นักวิชาการแนะสร้างโขนให้มีความหมายกับชีวิตคน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลัง “โขนไทย” ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ นักวิชาการแนะสร้างโขนให้มีความหมายกับชีวิตคน

ภายหลังประกาศรับรองให้ “การแสดงโขนใน  ประเทศไทย” ป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาของมนุษยชาติ ในงานประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาล เพื่อการสงวน  รักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้  ดร. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล อดีตอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กอธิบายว่าความหมายของ มรดกโลกและมรดกภูมิปัญญาของมนุษยชาติ หรือ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ว่ามีลักษณะที่ต่างกัน โดยมรดกโลก เป็น สิ่งก่อสร้าง หรือแหล่งธรรมชาติที่มีคุณค่า มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ ส่วนมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญา เป็นสิ่งที่ไม่เป็นกายภาพชัดเจน แต่เป็นการปฏิบัติ ความรู้ ประเพณี พิธีกรรม การแสดง

ส่วนทิศทางของ “โขนไทย” ในอนาคต ดร.ปริตตา ระบุว่า ในระยะสั้นคาดว่าคนไทยและหน่วยงานต่างๆ คงจะมีความตื่นตัว อยากจะรู้จักโขนมากขึ้น ในระยะยาว คิดว่าหากต้องการให้โขนคงอยู่ต่อไป จะต้องพยายามทำให้โขนมีความหมายสำหรับชีวิตคนกลุ่มต่างๆ เพื่อให้ทุกคนอยากจะช่วยกันรักษาให้มีชีวิตต่อไปด้วยตัวเอง

ทางด้าน  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความยินดี พร้อมย้ำว่ารัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้โขนไทย เป็นที่ยอมรับ โดยหลังจากนี้จะมีกิจกรรมสร้างความรับรู้ รวมถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมนี้ไปสู่เยาวชน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ