นักวิชาการ แนะ ใช้กฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิด "ฝุ่นละอองPM 2.5"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์จากจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับทิศทางลม ส่งผลกระทบกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ นักวิชาการ แนะ ใช้กฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิดเพื่อลดฝุ่น

วันนี้ 14 ม.ค. 2562 เพจเฟซบุ๊กศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์ข้อความระบุว่า จุดความร้อนจำนวนมากในประเทศกัมพูชา และ จุดความร้อนกระจายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้วยทิศทางของกระแสลม มีโอกาสทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังคงได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อยู่ ประชาชนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร และควรสวมหน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งเมื่อออกนอกอาคาร และกลุ่มเสี่ยงควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด ( อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : กทม.-ปริมณฑล ค่าฝุ่นละอองระดับ สีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ )

ด้าน นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า เรื่อง ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่คลุ้งปกคลุมใน กทม.ขณะนี้ ถ้าเน้นแต่ขอความร่วมมือแก้ไขอย่างเดียวเพื่อลดฝุ่นคงต้องรอถึงสงกรานต์คนกลับบ้านแล้วเท่านั้น

ในต่างประเทศหากฝุ่น 2.5 เกินค่ามาตรฐานที่ประเทศกำหนด (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) เขาจะเริ่มใช้กฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิด เพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้างค่อนข้างมาก แต่ประเทศไทยกลับบิดเบือนใช้คำว่า “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” เลยใช้แค่มาตรการประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนเท่านั้น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สั่งด่วน! นายกฯกำชับเร่งแก้ปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน

แต่ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2560 สามารถกำนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญได้ดังนี้ ตาม มาตรา 28/1 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุรำคาญเป็นบริเวณกว้างจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ โดยคำแนะนำของคณะกรรม การสาธารณสุขและประกาศในราชกิจจานุเบกษาการระงับเหตุรำคาญตามและการจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด

มาตรา 74 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 28/1 โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.กรมอนามัยเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพของประชาชนและเป็นผู้ออกกฎหมายฉบับนี้ต้องตื่นตัวมากกว่านี้ ควรจะแจ้งหรือกระตุ้นให้ กทม. มีอำนาจไปจัดการแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศทุกแหล่งที่ปล่อยฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ของ กทม.ในช่วงเวลานี้ได้หรือไม่ และกรมควบคุมมลพิษควรทำหน้าที่ประสานความร่วมมือหรือเป็นพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอจากนักกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้ใช้อำนาจตาม มาตรา 8 พ.ร.บ.การสาธารณสุข ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดํารง ชีพของประชาชนซึ่งจําเป็น ต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วนให้อธิบดีกรมอนามัยมีอำนาจออกคำสั่งให้กระทำการแก้ไขหรือป้องกันความเสียหายได้ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ