ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ เอื้อประโยชน์ร้านสะดวกซื้อจริงหรือ ?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในโลกออนไลน์มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. .... (ฉบับใหม่ กรกฎาคม 2561) โดยเฉพาะการมองว่าการปรับแก้ไขกฎหมายนี้ เกี่ยวข้องกับการเอื้อประโยชน์ให้ภาคเอกชนที่ต้องการขยายกิจการร้านขายยาในร้านสะดวกซื้อ เป็นข้อถกเถียงที่วันนี้จะพาไปหาคำตอบกัน

นายนิลสุวรรณ ลีลารัศมี นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวถึงประเด็นการปรับแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. .... (ฉบับใหม่ กรกฎาคม 2561) อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ภาคเอกชนที่ต้องการขยายกิจการร้านขายยาในร้านสะดวกซื้อ ว่า ไม่เป็นความจริง และคนพูดไม่รู้กฎหมาย เนื่องจากแม้บุคลากรด้านสุขภาพสาขาอื่น นอกเหนือจากเภสัชกรจะสามารถจ่ายยาบางชนิดให้กับผู้ป่วยได้ แต่การขออนุญาตเปิดร้านขายยา ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม กำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องมีเภสัชกรที่มีใบประกอบวิชาชีพควบคุมดูแล หมายความว่า สายงานสุขภาพอื่นๆ เช่น แพทย์ พยาบาล ไม่สามารถเปิดร้านขายยาแบบที่เภสัชกรทำได้ รวมถึงไม่สามารถทำงานในร้านขายยาอื่นๆ ในตำแหน่งเดียวกับเภสัชกรได้ แต่จะสามารถขายยาได้หากมีเภสัชกรควบคุมดูแลอยู่

นายกสภาเภสัชกรรม ให้ข้อมูลอีกว่า แม้บุคลากรด้านสุขภาพสาขาอื่นนอกเหนือจากเภสัชกรจะสามารถจ่ายยาบางชนิดให้กับผู้ป่วยได้ แต่การขออนุญาตเปิดร้านขายยา ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะเปิดร้านได้ “ต้องมีเภสัชกรที่มีใบประกอบวิชาชีพ” ควบคุมดูแล

นอกจากนี้ นายกสภาเภสัชกรรม มองว่า ถ้าพยาบาลต้องไปขายยาภายใต้การดูแลของเภสัชกร จะเป็นเรื่องดีมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะพยาบาลมีความรู้เรื่องยาพอสมควร ในขณะที่ปัจจุบันร้านขายยาหลายแห่งจ้างคนทั่วไปมาขายยาภายใต้การดูแลของเภสัชกร และใช้วิธีการส่งไปอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด

ส่วนการปรับแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ เพิ่มอำนาจให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นในสายสุขภาพ เช่น พยาบาล สามารถจ่ายยาได้ นายกสภาเภสัชกรรม มองว่า เป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะให้อำนาจจ่ายยาในกลุ่มใดได้บ้าง เพื่อป้องกันความผิดพลาด เนื่องจากแม้พยาบาลจะมีศักยภาพจ่ายยาแทนได้แต่ก็เป็นเพียงยาในกลุ่มการรักษาทั่วไป ไม่ใช่ยาทั้งหมดเหมือนที่เภสัชกรสามารถทำได้

ขณะที่การเปิดร้านยาต้องมี "เภสัชกร" ที่มีใบวิชาชีพร่วมด้วย คือ เจ้าของอาจเป็นประชาชนทั่วไป แต่ต้องมีเภสัชกรที่มีใบวิชาชีพร่วมด้วยจะในฐานะผู้ปฎิบัติการก็ได้

ด้านนายแพทย์ วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ระบุว่า ทุกข้อความในร่างกฎหมายใหม่ยังเป็นเพียงความคิดเห็นที่ยังไม่ใช่ข้อสรุป ดังนั้นยังสามารถปรับแก้ไขได้ พร้อมยืนยันว่าการจัดทำร่างกฎหมายนี้ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้ภาคเอกชน

 

อ่านข่าว :

“เภสัชกร” ยืนยัน ค้านร่างพ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ เพราะกระทบ “ผู้ป่วย” มากที่สุด

เปิดใจนายกสภาเภสัชฯ แก้กฎหมายยา เอื้อประโยชน์ร้านสะดวกซื้อจริงหรือไม่

ยังเสียงแตก !! พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ “เภสัชกร-พยาบาล”

เปิดจำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุข ของ สธ. ปี’59

เภสัชกร-พยาบาล เห็นต่าง แก้ไข พ.ร.บ.ยา ให้บุคลากร สธ.ด้านอื่นจ่ายยาได้

ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >>> //www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ