ไทยค้นพบฟอสซิล “ปลาปอด” ชนิดใหม่ของโลก อายุ 150 ล้านปี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดเผยการค้นพบซากฟอสซิล "ปลาปอด" อายุ 150 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งปลาชนิดนี้ยังมีชีวิตสืบทอดกันถึงปัจจุบันในสามทวีปคือทวีปออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ แต่ไม่พบอาศัยในประเทศไทย

ปลาพญานาค (ออร์ฟิช) เยือนญี่ปุ่น ฤาภัยพิบัติจะบังเกิด!?

มีข่าวดีสำหรับประเทศไทยในการค้นพบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยการค้นพบซากฟอสซิล "ปลาปอด" อายุ150 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งปลาชนิดนี้ยังมีชีวิตสืบทอดกันถึงปัจจุบันในสามทวีปคือทวีปออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ แต่ไม่พบอาศัยในประเทศไทย

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” ที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งจัดเป็นปลาโบราณที่มีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันแต่ถิ่นอาศัยพบแค่ในทวีปออสเตรเลีย แอฟริกาและอเมริกาใต้

นักวิจัยทำการขุดพบรูปสัณฐานของส่วนกะโหลกและแผ่นฟันปลาปอด จนสามารถยืนยันได้ว่าเป็นชิ้นส่วนของปลาปอด ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย แต่จากการเทียบรูปสัณฐานมีลักษณะคล้ายกับปลาปอดในทวีปออสเตรเลีย โดยชิ้นส่วนฟอสซิลที่พบ มีอายุราว 150 ล้านปีก่อนประวัติศาสตร์ ยุคจูราสสิค ซึ่งพื้นที่ภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญและพบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากในระดับเอเชีย พบซากดึกดำบรรพ์มากกว่า 5,000 ชิ้น ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 เป็นซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ และยังพบซากดึกดำบรรพ์ร่วมสมัยอื่น ๆ ได้แก่ ฉลามน้ำจืด ปลากระดูกแข็ง ปลาปอด เต่า จระเข้ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เทอโรซอร์ จึงถือได้ว่าพื้นที่ที่ทรงคุณค่าทางวิชาการ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีต้นทุนทางธรรมชาติที่สมควรอนุรักษ์ไว้ ที่สำคัญมากของประเทศไทย

นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า ซากดึกดำบรรพ์ มีความสำคัญในการศึกษาธรณีวิทยาด้านการลำดับชั้นหินและธรณีประวัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเหตุการณ์แต่ละขั้นตอนที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลานำไปสู่การค้นหาตำแหน่งทรัพยากรธรณีที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ส่วนผลการวิจัยสำคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการและถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก และเป็นหลักฐานแสดงถึงความหลากหลายชีวภาพของแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย อยู่ในพื้นที่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในหมวดหินภูกระดึง กลุ่มหินโคราช ยุคจูแรสซิกตอนปลาย มีอายุ 150 ล้านปี พบ New Species ของสัตว์มีกระดูกสันหลังร่วมสมัย 6 สายพันธุ์ใหม่ของโลก คือ ฉลามน้ำจืด ปลากระดูกแข็ง ปลาปอด เต่า และจระเข้ ถือเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก และเป็นแหล่งที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในประเทศไทยกว่า 5,000 ชิ้น

พบฟอสซิล "ไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ใหม่" ของโลกในไทย

 

 

 

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ