บันทึกภาพเรือ “สุพรรณหงส์”ลงบนแผ่นแก้ว
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ครั้งนี้ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เป็นหนึ่งในเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศซึ่งเคลื่อนออกจากอู่หมายเลข 1 กรมอู่ทหารเรือธนบุรีเข้าเทียบท่าราชวรดิฐ กองทัพเรือจึงจัดให้มีการถ่ายภาพเรือพระที่นั่งพร้อมกำลังพล ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพที่มีมานานกว่า 169 ปี
ภาพฝีพายในท่าเตรียม บนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ก่อนเคลื่อนออกจากกรมอู่ทหารเรือ เพื่อเทียบท่าราชวรดิฐ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 ถูกบันทึกลงบนแผ่นแก้ว ที่เรียกว่า Wet plate คือ กระบวนการผลิตภาพถ่ายบนแผ่นแก้ว ที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 1851 หรือเมื่อ 169 ปีที่แล้ว โดยช่างภาพชาวอังกฤษ ซึ่งจะใช้กระจกอาบสารเคมีแล้วบันทึกภาพทันทีจึงเรียกง่ายๆ ว่า เพลทเปียก ก่อนการบันทึกภาพ ต้องผสมสารเคมีก่อน แล้วนำกระจกไปอาบกับน้ำยา และต้องรีบบันทึกภาพก่อนที่กระจกจะแห้ง กระจกที่อาบน้ำยาแล้วไม่สามารถโดนแสงได้ จึงต้องรีบนำไปล้างทันที เพื่อให้เกิดภาพ ภาพที่ได้จะเป็น Negative ดังนั้นกระจกจะกลายเป็นภาพ Positive ก็ต่อเมื่อนำกระดาษดำไปซ้อนไว้ข้างหลัง การถ่ายภาพจะมีความยุ่งยากเมื่อออกไปถ่ายนอกสถานที่ ช่างภาพต้องเตรียมอุปกรณ์และสร้างห้องมืดหรือ กระโจมเพื่อทำเพลทและล้างเพลททันที แม้กระบวนการจะมีความยุ่งยาก แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและยังมีให้เห็นมาถึงปัจจุบัน
กองทัพเรือ ซ้อมใหญ่ พายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
สำนักพระราชวัง ติดตั้งฉัตร เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
ชัยอนันต์ บุญสูงเนิน สมาชิกชมรมช่างภาพสารพัดช่างพระนคร กล่าวอย่างภาคภูมิใจ ว่าการบันทึกภาพในวันนี้ผลงานที่ได้ ดีเกินกว่าที่คาดหวังไว้ และภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการบันทึกภาพประวัติศาสตร์ชาติ
ร.ร.สตรีวัดระฆัง จัดทำพวงมาลัย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
คุณวสันต์ มงคลลาภกิจ ช่างภาพที่บันทึกภาพถ่ายริ้วขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคมาแล้วถึง 4 ครั้ง ย้ำว่าแม้ปัจจุบันเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพจะก้าวล้ำสู่ยุคดิจิตอลแล้ว แต่นี่คือสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า การถ่ายภาพด้วยวิธีอนาล็อกยังมีประโยชน์ในแง่การศึกษา และภาพถ่ายที่ได้ก็ถือเป็นภาพถ่ายอันทรงคุณค่าด้วย
ติดตามข่าวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/พระราชพิธีบรมราชาภิเษก