“VOTE NO” มีความหมายครั้งแรก ถ้าสูงกว่าคะแนนผู้สมัคร ส.ส.ให้เลือกตั้งใหม่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หากพูดถึง "Vote No" หรือ "ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน" ในการเลือกตั้งครั้งก่อน แทบจะมีความสำคัญน้อยมากต่อการนับคะแนนผลการเลือกตั้ง เพราะเป็นเพียงแสดงเจตนาว่าไม่เลือกผู้ลงสมัคร ส.ส.เขตนั้น และไม่ส่งผลกระทบต่อ ส.ส.เลย แต่การเลือกตั้งปี 2562 เพื่อให้ตอบโจทย์ "ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย" จึงได้เพิ่มบทบาท "โหวตโน" ขึ้น โดยหาก ส.ส.เขตใดที่ชนะการเลือกตั้ง แต่กลับได้คะแนนน้อยกว่า"โหวตโน" เท่ากับว่า การเลือกตั้งเขตนั้นเป็นโมฆะ ต้องเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน

นับเป็นครั้งแรก ที่ "Vote No" หรือช่อง "ไม่ประสงค์ลงคะแนน" บนบัตรลงคะแนนเสียง จะกลายเป็นการเลือกที่มีความหมาย ในการเลือกตั้งไทยปี 2562  นาย อุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ บอกว่า ระบบนี้ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 92 เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่า หากผลการเลือกตั้งในเขตใด มีคะแนน "โหวตโน" มากกว่าคะแนน ส.ส.ที่ชนะการเลือกตั้ง เท่ากับว่า ประชาชนเขตนั้นไม่ประสงค์เลือกบุคคลใดเลย ดังนั้นจึงสมควรให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกรอบ โดยที่ผู้สมัครคนเดิมของทุกพรรค ไม่สามารถกลับมาลงสมัครได้

ประเด็นแก้ปัญหา จึงให้โหวตโนชนะแทน สส.เขต โดยสมมติว่า พื้นที่ A เขต 1 มีผู้ลงสมัคร ส.ส. 3 คน หลังปิดหีบนับคะแนน ปรากฎว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 มีคะแนนรวม 5,000 คะแนน แต่ปรากฎว่าผู้มาใช้สิทธิ์ กากบาทในช่องโหวตโน 6,000 คะแนน มากกว่าคะแนนที่ผู้สมัครทุกคนได้รับ แต่ในระบบเดิม คะแนนโหวตโน จะไม่ถูกนำมาคิด ดังนั้น ผู้สมัครที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 1 จะได้รับเลือกเป็น ส.ส.

แต่หากเป็นการเลือกตั้งปี 2562 ผู้สมัครที่ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 จะไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. เขตนั้น เพราะได้คะแนนน้อยกว่า "โหวตโน" ทำให้การเลือกตั้งเขตนั้นเป็น "โมฆะ" ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ง ส.ส.กลุ่มนี้ จะไม่มีสิทธิ์ลงสมัครแข่งขันอีก และหากการเลือกตั้งครั้งต่อไปเป็นโมฆะอีกครั้ง กกต.จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เรื่อยๆ จนกว่าจะได้บุคคลที่ประชาชนยอมรับ

ประเด็น ส.ส.ไม่ได้รับเลือก ไปลงเขตอื่นไม่ได้ และจะมีการเลือกไปตลอดจนกว่าประชาชนจะได้คนพอใจ และถ้าคะแนนโหวตโน เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ จนทำให้ได้ ส.ส.ทั่วประเทศ ไม่ถึง 475 คน จะส่งผลให้ ไม่สามารถเปิดสภา เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ด้วย

ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โหวตโน เคยมีคะแนนสูงกว่าคะแนนของผู้สมัคร ในการเลือกตั้งปี 2557 หลังน.ส.ยิ่วงลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภา จากการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศบอยคอตการเลือกตั้ง ทำให้ในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ ที่เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนโหวตโน มากกว่าผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ที่ชนะการเลือกตั้ง แต่ต่อมาการเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ เพราะไม่สามารถทำได้พร้อมกันทั่วราชอาณาจักร จากที่มี 28 เขตเลือกตั้งไม่สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ขั้นตอนการรับสมัคร จึงไม่สามารถเปิดสภาได้ เพราะมีจำนวน ส.ส.ไม่พอให้เปิดสภา

ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> //www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ