้เชี่ยวชาญด้าน cyberbullying เสริมว่า ที่ผ่านมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีกรณีที่ตัดสนใจฆ่าตัวตาย เกิดจากแรงกดดันที่ถูก bullying / ถ้าสาเหตุของกรณีนี้ เป็นเช่นนั้นจริง จะถือเป็นกรณีแรก ที่ทำให้เห็นว่า เด็กไทยเริ่มแบกรับปัญหาสังคมที่รุนแรงขึ้น

การปรับระบบการศึกษา เป็นข้อเสนอของผู้ทำวิจัยเรื่องนี้ โดยเสนอว่า โรงเรียนควรสอนวิชาชีวิตที่ทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เช่น การฝึกความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม การมองโลกในแง่บวก การรักคุณค่าในตัวเอง มากกว่าการที่ต้องทำตัวเองให้เป็นที่ยอมรับตามค่านิยม เช่น ต้องเก่งด้านวิชาการ หรือ ต้องหุ่นดี ขาว สวย รูปหล่อ ซึ่งจะทำให้พื้นฐานจิตใจของเด็กๆแข็งแรงต่อสภาวะแวดล้อม

ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำด้วยว่า วิธีสังเกตเด็กที่อาจมีปัญหาจากการถูก bulling  เช่น  เก็บตัวเงียบ มีพฤติกรรมขาดเรียน เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และขาดสมาธิในการทำกิจกรรม

ข้อมูลวิจัยเมื่อปี 2552  ของ ผศ.ดร.วิมลทิพย์ เรื่อง cyberbully ในประเทศไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 2,500 คนทั่วประเทศ ยังพบว่า ผู้เคยถูก cyberbully หรือ เป็นผู้กระทำcyberbully หรือ แชร์การกระทำต่อว่ากัน มีรวมกันถึง 48% หรือคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง

ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >>> //www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ