นักวิชาการ เผยร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ถูกปรับลดเพดานลง 40%


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การผลักดันพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เป็นแนวคิดที่ถูกพูดถึงและผลักดันกันมา กว่า 20 ปี แม้วันนี้จะสำเร็จแล้ว หลัง สนช.มีมติเอกฉันท์ 196 ต่อ 0 เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่นักวิชาการที่เคยอขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกับภาคประชาชน ระบุว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้บิดเบี้ยวจากเจตนารมณ์เดิม และอาจไม่สามารถกระจายการถือครองที่ดินได้ตามเป้าหมาย

วันนี้ (16 พ.ย.61) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี เลาวกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในอนุกรรมมาธิการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบในการกำหนดอัตราภาษี ตามร่างกฎหมายฉบับนี้ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านวาระ 3 ในรัฐบาลชุดนี้ เพราะอัตราเพดานภาษีที่ตั้งไว้ถูกปรับลดลงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เช่นภาษีเก็บที่ดินรกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เก็บในอัตราตั้งแต่ 0.3–3 เปอร์เซ็นต์ ของราคาประเมิน ทุก 3 ปี ต้องเสียเพิ่ม 0.2–0.3 เปอร์เซ็นต์  เมื่อเปรียบเทียบกับร่างฉบับแรกที่เสนอเข้าไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณีระบุว่า มีอัตราเพดาน 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าแตกต่างกันมา  จึงเชื่อว่า อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่าน ทั้งที่เคยเสนอมาในหลายยุคสมัยและติดขัด เพราะผู้มีอำนาจผ่านกฎหมายกับผู้เสียผลประโยชน์ คือ บุคคลกลุ่มเดียวกัน

ทั้งนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงมณี ยกตัวออย่างเป้าหมายที่คาดว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์จากร่างกฎหมายฉบับนี้ อย่างเช่นเคยคาดการณ์ว่า หากจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ ตามร่างแรก จะสามารถกระจายรายได้สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10,000 ล้านบาท ต่อปี แต่เมื่อถูกปรับลดลงเหลือเพดานสูงสุดที่ร้อยละ3 ก็จะทำให้เงินภาษีส่วนนี้ เข้าสู่หน่วยงานท้องถิ่นน้อยลง

อย่างไรก็ตาม แม้ ผศ.ดวงมณี มองว่า ร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจะไม่ตรงตามเจตนารมณ์ แต่เชื่อว่ายังมีข้อดี เพราะการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ ทำให้มีเพดานการจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เชื่อว่าภาคประชาชนยังคงต้องเรียกร้องให้แกไขกฎหมายฉบับนี้ต่อไป

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ