ฟังชัดๆ ทำไมการจ่ายยาต้องเป็น “เภสัชกร” เท่านั้น !!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ข้อถกเถียงหนึ่งที่เภสัชกรออกมาคัดค้านการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. .... (ฉบับใหม่ กรกฎาคม 2561) คือ การเพิ่มอำนาจให้บุคคลอื่นนอกจากเภสัชกรสามารถจ่ายยาได้ เนื่องจากมองว่าคนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ผู้ป่วย เพราะหากไม่มีความรู้เรื่องยามากพอ และการจ่ายยาประเภทเดียวกันให้ผู้ป่วยแต่ละคนมีข้อจำกัดเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน

ภญ.ศิริรัตน์ ตันปิชาติ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนเภสัชกร บอกกับทีมข่าวพีพีทีวี ว่า น้ำหนักตัวผู้ป่วยที่ต่างกัน มีผลต่อการจ่ายยา และเป็นข้อมูลเชิงเทคนิคที่มีเฉพาะกลุ่มเภสัชกรเท่านั้นที่จะสามารถคำนวณได้ ถือเป็นหนึ่งในเหตุผลการคัดค้านร่างพระราชบัญญัติยาที่กำลังปรับแก้ไข ให้บุคลากรสายสุขภาพอื่นๆ จ่ายยาได้เช่นเดียวกับเภสัชกร นอกจากนี้การจ่ายยาประเภทเดียวกันให้ผู้ป่วยแต่ละคนก็มีข้อจำกัดเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง ผลกระทบที่อาจเกิดกับ “คนแพ้ยา”

ยกตัวอย่าง

หากกฎหมายที่ปรับแก้ไข ผ่านการพิจารณา นายหนึ่ง มีอาการติดเชื้อที่แขนจนมีหนองไหลออกมา พยาบาลซึ่งมีอำนาจจ่ายยาแทนเภสัชกรตาม ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. .... (ฉบับใหม่ กรกฎาคม 2561) เป็นผู้วินิจฉัยโรคพร้อมจ่ายยา “diclixacillin” ให้นายหนึ่ง ซึ่งยาตัวนี้เป็นยาตัวแรกที่เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อ มีหนอง แล้วจะถูกหยิบขึ้นมาใช้

แต่จากประวัติแพ้ยา พบว่า นายหนึ่งแพ้ยาฆ่าเชื้อที่ ชื่อว่า “amoxicllin” ซึ่งแม้ว่ายาตัวที่จ่ายไปจะไม่ใช่ตัวที่แพ้ แต่จากการตรวจสอบพบว่า “diclixacillin” (ยาที่จ่ายให้) มีโครงสร้างยา โมเลกุลแบบเดียวกับ “amoxicllin” ซึ่งจะทำให้แพ้ยาแบบเดียวกัน

ในทางกลับกัน หากกรณีนี้เภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาให้ ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อ มีหนอง และแพ้ยา “amoxicllin” เภสัชกรจะหลีกเลี่ยง “diclixacillin” แม้ว่าจะเป็นยาตัวแรกที่หากป่วยตามอาการข้างต้น จะถูกนำมารักษาผู้ป่วย แต่จะเลือก “clindamycin” หรือ ยาตัวอื่นๆ ที่มีผลการรักษาเหมือนกันแต่ไม่มีโครงสร้างยาของ “amoxicllin” เพื่อป้องกันการแพ้ยา

ภญ.ศิริรัตน์ ระบุว่า ข้อมูลเหล่านี้มีเพียงเภสัชกรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จ่ายยาประเภทนี้เป็นประจำเท่านั้นที่ทราบข้อมูล

แม้ที่ผ่านมาจะพบว่า ตามร้านขายยามีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาให้ผู้ป่วย แต่หากดูตามข้อกฎหมายเดิม พบว่า มีโทษกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่หากแก้ไขกฎหมายใหม่ อาจทำให้การจ่ายยาโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เภสัชกร กลายเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ทั้งที่มีความเสี่ยงตกอยู่กับประชาชน

สำหรับ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ฉบับเดิม กำหนดไว้ว่า หากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เภสัชกร จ่ายยาให้ผู้ป่วยโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่การแก้ไขกฎหมายรอบนี้ หากเป็นไปตามเนื้อหาของร่างกฎหมายที่เผยแพร่ออกมา ก็จะทำให้มีบุคลากรในสายสุขภาพได้รับข้อยกเว้นนี้

อ่านข่าว :

“เภสัชกร” ยืนยัน ค้านร่างพ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ เพราะกระทบ “ผู้ป่วย” มากที่สุด

เปิดใจนายกสภาเภสัชฯ แก้กฎหมายยา เอื้อประโยชน์ร้านสะดวกซื้อจริงหรือไม่

ยังเสียงแตก !! พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ “เภสัชกร-พยาบาล”

เปิดจำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุข ของ สธ. ปี’59

เภสัชกร-พยาบาล เห็นต่าง แก้ไข พ.ร.บ.ยา ให้บุคลากร สธ.ด้านอื่นจ่ายยาได้

ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >>> //www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ