"กุหลาบจุฬาลงกรณ์" น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ "วันปิยมหาราช"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี "วันปิยมหาราช" ตรงกับ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และมักนำดอกกุหลาบสีชมพูไปกราบสักการะ

ขณะเดียวกัน มีกุหลาบสีชมพูสายพันธุ์หนึ่งชื่อว่า "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" โดยข้อมูลจากคณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า กุหลาบที่ปลูกเลี้ยงกันแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะในประเทศเราหรือในต่างประเทศเป็นกุหลาบที่จัดอยู่ในกลุ่ม "กุหลาบสมัยใหม่" (Modern Roses) หมายถึงกุหลาบที่ผสมพันธุ์ออกสู่ตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ.2410 หลังจากนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

23 ตุลาคม "วันปิยมหาราช" ใช้ทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 60 ด่าน

23 ตุลาคม 2565 "วันปิยมหาราช" รถไฟจัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำ เส้นทางประวัติศาสตร์ กรุงเทพ – อยุธยา

 

 

 

แต่กุหลาบที่มีอยู่ก่อนนั้นจัดเข้าเป็น "กุหลาบสมัยเก่า" (Old Garden Roses) ซึ่งกุหลาบสมัยเก่าที่เคยปลูกกันในเมืองไทยและยังหลงเหลือมาจนถึงทุกวันนี้มีอยู่เพียงสองสามพันธุ์คือ กุหลาบมอญสีชมพูและสีแดง (กุหลาบดามัสก์ - Damask)  และอีกพันธุ์หนึ่งคือ กุหลาบไฮบริดเพอร์เพทชวล (Hybrid Perpetual) ที่ไม่รู้ชื่อดั้งเดิม นอกจากชื่อที่รู้จักกันในบ้านเราคือ  กุหลาบ "จุฬาลงกรณ์"

โดย "เจ้าดารารัศมี พระราชชายา" ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดกุหลาบเป็นอย่างยิ่งทั้งยังทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งราชสมาคมกุหลาบแห่งประเทศอังกฤษ (สมาคมด้านพฤกษศาสตร์เฉพาะทางที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) จึงทำให้ทรงได้รับการถวายกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ ทุกปี และพระองค์โปรดให้นำไปปลูก ณ พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อก

ต่อมาทรงพบกุหลาบพันธุ์หนึ่งที่ได้รับการถวายมามี “ขนาดใหญ่, สีชมพูระเรื่อ, ไม่มีหนาม และมีกลิ่นหอมตลอดเวลา” อันเป็นที่ต้องพระทัยยิ่ง จึงประทานชื่อกุหลาบพันธุ์นั้นว่า "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชสวามี และยังโปรดให้สร้างแปลงเพาะพันธุ์โดยเฉพาะและยังทรงนำไปปลูกที่ คุ้มเจดีย์กิ่วริมแม่น้ำปิง

 

เมื่อทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระตำหนักดาราภิรมย์ ก็โปรดให้นำกุหลาบพันธุ์นี้มาปลูกรอบพระตำหนัก และทรงตัดกุหลาบจุฬาลงกรณ์นี้ถวายสักการะแด่พระราชสวามีเสมอมาตราบจนสิ้นพระชนม์

ค้นข้อมูลต่อมาจึงพบว่าที่มาของชื่อกุหลาบต้นนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือ พระประวัติพระราชชายาเจ้าดารารัศมี  ที่จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ทำบุญ 100 วัน เจ้าแสงดาว ณ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2517 ว่า

ทางด้านไม้ดอกนั้น ได้ทรงปลูกไม้ดอกไม้ใบทุกชนิดโดยเฉพาะในเรื่องของกุหลาบแล้ว  พระองค์ทรงเป็นสมาชิกสมาคมกุหลาบแห่งประเทศอังกฤษ ทางสมาคมได้ส่งกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ  มาถวายเป็นประจำทุกปีพระองค์ทรงนำเอากุหลาบพันธุ์ต่างประเทศไปปลูกไว้ที่ตำหนักบนดอยสุเทพ (พระราชชายาฯ ได้ถวายเป็นสมบัติของพระธาตุดอยสุเทพแล้ว) มากมายหลายพันธุ์ด้วยกัน กุหลาบพันธุ์ที่พระองค์โปรดที่สุดนั้น ได้ทรงตั้งชื่อเพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า  จุฬาลงกรณ์ 

 

ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก โบราณนานมา

ที่มา : คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.arts.chula.ac.th/~complit/chularose.htm

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ