กฟน.ปลดป้ายรถรางสุดท้ายของไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.ได้ปลดป้ายรถราง ป้ายสุดท้ายของไทย เพื่อเก็บรักษาและอนุรักษ์เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ถือเป็นการปิดตำนานระบบขนส่งมวลชนระบบรางสายแรกแห่งทวีปเอเชีย

เมื่อวันที่ (5 มี.ค. 62)   โดยพิธีปลดป้ายรถราง ป้ายสุดท้ายของประเทศไทย ณ บริเวณเวิ้งนาครเขษม ถนนเยาวราช มี เรืออากาศตรีสำเริง เชี่ยวชูกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เป็นประธานในพิธี เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ของ กฟน. และต้นกำเนิดระบบขนส่งมวลชนทางรางแห่งแรกของทวีปเอเชีย ในอดีตรถรางเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญของไทยในการเดินทาง ให้บริการครั้งแรก  เมื่อปี พ.ศ.2436 ซึ่งถือเป็นรถรางไฟฟ้าแห่งแรกในทวีปเอเชีย ทำให้ไทยมีรถรางไฟฟ้า ใช้ก่อนประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหลายประเทศ มีบริษัทจากสหรัฐอเมริกาเป็นหน่วยงานที่ให้บริการ จนถึงปี พ.ศ. 2492 สัมปทานการเดินรถสิ้นสุดลง

รัฐบาลในขณะนั้นจึงได้เข้ามาดำเนินกิจการต่อในนามของ บริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2493 โดยเปิดให้บริการรถรางจำนวน 8 เส้นทางด้วยกัน

หากย้อนกลับไปดู กฟน. นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานประวัติศาสตร์การให้บริการขนส่งมวลชนระบบรางสายแรกของไทย โดยเกิดจากการควบรวมระหว่าง การไฟฟ้ากรุงเทพ กับ กองไฟฟ้าหลวงสามเสน ในช่วงปี พ.ศ. 2501 หลังจากเวลาผ่านไป ก็มีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

รวมถึงแนวโน้มธุรกิจที่เปลี่ยนไป จากการเพิ่มจำนวนของรถยนต์ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลมีมติให้เลิกเดินรถรางและมีการทยอยยกเลิกทั้งหมดในปี พ.ศ.2511

ทั้งนี้ กฟน. จะนำป้ายรถราง ป้ายสุดท้ายนี้ ไปจัดแสดงไว้ที่ศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ การไฟฟ้านครหลวง เพื่อเป็นการอนุรักษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้แก่คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ